ข่าว

กา 'บัตรเลือกตั้ง' 2566 ต้องทำเครื่องหมายยังไงถึงจะไม่กลายเป็นบัตรเสีย

กา 'บัตรเลือกตั้ง' 2566 ต้องทำเครื่องหมายยังไงถึงจะไม่กลายเป็นบัตรเสีย

13 พ.ค. 2566

เลือกตั้ง 66 กา 'บัตรเลือกตั้ง' 2566 ต้องทำเครื่องหมายยังไงบ้างถึงจะไม่กลายเป็นบัตรเสีย เช็กก่อนเข้าคูหา 14 พ.ค. 66

14 พ.ค. 2566 วันเลือกตั้งจริงที่ประชาชนคนไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์จะต้องเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อเลือกรัฐบาลชุดใหม่

 

 

สำหรับการเลือกตั้งรอบนี้ประชาชนจะได้บัตรเลือกตั้ง จำนวน 2 ใบ คือ "บัตรเลือกตั้ง"  สีม่วงสำหรับเลือก สส. แบบแบ่งเขต และ "บัตรเลือกตั้ง"  สีเขียวสำหรับเลือก สส. แบบบัญชีรายชื่อ หรือเลือกพรรคนั้นเอง

"บัตรเลือกตั้ง"  สีม่วง เป็นบัตรเลือกตั้ง สส.แบบแบ่งเขต ในบัตรจะระบุหมายเลขผู้สมัคร และช่องสำหรับกากบาทเท่านั้น

 

ตัวอย่างบัตรเลือกตั้ง

 

 

"บัตรเลือกตั้ง" สีเขียว เป็นบัตรเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ มีสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง

 

ตัวอย่างบัตรเลือกตั้ง

นอกเหลือไปจากสีบัตรที่จะต้องจดทำให้ดีแล้วการทำเครื่องบน "บัตรเลือกตั้ง" 2566 ก็สำคัญเช่นกัน เพราะหากทำเครื่องหมายผิดจะกลายเป็น บัตรเสียได้ทันที สำหรับเครื่องหมายที่ทำแล้วจะส่งผลให้ บัตรเลือกตั้ง หลายเป็น บัตรดี บัตรเสีย จะมีลักษณะดังนี้

 

 

บัตรดี

ผู้เลือกตั้งจะต้องทำเครื่องหมายในการลงคะแนน ต้องเป็นเครื่องหมาย "กากบาท" หรือเครื่องหมายที่มีจุดตัดตรงกลาง และต้องอยู่ในช่องทำเครื่องหมาย และต้องมีเครื่องหมายเดียวเท่านั้น 

 

 

บัตรเสีย

  • บัตรที่ไม่ได้ทำเครื่องหมายลงคะแนน
  • บัตรที่ลงคะแนนเกิน 1 เครื่องหมาย
  • บัตรที่ทำเครื่องหมายอื่นนอกจาก กากบาท เช่น เครื่องหมายขัดถูก รูปหัวใจ จุด วงกลม สามเหลียม เครื่องหมายดอกจันทร์ รูปดาว
  • บัตรที่ลงคะแนนในช่องที่ไม่มีผู้สมัคร หรือบัตรที่กากบาทในช่องที่ไม่มีผู้สมัคร หรือผู้สมัครที่ถูกถอนชื่อออกจากประกาศรายชื่อผู้สมัคร
  • ทำเครื่องหมายนอกช่อง และบัตรที่มีการเขียนตัวอักษรลงไป
  • ไม่ใช่บัตรที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบให้

 

ตัวอย่างบัตรดี บัตรเสีย