นักวิชาการ มองฉากทัศน์การเมืองร้อน จับตา ขั้วอำนาจเดิม เงียบผิดปกติ
นักวิชาการรัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมธิราช มองโอกาสฟรีโหวตมีสูง ปมชิงประธานสภาฯ ชี้จับตาฝ่ายขั้วอำนาจเดิม เงียบผิดสังเกต หวั่นเสนอชื่อใน 8 พรรคร่วม ส่งผลจัดตั้งรัฐบาล
ความเข้มข้นของการเมือง ณ ช่วงเวลานี้ คือต้องจับตามองกันวินาทีต่อวินาที ในการขับเคี่ยว เจรจาต่อรอง ในเรื่องของการชิงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรระหว่าง 2 พรรคใหญ่แกนนำฝ่ายประชาธิปไตยนั่นคือพรรคก้าวไกลและพรรคพื่อไทย ซึ่งจนใกล้เข้าสู่ช่วงที่เรียกว่าโค้งสุดท้าย พรรคเพื่อไทย ก็ยังต้องมีการประชุมภายใน เพื่อให้ได้ผลมติอย่างเป็นทางการในนามพรรค
นัยว่าต้องขับเคี่ยวกันจนนาทีสุดท้าย?
รศ.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้มองฉากทัศน์การเมืองอันร้อนแรงนี้ว่า ตอนนี้โอกาสที่จะเห็นการ ฟรีโหวต การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรมีความเป็นไปได้สูง เพราะถ้าเงื่อนไขยังไม่ลงตัวก็จะต้องฟรีโหวต และโอกาสที่จะลงตัวนั้นเรียกได้ว่าไม่ง่าย ถ้ามองตามสูตรที่พรรคเพื่อไทยเสนอ 14 + 1มันเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนได้ว่าพรรคก้าวไกลเสียเปรียบเต็มๆ
เพราะ 14 + 1 แรกนั้นมันคือ 14 +1 ประธานสภาของพรรคเพื่อไทยนะครับซึ่งก็อาจจะเท่ากับ 15 นะครับแต่ว่า 14 + 1 ที่ 2 เนี่ยมันอาจจะเท่ากับ 14 ก็ได้เพราะ 14 + 1 ที่ 2 คือตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทางพรรคก้าวไกล โหวตคืนให้กับก้าวไกลได้เป็นนายกฯ แต่มันไม่ได้จบเพียงแค่นั้นเพราะว่าเสียงสุดท้ายอาจจะไม่ถึง 376 สำหรับนายกรัฐมนตรี แต่ว่ายังไม่ได้เสียงที่จะเติมจากที่สภาในสว. แต่แม้กระทั่งสส.ด้วยกันเองก็ตาม
ดังนั้นเนี่ยด้วยเงื่อนไขแบบนี้เนี่ยทางพรรคก้าวไกลก็คงจะไม่รับแน่นอน คราวนี้คงจะเป็นเรื่องที่เดินต่อยาก แม้จะมีภาพที่เคลียร์กันในระดับพรรคแล้ว ที่อาจจะดูลงตัวเพราะว่ามี MOU แล้วก็มีคณะเปลี่ยนผ่านคณะเจรจาอะไรก็ตามตรงนี้
แต่ว่าระดับมุมทางการเมืองเนี่ยมันเป็นเรื่องเล็กๆที่เขาจะมีจุดยืนแล้วก็ผลประโยชน์นะครับโดยที่อาจจะแตกต่างกัน เราโฟกัสหรือจับจ้องไปสู่การมีการเมืองระหว่างของก้าวไกลกับเพื่อไทย แต่สิ่งที่เราจะมองข้ามไม่ได้เลยนั่นก็คือเรื่องของกลุ่มขั้วอำนาจเก่าที่สามารถจับสังเกตได้ว่าเงียบผิดปกติซึ่งสวนทางกับสถานการณ์การเมืองที่ถือว่าไม่ปกติแต่กลุ่มขั้วอำนาจเดิมนั้นกลับนิ่งผิดปกติซึ่งทำให้วิเคราะห์ได้ว่ากำลังมี การเมืองอะไรซ่อนอยู่ จึงใช้คำว่าการเลือกประธานสภาฯ เหมือนกับเป็นกล่องพิศวง เพราะการเลือกประธานสภาคือการโหวตลับ แล้วนะตอนนี้ยังไม่เห็นว่าขั้วอำนาจเดิมเสนอรายชื่อชิงตำแหน่งประธานสภาในขั้วของฝั่งเขา ยังไงบ้าง
ซึ่งณตอนนี้เราก็ยังไม่เห็นเลย มีเพียงพรรคก้าวไกลที่เสนอรายชื่อรวมทั้งฝั่งเพื่อไทยที่แสดงเจตจำนงในความต้องการตำแหน่งประธานสภา แตกต่างกับการเลือกตั้งในปี 2562 ที่ในตอนนั้น พรรคร่วมรัฐบาลนั่นคือพลังประชารัฐและประชาธิปัตย์ มีคะแนนที่เบียดกันสุดท้ายก็มาลงตัวที่ชื่อของนายชวนหลีกภัย ซึ่งแม้แต่เพื่อไทยก็ยังเสนอชื่อของ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์แม้จะแพ้โหวตก็ตาม ดังนั้นจึงมองว่าขั้วอำนาจเดิมก็จะต้องทำการเสนอรายชื่อชิงตำแหน่งประธานสภาแม้จะแพ้โหวตหรืออะไรต่างๆก็ตาม
แต่เรายังไม่เห็นการเสนอจึงทำให้จับสังเกตได้ว่ากำลังจะมีกระบวนการอะไรบางอย่าง อาจจะมีการใช้จังหวะตรงนี้เสมอคนขึ้นชิงตำแหน่งประธานสภาจาก 8 พรรคร่วม โดยเฉพาะการพุ่งเป้าไปที่พรรคเพื่อไทยเพื่อให้เกิดเสียงแตก ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดตั้งรัฐบาลต่อไปในอนาคตอีกด้วย