ข่าว

นักวิชาการ แนะสร้างพื้นที่พูดคุย ทางออกสำคัญปัญหาจังหวัดชายแดนใต้

นักวิชาการ แนะสร้างพื้นที่พูดคุย ทางออกสำคัญปัญหาจังหวัดชายแดนใต้

15 มิ.ย. 2566

สัมภาษณ์พิเศษ คมชัดลึกexclusive อ.วันวิชิต บุญโปร่ง นักวิชาการด้านความมั่นคง แนะควรสร้างพื้นที่พูดคุยเจรจาเพิ่มขึ้น ทางออกสำคัญปัญหาจังหวัดชายแดนใต้

นับตั้งแต่ การประกาสเปิดตัวของ ขบวนการนักศึกษาแห่งชาติ   (pelajar Bangsa) เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมศรีวังสา คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี โดยภายในงานได้มีการกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "การกำหนดอนาคตตนเอง (Self Determination) กับสันติภาพปาตานี" รวมทั้งได้มีการจัดพิมพ์บัตรเพื่อร่วมแสดงความเห็นผ่านสื่อโซเชียล ในประเด็น "ให้ประชาชนปาตานีสามารถออกเสียงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชได้อย่างถูกกฎหมาย" ซึ่งได้สร้างความวิตกกังวล และตื่นตระหนักของประชาชนในสังคมอย่างกว้างขวาง

 ขบวนการนักศึกษาแห่งชาติ เป็นองค์กรเคลื่อนไหวทางการเมืองจัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวของนิสิตนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้เคลื่อนไหวเรียกร้องในเรื่องสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (right to self determination) ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อองค์กรเป็นขบวนการนักศึกษาแห่งชาติเมื่อ 31 พ.ค. โดยมี นายอิรฟาน อุมา เป็นประธานขบวนการนักศึกษาแห่งชาติคนปัจจุบัน  

ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษ กับทีมข่าว คมชัดลึกexclusive แสดงความเห็นต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น ในมุมมองนักวิชาการ มีความน่าสนใจในหลายประเด็น 


ในความเห็นส่วนตัวของ อ.วันวิชิต มองว่าฝ่ายความมั่นคงควรที่จะเร่งจัดทำเวทีเสวนาซึ่งไม่ใช่เป็นการทำควบคู่หรือทำแข่งแต่เป็นการสร้างพื้นที่เปิดเพื่อรับฟังมุมมองไม่ควรทำให้สถานศึกษาหรือกลุ่มนักศึกษาขบวนการต่างๆมีความรู้สึกว่าถูกจับตามอง แต่ควรที่จะเปิดเวทีเสวนาเพื่อเป็นการรับฟังพูดคุยอย่างสร้างสรรค์

"ในขณะเดียวกัน การทำความเข้าใจฝ่ายที่เคลื่อนไหว สถานศึกษา ก็ไม่ควรมองกองทัพที่มาทำหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเป็นในแง่อุปสรรคของการพูดคุยประเด็นแรกที่จะต้องเร่งในการหารือฉะนั้น กองทัพภาคที่ 4 กอ.รมน.ภาคที่ 4 ส่วนหน้า นอกเหนือจากสถานะที่จะต้องเฝ้าจับตามอง ก็ต้องเพิ่มบทบาทในการสร้างเวทีหรือพื้นที่สร้างสรรค์ ความขัดแย้งต่างๆต้องมีการพัฒนาสู่การเปิดพื้นที่พูดคุยของกลุ่มผู้ขัดแย้งทั้งหมด แล้วถ้ากลุ่มขัดแย้งไม่ออกมาทั้งหมด ยังมีกลุ่มที่อยู่เบื้องหลัง หรือผู้บงการ จะทำให้การเจรจาต่างๆเกิดการตั้งแง่" อ.วันวิชิต กล่าว


นักวิชาการด้านความมั่นคงท่านนี้ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ต้องรับฟังข้อเสนอของฝ่ายความมั่นคงและกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ทั้งกลุ่มผู้เห็นต่างแลกเปลี่ยนข้อเสนอกัน แล้วรับข้อเสนอของทุกฝ่ายได้หรือไม่ ขณะเดียวกันการบูรณาการด้านความมั่นคง ในอนาคต กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ก็จะมีการถอนกำลัง หรือรวมถึงในเรื่องการปรับลดงบประมาณลงในปี2570 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่า สุดท้ายความขัดแย้งจะไม่มี 

"ดังนั้นจะเห็นแนวทางแล้วว่าบทบาทของฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายพลเรือนอย่างเช่น ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)หรือบทบาทเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ดี ต้องมาทำหน้าที่ทดแทนในอนาคต รวมทั้งทำหน้าที่ในลักษณะบังคับประคองไปด้วย "
 


ประเด็นในเรื่องการนำประวัติศาสตร์ในอดีตที่เคยมีความบาดหมางกันระหว่างไทยและชนชาติมลายูในอดีตมาเป็นประเด็นในการเคลื่อนไหว อ.วันวิชิต มองว่า ผู้เคลื่อนไหวมักจะใช้โอกาสในการนำประวัติศาสตร์ตัดตอนหรือประเด็นที่เป็นฝ่ายถูกกระทำนำมาใช้ แต่อย่างไรก็ดีต้องไม่ลืมว่าสำนึกความรักชาติพึ่งถูกมาตัดแบ่งในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ดังนั้นสำนึกรักชาติต่างๆมันไม่มีในช่วงเวลานั้น เรื่องของกลุ่มเจ้าเมืองที่สูญเสียอำนาจและการจัดเก็บภาษีรายได้ที่เคยตักตวงมาก่อน

"ดังนั้น อย่าลืมว่าพอเป็นรัฐชาติ การยกเลิกระบบหัวเมืองต่างๆ รวมถึงประเทศราช เจ้าเมืองต่างๆมันหายไป การชักเก็บภาษีต้องเปลี่ยนมาเป็นการรับเบี้ยหวัดหรือเงินเดือนประจำปีจากรัฐส่วนกลาง แย้งมันเริ่มต้นขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งของชนชั้นนำ ไม่ใช่ความขัดแย้งของในส่วนประชาชนหรือราษฎร การเมืองที่เกี่ยวกับความขัดแย้งของราษฎรในเวลานั้นมันไม่มี แต่เป็นเนื้อเรื่องของความขัดแย้งของชนชั้นนำกับรัฐสยามในส่วนกลางมากกว่า ประวัติศาสตร์ที่ไม่ครบถ้วนต่างหากจึงกลายมาเป็นปัญหาความขัดแย้ง"

ถามถึงแผนการทำงานของว่าที่พรรคร่วมรัฐบาลที่ได้เริ่มต้นการทำงานในส่วนของสันติภาพของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ในสายตานักวิชาการ เมินผลดี ผลเสีย ของแผนงานดังกล่าวอย่างไรบ้าง อ.วันวิชิต กล่าวว่า ในส่วนข้อดี ก็จะสามารถทำให้ประชาชนในพื้นที่ สามารถที่จะดูแลตนเอง ลดความกังวล ความหวาดระแวง แต่ในขณะเดียวกันการจะดูแลการปกครองตนเอง ในเรื่องของความมั่นคงจะสามารถดูแลได้ครบถ้วนหรือไม่ หมายความว่า เมื่อทหารคลายตัว ปล่อยมือให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง หรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เช่น ปอพ. ฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ตาม หรือแม้กระทั่งศอ.บต.ก็ตาม สามารถมีประสิทธิภาพในการดูแลรวมกระทั่งประชาชนในพื้นที่ เป็นแนวร่วมในการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพัฒนาร่วมกันได้หรือไม่ 

"ทหารไม่ได้รังเกียจที่จะถอนตัวอย่างเต็มกำลัง หลังปี2570 แต่มันเป็นเรื่องของความเป็นห่วงมากกว่า "

ขณะเดียวกันในแผนงานของ 8 ว่าที่พรรคร่วมรัฐบาล ในชุดคณะทำงานสันติภาพปาตานีได้มีการพูดถึงว่าจะดำเนินการเจรจากับกลุ่มที่เคลื่อนไหวอย่างเช่น ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี หรือ บีอาร์เอ็น จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าในความเป็นจริงแล้วขบวนการ บีอาร์เอ็น  มีความสำคัญหรือยังเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเคลื่อนไหวก่อเหตุในพื้นที่จริงหรือไม่

อ.วันวิชิต กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราถูกตั้งคำถามว่ากลุ่ม บีอาร์เอ็น คือกลุ่มที่เคลื่อนไหวก่อความไม่สงบเพียงกลุ่มเดียวหรือไม่ กลุ่ม บีอาร์เอ็น คือกลุ่มที่เคลื่อนไหวตัวจริง เพียงกลุ่มเดียวหรือยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่ผ่านมาฝ่ายความมั่นคงเคยสอบถามคนในพื้นที่แล้วว่ามีศักยภาพต่อการเปลี่ยนแปลงหรือศักยภาพที่ท้าทาย การที่จะเข้าไปสู่กระบวนการตรวจสอบหรือความเป็นธรรม บางอย่างเราไม่สามารถที่จะยกเว้นได้ กลุ่มผู้ก่อเหตุทำร้ายเจ้าหน้าที่ต่างๆ แม้จะเอามาพูดคุยแต่ทั้งหลายทั้งปวง ส่วนตัวคิดว่าจะใช่ผู้กระทำความผิดตัวจริงหรือไม่ 

"ถ้าเป็นตัวจริงแล้วมีศักยภาพมีทรัพยากรบุคคลที่มาพูดคุยและเจรจากับภาครัฐได้มากน้อยแค่ไหนหรือเป็นแค่กลุ่มแฝงที่ยืมใช้ชื่อ บีอาร์เอ็น มาเคลื่อนไหวหรือเปล่า"

เมื่อถามต่อไปว่าแล้วในความเป็นจริงกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆที่มีชื่อยังมีศักยภาพพอในการที่จะกระทำการต่างๆได้หรือไม่ อ.วันวิชิต ตอบว่า ในเรื่องของกิจกรรมความรุนแรงน่าจะลดลง แต่ในบทบาทการระดมความคิดเห็น หรือเป็นการปลูกฝังในกลุ่มของเยาวชนในจังหวัดชายแดนใต้ ในเรื่องนี้เห็นการเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมในลักษณะแบบนี้มากกว่า

"การใช้การกระทำด้วยความรุนแรง ดังนั้นการต่อสู้ด้วยมวลชนจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อความมั่นคงของหน่วยทหารแล้วก็ส่วนกลาง มีการจับตามองมาหลายปีแล้วว่าบทบาทในช่วง 3-4 ปีหลังมานี้การระดมมวลชน การปราศรัยหรือการประกาศจุดยืนของกลุ่มเยาวชนในการระดมมวลชนในทุกช่วงเพศวัยมีมากขึ้น ส่วนตัวคิดว่าการใช้ความรุนแรงไม่สามารถสร้างความชอบธรรมให้กลุ่มผู้ก่อเหตุได้ ดังนั้นความชอบธรรมเดียวก็คือการระดมมวลชนและใช้การปลูกฝังข้อมูลรวมทั้งความเชื่อของเขาเรื่องนี้ต่างหากที่ฝ่ายความมั่นคงจะต้องไปพูดคุยและจับตามอง"