ข่าว

'อดีตเลขาฯสมช.' เผย ชายแดนใต้ถูกกดมา 8 ปี 'กระจายอำนาจ' ทางออกแทน 'แยกดินแดน'

'อดีตเลขาฯสมช.' เผย ชายแดนใต้ถูกกดมา 8 ปี 'กระจายอำนาจ' ทางออกแทน 'แยกดินแดน'

13 มิ.ย. 2566

'อดีตเลขาฯสมช.' เผย ชายแดนใต้ถูกกดมา 8 ปี ถึงเวลาสร้างสันติสุขร่วมกับคนในพื้นที่ เชื่อ 'รัฐบาลใหม่' แก้ปัญหาได้และเร็ว ชี้ น.ศ. เสนอทำประชามติ คือ เสรีภาพเชิงวิชาการ ไม่ใช่ยุยงปลุกปั่น

ความคิดเห็นของ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขานุการคณะกรรมการกิจการพิเศษพรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกรรมการแก้ปัญหาชายแดนใต้ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กรณีกลุ่ม PELAJAR BANGSA ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ เสนอประชามติแยกดินแดน โดยมองว่า การที่ออกมาเวลานี้ เพราะถูกรัฐบาลยึดอำนาจและกดมาตั้ง 8-9 ปี ประกอบกับเหตุการณ์ความรุนแรงตั้งแต่ปี 2547 กำลังจะครบ 20 ปี เป็นสภาพที่กดสังคมในพื้นที่และสันติภาพยังไปไม่ถึงไหน 

 

สร้างสันติภาพไปสู่สันติสุขต้องเกิดจากการพูดคุย แต่ที่ผ่านมาเป็นรัฐบาลสืบทอดอำนาจ เป็นปรปักษ์กับกลุ่มที่จะพูดคุย แต่ไม่เกิดประสิทธิภาพลักษณะเหมือน "ซอยเท้าอยู่กับที่" ให้เกิดการเคลื่อนไหวแต่ไม่น่าเดิน ส่วนอีกฝ่ายซื้อเวลาเพื่อรอ "รัฐบาลประชาธิปไตย" เมื่อเวลามาถึงพร้อมเดินหน้า มีส่วนร่วมแสดงทัศนคติ 

ส่วนที่แม่ทัพภาค 4 ออกบอว่า การทำประชามติผิดกฎหมาย คนพูดก็เป็นคนที่อยู่ในเงื่อนไข เอียงซ้ายเอียงขวา เพราะ 8 ปีที่ผ่านมา "รัฐบาลเผด็จการ" ใช้ทหารเป็นหัวหอกในการแก้ปัญหา ประกาศกฎอัยการศึก กดทับสิทธิเสรีภาพเขาเอาไว้ ซึ่งไม่ได้ตอบโจทย์การแก้ปัญหาเลย ดังนั้นต้องใช้กระบวนการสันติวิธีที่คนกลุ่มนี้เข้าใจว่า ปลายทางไปไม่ถึง แต่จะพบกันครึ่งทางได้อย่างไร เช่น การกระจายอำนาจ จังหวัดจัดการกันเอง หากไปถามประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เค้าต้องการกระจายอำนาจที่มีความสมเหตุสมผลพอควร ซึ่งถ้าอธิบายด้วยเหตุด้วยผล เชื่อว่าไม่บานปลาย 

 

พล.ท.ภราดร มั่นใจ "รัฐบาลใหม่" จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างแน่นอนและไปได้เร็ว หากไม่เกิดการยึดอำนาจ ป่านนี้เหตุการณ์ชายแดนภาคใต้คลี่คลายแล้ว พร้อมยืนยันพรรคร่วมรัฐบาลไม่เห็นด้วยแน่กับการแบ่งแยกดินแดนแต่เห็นด้วยกับการกระจายอำนาจที่เหมาะสม

พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร

ทั้งนี้กิจกรรมของกลุ่มนักศึกษาเป็นลักษณะทางวิชาการที่พูดคือหัวข้อ "การกำหนดอนาคตตนเอง (Self Determination) กับสันติภาพปาตานี" ไม่ได้เป็นการยุยงปลุกปั่น หากดูในบริบทหัวข้อของนักศึกษากลุ่มนี้ไปทางวิชาการ บุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นนักศึกษา จัดในเป็นสถานศึกษา ไม่ใช่เวทีHyde Park

 

ถ้าดูจากประเด็นข้อเท็จจริงตอนนี้ยังไม่ชัดเจน ฝ่ายความมั่นคงจะต้องไปแสวงหาว่า การข่าวจะมีการทำประชามติแบ่งแยกดินแดนหรือไม่ อาจเป็นแค่ถกแถลงเท่านั้น และต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องสิทธิประชาชนพลเมือง สามารถพูดคุยได้ แต่ในกฎหมายไทยก็มีรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 ประเทศไทยรัฐเดียวแบ่งแยกไม่ได้ มาตรา 2 ปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไว้เช่นกัน 

 

แต่การแสดงออกของนักศึกษากลุ่มนี้ก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญไทย หมวดสิทธิเสรีภาพ มาตรา 34 ว่า ประชาชนมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงข้อคิดเห็น รวมถึงเสรีภาพทางเชิงวิชาการที่จะนำเสนอพูดกันได้ ซึ่งสอดรับกัน แต่แน่นอนว่ามีข้อยกเว้น "การสื่อสารหรือการแสดงสิทธิเสรีภาพ ห้ามส่งผลกระทบที่เป็นปัญหาในความมั่นคง ดังนั้นรัฐบาลก็มีสิทธิที่จะเข้ามาใช้กฎหมายดูแลได้" ทำให้เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา เพราะข้อยกเว้นนี้ไว้ซึ่งการระงับยับยั้งตอนที่จะเกิดเหตุบานปลายเกี่ยวกับความมั่นคง จึงเป็นเส้นบางๆที่เจ้าหน้าที่จะต้องใช้ดุลยพินิจว่าขัดหรือไม่ 

 

พล.ท.ภราดร ระบุว่า หากมีการพูดคุยกันลึกจนถึงหัวข้อแบ่งแยกดินแดงต้องกลับมาดูว่าความเป็นไปได้และกระทบความมั่นคงหรือไม่ รวมถึงต้องมาดูด้วยว่า มีกระบวนการเบื้องหลัง มีกองกำลังสนับสนุนหรือไม่ ถ้าแบบนี้ถึงจะเข้าเกณฑ์ผิดกฎหมาย แต่หากไม่มี คือ เรื่องสิทธิเสรีภาพ และการกล่าวหาจะต้องมีหลักฐานชัดเจน ปราศจากข้อสงสัยก่อน โดยการสอบสวนชั้นต้นจะใช้เหมือนกฎหมายอาญาปกติไม่ได้ ต้องมีทหาร ตำรวจ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม บริบทและพื้นที่ที่พูดในประเด็นนี้แตกต่างจากพื้นที่ปกติ เพราะเป็นพี่น้องชาวมุสลิมพูด พื้นที่มีประวัติศาสตร์ ศาสนา ชาติพันธุ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี