ข่าว

'พิธา' หารือ 'GISTDA' คุยแผนใช้ ดาวเทียมแก้ปัญหา ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้ประชาชน

'พิธา' หารือ 'GISTDA' คุยแผนใช้ ดาวเทียมแก้ปัญหา ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้ประชาชน

11 ก.ค. 2566

'พิธา' หารือ GISTDA ถกแผน 3 ระยะ ใช้ข้อมูลดาวเทียวแก้ปัญหา ดิน น้ำ ลม ไฟ แก้ปัญหาภัยแล้ง ภัยพิบัติ เยียวยาเกษตรกร หากตั้งรัฐบาลสำเร็จ เร่งกำจัดอุปสรรคด้านงบประมาณ-ข้อกฎหมาย

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชวน ภายหลังการเข้าพบผู้บริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) โดยเปิดเผยว่า สาระสำคัญที่ได้หารือกัน คือ หากสามารถตั้งรัฐบาลสำเร็จ ต้องการการส่งเสริม สนับสนุน และใช้ประโยชน์ข้อมูลจาก GISTDA ให้มากขึ้น หลังจากที่เป็นสส.มา4 ปี ได้เห็นงบประมาณของ GISTDA ที่ลดลงเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันกลับได้เห็นประโยชน์ของข้อมูลของ GISTDA หลายครั้ง เช่นตอนน้ำท่วมโคราช น้ำท่วมนครศรีธรรมราช เรื่องภัยพิบัติ ภัยแล้ง และการเยียวเกษตรกรให้ดีขึ้นโดยการใช้ดาวเทียม ซึ่งทำให้เห็นถึงศักยภาพของ GISTDA มาก่อน จึงตั้งใจที่จะใช้ข้อมูล และความรู้ความสามารถของข้าราชการ GISTDA ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาประชาชน โดยวางกรอบในการทำงานเป็น 3 ระยะ คือระยะใกล้ ระยะกลาง และระยะไกล

ในระยะใกล้ คือ การใข้ข้อมูลมาช่วยในการแก้ปัญหา ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้กับประชาชน เช่น การวัดดัชนี ดิน คุณภาพของดิน การวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยแล้ง เรื่องฝุ่น PM ที่สามารถนำข้อมูล GISTDA มาหาค่าที่แม่นยำได้ การทำนายว่า PM2.5 จะมาเมื่อไหร่ ซึ่งดาวเทียมสามารถทำได้ รวมถึงการติดตามเรื่องไฟป่า ซึ่งปัจจุบันมีแอพลิเคชั่น ที่เกี่ยวกับไฟป่า ชื่อ "Bern check" เพื่อเช็กและตรวจสอบการบริหารไฟป่า

พิธา หารือ GISTDA แก้ปัญหาให้ประชาชน

ส่วนระยะกลางมีด้วยกัน 2 เรื่อง คือการทำเรื่องคาร์บอนเครดิต ให้สามารถวัดมูลค่าได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม

 

 

หารือใช้ดาวเทียมแก้ปัญหาให้ประชาชน

และสุดท้ายเรื่องระยะไกล คือ Space Economy หรือเศรษฐกิจที่จะได้มาจากการกำกับกิจการทางอวกาศ ที่ปัจจุบัยมีมูลค่าทั่วโลกถึง 7.7 ล้านบาท ซึ่งตนได้เห็นศักยภาพของโอกาสในการประกอบดาวเทียมด้วยคนไทยเอง เห็นถึงวิศวกรรมที่เกี่ยวของกับอวกาศในเมืองไทย ที่อาจจะมีการปล่อยดาวเทียมอีก 2 ดวงที่มาจากฝีมือวิศวกรไทย 22 คน ซึ่งเป็นวาระที่หากจัดตั้งรัฐบาล หรือปัญหาของประชาชนที่กำลังใกล้เข้ามา รวมถึง การหาโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ และยังมีเรื่องความมั่นคงของประเทศ การท่องเที่ยว ซึ่งจะพยายามทำให้เป็นจริงได้มนอนาคต ระยะ 4 ปี หรือ 8 ปี ซึ่งยอมรับว่าขณะนี้ ยังมีข้อจำกัดด้ายงบประมาณ และข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งต้องจำกัดอุปสรรคเหล่านี้เพื่อให้ GISTDA สามารถทำงานแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ