มาตรฐานก้าวไกล ฉุดรั้งเส้นทางสู่ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 30
เส้นทางสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของแคนดิเดต จากพรรคก้าวไกล มีอุปสรรคมาจากมาตรฐาน การเมืองใหม่ ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง
ประเด็นถกเถียงเรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมรัฐสภา มีที่มาจากรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ในบทเฉพาะกาลที่มีสาระสำคัญว่า ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องดำเนินการในที่ประชุมร่วมรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วยสมสาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
บทเฉพาะกาลมาตราเดียวกันนี้ กำหนดให้ มติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เสียงที่ต้องใช้ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี นี้เอง ที่ทำให้เกิดการถกถียงกันในเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
การที่คณะกรรมการการการเลือกตั้ง ยังไม่ได้รับรองผลการเลือกตั้ง นั่นหมายถึงว่า ยังมีเวลาอีกเกือบ 60 วันตามกฎหมาย ส่วนการเปิดประชุมรัฐสภา กำหนดให้ต้องดำเนินการภายใน 15 วัน หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง รับรองผลการเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 95 % แล้ว เท่ากับว่าในระหว่างนี้ พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ยังมีเวลา หาคะแนนเสียงสนับสนุนให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด ซึ่งจากการรวบรวมเสียงของพรรคอดีตฝ่ายค้าน ยังขาดเสียงสับสนุนอีกราว 50 เสียง เท่านั้น
เสียงสนับสนุนที่ว่า พรรคก้าวไกลจะหาได้จากไหน
1.คือหาได้จากพรรคการเมืองที่เหลือในสภา ไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชารัฐ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย แต่ก็ต้องแลกมากับการกลืนน้ำลาย เพราะการสร้างมาตรฐานไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง
2. คือหาได้จากสมาชิกวุฒิสภา ที่เคยรณรงค์ไว้ว่า ไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเลือกนายกรัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภาบางส่วน จึงมีท่าที งดออกเสียง
นี่เป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าสู่ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของแคนดิเดต จากพรรคก้าวไกล คือดอกผลของการเมืองแบบใหม่ ที่พรรคก้าวไกลเชื่อมั่นมาตั้งแต่ต้น