ข่าว

'กัณวีร์' ลั่นไทยสร้าง 'ค่ายผู้อพยพ'ใหม่ไม่ได้-91,000 คนยังอยู่ในค่ายฯ

'กัณวีร์' ลั่นไทยสร้าง 'ค่ายผู้อพยพ'ใหม่ไม่ได้-91,000 คนยังอยู่ในค่ายฯ

15 ก.ค. 2566

'กัณวีร์ สืบแสง' ห่วงสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยมายังชายแดนไทย ทะลุ 8,802 คน ย้ำต้อง เปิดประตูมนุษยธรรม เป็นนโยบายเร่งด่วน ลั่นไทยสร้าง ‘ค่ายอพยพ’ ใหม่ไม่ได้แล้ว 43 ปี 91,000 คนยังอยู่ในค่ายฯ รัฐบาลใหม่ต้องมองการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างเป็นระบบ

นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม 1 ใน 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เปิดเผย ถึงสถานการณ์การสู้รบชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งส่งผลให้มีผู้หนีภัยการสู้รบมายังชายแดนประเทศไทย จำนวน 8,802 คนแล้ว ซึ่งไทยต้องประเมินสถานการณ์ให้ดี การสู้รบภายในประเทศเมียนมา ส่งผลให้มีผู้พลัดถิ่นในประเทศหลายแสนคน 

ล่าสุดจากสถานการณ์ในรัฐคะเรนนี มีการทิ้งระเบิดและ มีการปะทะ ติดกับชายแดนไทย ฝั่ง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ติดพื้นที่พักพิง บ้านใหม่ในสอย การทิ้งระเบิดตรงนั้น ทำให้มีผู้อพยพมาเพิ่ม และแนวโน้มสถานการณ์จะยืดเยื้อ ไทยต้องเตรียมรับมือและต้องมี นโยบายที่ชัดเจน โดยเฉพาะการเปิดประตูมนุษยธรรม Humanitarian Corridor ซึ่งต้องเป็นนโยบายเร่งด่วนด้วย

 

ถึงเวลาแล้วที่ต้อง เปิดประตูมนุษธรรม Humanitarian Corridor เป็นนโยบายเร่งด่วน ไทยมีชายแดนติดกับเมียนมายาวมาก และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ รัฐบาลใหม่ต้องมองความสัมพันธ์ไทย-เมียนมา ไม่ใช่แค่ในระดับทิวภาคี แต่ต้องมองในระดับภูมิภาค และเวทีโลก ถ้าไทยไม่มีบทบาทช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และแก้ปัญหาที่รากเหง้า ไทยจะถูกมองว่าไม่มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล ดังนั้นรัฐบาลใหม่ต้องมองหาการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนให้ได้ในเมียนมา

 

ชาวเมียนมาอพยพเข้าไทย

ผู้ลี้ภัยสู้รบในเมียนมา

นายกัณวีร์ ระบุว่าไทยต้องช่วงชิงความเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาเมียนมา ไม่ได้ต้องการจะแข่งกับใคร แต่ต้องยอมรับว่าเมียนมาเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีใครสามารถจัดการแก้ปัญหาแบบเป็นระบบได้ ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกับเมียนมา มีภูมิรัฐศาสตร์ ที่จำเป็นต้องเป็นผู้นำแก้ปัญหาเมียนมา จะอาศัยอาเซียนอย่างเดียว ทำไม่ได้เพราะไม่สามาถแก้ปัญหาได้

 

ไทยใช้ภูมิรัฐศษสตร์ ที่มีชายแดนยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร พูดคุยกับเมียนมาได้ แม้จะเป็นรัฐบาลทหาร แต่ไทยจำเป็นต้องพูดคุย ไม่ใช่แค่ทหารเมียนมา ไทยต้องคุยกับทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ทำงานมนุษยธรรม และภาคประชาสังคมที่มีอยู่ ประเทศไทยต้องใช้บทบาทนี้ จะไม่ไปแทรกแซง แต่สนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยในเมียนมาให้ได้

 

ทั้งนี้ นายกัณวีร์ ได้มีโอกาสไปพบภาคประชาสังคม ใน อ.แม่สอด จ.ตาก ทราบว่าพื้นที่ชั้นในเป็นพื้นที่สงครามระหว่างรัฐบาลทหารเมียนมา และกองกำลังติดอาวุธ ไปแล้ว ดังนั้นสถานการณ์จะผันผวนตลอดเวลา ผู้พลัดถิ่นในเมียนมานับแสนคน พร้อมจะอพยพมาเป็นผู้ลี้ภัยในไทย ไทยต้องเตรียมพร้อม พื้นที่ปลอดภัยปัจจุบันไม่เพียงพอ จะใช้แค่ศักยภาพ และบริบทในพื้นที่ดูแลตามยถากรรมไม่ได้ และการให้อยู่ชั่วคราวแล้วส่งกลับ เพราะบริเวณชายแดนมีการใช้กฏอัยการศึกและความมั่นคงดูแล

 

แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องมนุษยธรรม ไทยสามารถจับมือในภูมิภาค อาเซียน สามารถสนับสนุนไทยได้แน่นอน ที่ผ่านมาอาเซียนใช้ฉันทามติ 5 ข้อ เพื่อไม่ให้ลิดรอนสิทธิกับเมียนมา แต่ไทยต้องมองปัญหาเฉพาะหน้าด้วย ต้องมองปัญหามนุษยธรรม จะสามารถเอาความร่วมมือมาผลักดัน สถานการณ์ผลกระทบในเมียนมา

 

ส่วนการจัดการพื้นที่ปลอดภัยที่มีอยู่ 5 แห่งแล้ว บริเวณชายแดน จ.แม่ฮ่องสอน นายกัณวีร์ เห็นว่าเมื่อสถานการณ์มีแนวโน้มที่ยืดเยื้อ และมีการอพยพมาต่อเนื่อง ระบบปัจจุบันจะไม่สามารถรองรับจำนวนคนที่มากขึ้นได้แน่นอน การแก้ปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องวางแผนตั้งแต่การเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมไปถึงการพัฒนาไปด้วยจะมองแค่งานมนุษยธรรมอย่างเดียวไม่พอ ทั้งที่พักพิง อาหาร คงไม่พอ ต้องวางแผนด้วยว่าทำอย่างไรให้กลุ่มคนเหล่านี้อยู่ได้โดยไม่พึ่งพิงคนอื่นมากนัก

 

\'กัณวีร์\' ลั่นไทยสร้าง \'ค่ายผู้อพยพ\'ใหม่ไม่ได้-91,000 คนยังอยู่ในค่ายฯ

 

“ถ้าสถานการณ์ยืดเยื้อ จะทำอย่างไรให้อยู่ได้ สามารถดึงองค์กรระหว่างประเทศมาได้ เราจะไม่สร้างค่ายผู้อพยพใหม่ เพราะการสร้างค่ายใหม่จะเกิดปัญหาเรื้อรัง อย่างที่มีมา 43 ปีที่ผ่านมา 91,000 คนยังอยู่ในค่ายผู้อพยพ ถ้าสร้างค่ายใหม่เกิดปัญหาเรื้อรังแน่นอนรัฐบาลใหม่ต้องมองการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการส่งกลับแบบสมัครใจ

 

และการตั้งถิ่นฐานใหม่ ต้องมีช่องออกแต่ต้น ไม่ใช่รับมาแล้วส่งกลับ ต้องว่าจะทำอย่างไร ถ้าแนวโน้มไม่ดี จะส่งตั้งถิ่นฐานใหม่ได้ไหม ให้กระทรวงแรงงานไปดูแลไหม ต้องครอบคลุมทั้งหมด ในงานด้านมนุษยธรรม ต้องให้ เพื่อให้ยืนด้วยขาตัวเองได้ในที่สุดด้วย” นายกัณวีร์ กล่าวย้ำ

 

สำหรับการสู้รบในรัฐคะเรนนีที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 13 มิ.ย. 2566 ถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 1 เดือนแล้ว มีผู้หนีภัยการสู้รบจากรัฐคะเรนนี หรือรัฐคะยา ประเทศเมียนมา อพยพมายังชายแดนไทย ซึ่งมีการเปิดพื้นที่ปลอดภัย 4 แห่งบริเวณชายแดน อ.แม่สะเรียง อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ให้ผู้หนีภัยการสู้รบ รวม 5,133 คน 

 

และล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ก.ค.66 กองทัพเมียนมาทิ้งระเบิดในพื้นที่ค่ายผู้อพยพในรัฐคะเรนนี ตรงข้ามบ้านปางหมู ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ส่งผลให้มีผู้หนีภัยการสู้รบมายัง บ้านในสอย ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เพิ่มอีก 3,331 คน จึงเปิดพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวอีก 1 แห่ง รวม 5 แห่ง มีผู้หนีภัยจากรัฐคะเรนนี 8,802 คน

\'กัณวีร์\' ลั่นไทยสร้าง \'ค่ายผู้อพยพ\'ใหม่ไม่ได้-91,000 คนยังอยู่ในค่ายฯ

\'กัณวีร์\' ลั่นไทยสร้าง \'ค่ายผู้อพยพ\'ใหม่ไม่ได้-91,000 คนยังอยู่ในค่ายฯ