ข่าว

'ศปปส.' ยื่นสอบจริยธรรม สว.โหวต 'พิธา' ชี้อาจเอี่ยวล้มล้างการปกครอง

'ศปปส.' ยื่นสอบจริยธรรม สว.โหวต 'พิธา' ชี้อาจเอี่ยวล้มล้างการปกครอง

13 ก.ค. 2566

'ศปปส.' ยื่นหนังสือสอบจริยธรรม สว.โหวต 'พิธา' เป็นนายกฯ ชี้ขัดคำวินิจฉัยศาล รธน. เกี่ยวกับ การล้มล้างการปกครอง

กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) นำโดยนายอานนท์ กลิ่นแก้ว แกนนำ ศปปส. เข้ายื่นหนังสือถึง สำนักเลขาธิการสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ขอให้ตรวจสอบจริยธรรม สว. ที่โหวตนาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี

 

ให้เหตุผลเป็นการสมรู้ร่วมคิดกระทำการขัดต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลผูกพันทุกองค์กรในเรื่อง การล้มล้างการปกครอง 

ทางกลุ่ม ศปปส. ระบุ เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า พรรคก้าวไกลมีนโยบายที่เป็นปฏิปักษ์ปรปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อาทิ ยกเลิกกฏหมายอาญามาตรา112 นำออกจากหมวดความมั่นคง เปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะหมวด 1 และหมวด 2 เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดทอนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์หรือล้มล้างการปกครอง 

 

ดังนั้นการที่ สว. ท่านใดโหวตให้นายพิธา เท่ากับว่าเป็นการสนับสนุนและหรือสมรู้ร่วมคิดกลุ่มบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์หรือไม่ และเหมาะสมหรือไม่ที่จะครองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว           

 

ทาง ศปปส. จึงอยากเห็นความสง่างามของ สว. ซึ่งถือว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในสภาสูงของรัฐสภาอันทรงเกียรติของไทย คงรักษาเกียรตินั้นด้วยชีวิต ดั่งคำ ปฏิญาณตนต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ด้วยถ้อยคำที่ว่า "ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยทุกประการ"

ศปปส.

สำหรับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยชี้ชุมนุม 10 สิงหาคม 2563 เป็นการล้มล้างการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีผลผูกพันทุกองค์กรในเรื่องการล้ม ล้างการปกครอง

 

การเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วย "พระราชฐานะ" ของพระมหาลกษัตริย์ ที่ทรง อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและอยู่เหนือความรับผิดชอบทางการเมือง ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้ และให้มีการยกเลิกกฎหมายที่ห้ามเข้าไปล่วงละเมิด หมิ่นประมาท หมิ่น พระบรมเดชานุภาพสถาบันพระมหากษัตริย์ จะส่งผลกระทบต่อ "สถานะ" ของสถาบันฯ และนำไปสู่การบ่อน ทำลายการปกครองในที่สุด การแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังกล่าว จะส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ อยู่ในสถานะที่เคารพสักการะ อันนำไปสู่การสร้างความปั่นป่วนและกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เป็นการ ใช้สิทธิเสรีภาพที่เกินความพอเหมาะเกินควร โดยมีผลทำให้กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคง ของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และจะนำไปสู่การบ่อนทำลายการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด"