ข่าว

ย้อน 23 ปี เส้นทางการเมือง 6 'นายกรัฐมนตรี' ใครหลุดเก้าอี้ เพราะเหตุอันใดบ้าง

ย้อน 23 ปี เส้นทางการเมือง 6 'นายกรัฐมนตรี' ใครหลุดเก้าอี้ เพราะเหตุอันใดบ้าง

06 ก.ค. 2566

ย้อนเส้นทางการเมือง 23 ปี กับ 6 'นายกรัฐมนตรี' ส่วนใหญ่จบไม่สวยเพราะม็อบ พลิกสาเหตุใครหลุดจากเก้าอี้ เพราะเหตุอันใด ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30

ลุ้นกันต่อไปหลังจากที่ได้ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หรือ วันนอร์ เป็นประธานสภา และ นายประดิพัทธ์ สันติภาดา เป็นรองประธานสภาคนที่ 1 และ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เป็นรองประธานสภาคนที่ 2 ไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา โดยล่าสุด นายวันนอร์ ได้ระบุวันเลือก นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 โดยมีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์  จากพรรคก้าวไกล ซึ่งจะต้องรวบคะแนน สส. และสว.ให้ได้ครบ 376 เสียงให้ได้จึงได้เป็นนายกฯ คนต่อไป

 

 

แต่ก่อนที่จะไปสู่การเลือก "นายกรัฐมนตรี" คนที่ 30 คมชัดลึก จะพาย้อนเส้นทาง 23 ปี การเมืองไทย กับการทำงานของนายกฯ ทั้งหมด 6 คน โดยเส้นทางของแต่ละคนนั้นล้วนจบลงท่ามกลางความวุ่นวายทั้งสิ้น

1.นายทักษิณ ชินวัตร  เป็น "นายกรัฐมนตรี"  ไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2544–พ.ศ. 2549 โดยนายทักษิณ เข้าสู่เส้นทางการเมืองจากการชักชวนของ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทยในปี 2541   หลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2544 พรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภาจึงดำรงตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี"  เป็นสมัยแรก หลังจากครบวาระ 4 ปี และมีการเลือกตั้งใหม่ในปี 2548 พรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้งได้คะแนนเสียงเยอะที่สุด ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

 

 

แต่เส้นทางบนเก้าอี้นายกฯ สมัยที่ 2 ของ นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้สวยมากหนัก เพราะหลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีการประท้วง ในปี 2549  คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ก่อรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ทำให้นายทักษิณพ้นจากตำแหน่ง โดยระหว่างนั้นนายทักษิณ ได้เดินทางไปราชการที่ต่างประเทศ นายทักษิณเคยเดินทางกลับประเทศไทยครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2551 หลังพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง แต่หลังจากนั้นอาศัยอยู่ต่างประเทศโดยตลอด

 

 

ทักษิณ ชินวัตร

2.นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 พรรคประชากรไทย ก้าวไปถึงตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" ได้ จากการทาบทามจาก นายทักษิณ ชินวัตร ให้ไปนำพรรคพลังประชาชน ซึ่งมาแทนที่พรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบ ในปี 2551 เค้าชนะการเลือกตั้งและได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เพียงแค่ 7 เดือนกว่าๆ สมัคร จะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะไปรับจ้างเป็นพิธีกร รายการทำกับข้าวทางโทรทัศน์ 

 

 

อย่างไรก็ตาม สมัคร สุนทรเวช  ได้ป่วยเป็นมะเร็งตับ และได้เดินทางไปรักษาตัวที่ต่างประเทศ และเดินทางกลับไทย พร้อมกับพักฟื้นอยู่ที่บ้าน โดยก่อนจะถึงแก่อนิจกรรม ยังได้เข้าพักรักษาตัวอีกครั้งที่โรงพยาบาล และถึงแก่อนิจกรรมลงอย่างสงบ ด้วยโรคมะเร็งตับ ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ขณะมีอายุได้ 74 ปี

 

 

3.นายสมชาย วงศ์สวัส นายกรัฐมนตรีคนที่ 26  ลงจากตำแหน่งนายกฯ เนื่องจากถูกศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น วินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน เนื่องจากถูกข้อหาทุจริตการเลือกตั้ง และ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เค้ายังถูกจับตาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคนที่ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะเหนือพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นคู่แข่ง ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2554


นายสมชาย ถือว่าเป็นนายกคนแรกที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ทำเนียบรัฐบาล การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯในตอนนั้นขยายวงล้อมตามยุทธศาสตร์ดาวกระจาย โดยยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นฐานที่มั่น  ระหว่างนั้น สมชายไปทำงาน ณ สนามบินดอนเมืองแทน แต่ความวุ่นวายไม่จบไม่สิ้น จนท้ายที่สุดถูกกดดันการปฏิวัติหน้าจอ เมื่อพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ขณะนั้นนำผบ.เหล่าทัพไปออกรายการของ นายสรยุทธ สุทัศนจินดา โดยบีบให้รัฐบาลลาออกจากตำแหน่ง สุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน และทำให้นายสมชายพ้นจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

 

สมชาย วงศ์สวสดิ์

 

 

4.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27  ที่ขึ้นเป็น "นายกรัฐมนตรี" ท่ามกลางภาวะตึงเครียดทางการเมือง โดยหลังจากที่นายสมชาย หลุดจากตำแหน่งไปแล้ว ได้มีการฟอร์มทีมรัฐบาลใหม่ในค่ายทหารก่อน อภิสิทธิ์ได้รับการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือน ธ.ค. 2551 ในวัย 44 ปี 

 

 

หลังจากนั้นนายอภิสิทธิ์ ต้องเผชิญกับการประท้วงใหญ่ในเดือนเม.ย. ปี 2552 ในเดือนเม.ย. และ พ.ค. 2553 หนักที่สุดคือเหตุการสลายการชุมชนในปี 2553 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 99 ศพ และมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 2,100 คน ที่ทำให้นายอภิสิทธิ์โดนกล่าวหาว่าสังหารผู้อื่น หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไป ปี 2554 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในวันที่ 4 ก.ค. 2554 

 

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

 

 

5.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  นายกรัฐคนที่ 28 และเป็น "นายกรัฐมนตรี" หญิงคนแรกของประเทศไทย หลังจากผ่านาวะตรึงเครียดทางกลางเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการจัดการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยพรรคเพื่อไทย กลับมาชนะการเลือกตั้งได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่ง นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทยที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา จากนั้น ยิ่งลักษณ์ ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 5 ส.ค.. 2554 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 

 

 

แต่เส้นทางของยิ่งลักษณ์ไม่ได้ต่างจากนายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ มากหนัก เพราะเพียงไม่นานก็ต้องเผชิญกับการประท้วงครั้งใหญ่ สุดท้ายทนแรงกดดันไม่ไหว จนต้องประกาศสภาไปในวันที่ 9 ธ.ค. พ.ศ. 2556 และรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากการรักษาการในวันที่ 7 พ.ค. 2557 เนื่องจากการย้ายถวิล เปลี่ยนศรี จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)

 

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 

6.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ คนที่ 28 และ นายกฯ คนที่ 29  หลังจากความวุ่นวายทางการเมืองไม่มีท่าที่ว่าจะจบลง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงประกาศทำรัฐประหารในปี 2557 หลังจากนั้นในวันที่ 21 ส.ค. 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูก คสช. เลือกมาทั้งหมด 

 

 

พล.อ.ประยุทธ์ นับว่าเป็นนายกฯที่สามารถนั่งเก้าอี้นายกฯ ได้ถึง 2 สมัย โดยในสมัยที่ 2 มีการจัดการการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 แม้ว่าพลังประชารัฐจะไม่ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นพรรคอันดับ 1 แต่ก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ตามโครงการสร้างรัฐธรรมนูญ2560 ฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

 

 

ประยุทธ์ จันทรโอชา

 

 

อย่างไรก็ตามพล.อ.ประยุทธ์ ประกาศยุบสภาในวันที่ วันที่ 20 มี.ค. 2566   และจัดให้การเลือกตั้งใหม่ในเดือน พ.ค. 2566 ท้ายที่สุดพรรคก้าวไกลเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งไปและเป็นพรรคที่มีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก แม้ว่าในกระบวนการการรวบรวมเสียงข้างมากจะมีอุปสรรคไปบ้าง แต่เมื่อวันที่  4 ก.ค. 2566 พรรคร่วมรัฐบาลสามารถผ่านด่านการเลือกประธานสภาได้สำเร็จ นับจากนี้คงต้องจับตากันต่อไปว่า ในวันที่ 13 ก.ค. นี้ จะสามารถยกมือเลือกนายกฯรัฐมนตรีคนที่ 30 โดยพรรร่วมทั้ง 8 พรรคจะเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพียงคนเดียวเท่านั้น และจะโหวตจนกว่าจะนายพิธาจะได้นั่งเก้าอี้นายกฯรัฐมนตรีคนต่อไป