ข่าว

ก้าวไกลหายใจรดต้นคอเพื่อไทย นิด้าโพล อยากได้ พิธาเป็นนายกฯ

ก้าวไกลหายใจรดต้นคอเพื่อไทย นิด้าโพล อยากได้ พิธาเป็นนายกฯ

03 พ.ค. 2566

นิด้าโพล สำรวจเลือกตั้ง ครั้งที่สาม พบว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แซงแพทองธาร ชินวัตร ขึ้นอันดับหนึ่งที่คนอยากได้เป็นนายกฯ

นิด้าโพลสำรวจเลือกตั้งครั้งที่สาม พบว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รับความนิยม เหนือ แพทองธาร ชินวัตร ราว 7 %  แม้ผลสำรวจความนิยม สส.แบบบัญชีรายชื่อ และสส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยจะมีคะแนนนำ แต่พรรคก้าวไกลก็ไล่ตามชนิดหายใจรดต้นคอ

ผลสำรวจนิด้าโพลศึกเลือกตั้ง2566 ครั้งที่ 3 พบว่าบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ 5 ลำดับแรก ประกอบไปด้วย

 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 35.44   ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
  • อันดับ 2 ร้อยละ 29.20 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร   
  • อันดับ 3 ร้อยละ 14.84 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
  • อันดับ 4 ร้อยละ 6.76 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน
  • และอันดับ 5 ร้อยละ 3.00 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

เปรียบเทียบกับผลการสำรวจศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2566 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า น.ส.แพทองธาร  ชินวัตร , คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส, นายอนุทิน ชาญวีรกูล , นายกรณ์ จาติกวณิช

และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ,พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และนายเศรษฐา ทวีสิน  มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

 

สำหรับพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเลือกตั้ง ใน5 อันดับแรกพบว่า

 

  • อันดับ 1 ร้อยละ 38.32 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
  • อันดับ 2 ร้อยละ 33.96 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
  • อันดับ 3 ร้อยละ 12.08 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
  • อันดับ 4 ร้อยละ 4.28 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
  • อันดับ 5 ร้อยละ 2.92 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย

 

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2566 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคเสรีรวมไทย พรรคชาติพัฒนากล้า และยังไม่ตัดสินใจ มีสัดส่วนลดลง  ในขณะผู้ที่ระบุว่า พรรคก้าวไกล และพรรครวมไทยสร้างชาติ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น  

 

ส่วนพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 5 อันดับแรกพบว่า

  • อันดับ 1 ร้อยละ 37.92 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย   
  • อันดับ 2 ร้อยละ 35.36 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
  • อันดับ 3 ร้อยละ 12.84 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
  • อันดับ 4 ร้อยละ 3.32 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
  • อันดับ 5 ร้อยละ 2.36 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย

 

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2566 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคชาติพัฒนากล้า และยังไม่ตัดสินใจ มีสัดส่วนลดลง    ในขณะผู้ที่ระบุว่า พรรคก้าวไกล และพรรครวมไทยสร้างชาติ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

 

ผลสำรวจเลือกตั้งที่  3  นิด้าโพล
 

การสำรวจของนิด้าโพลครั้งนี้ อาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก  ของ นิด้าโพลสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0