ข่าว

'นิด้าโพล' 43.21% หนุน เสนอ 'พิธา' ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้เป็น 'นายกรัฐมนตรี'

'นิด้าโพล' 43.21% หนุน เสนอ 'พิธา' ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้เป็น 'นายกรัฐมนตรี'

16 ก.ค. 2566

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เผยผลสำรวจของ ‘นิด้าโพล’ ในหัวข้อ 'เลือกนายกรัฐมนตรี 2566' พบว่า 43.21% หนุนให้เสนอ ‘พิธา’ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้เป็นนายกฯ ตามด้วย ‘อุ๊งอิ๊ง-เศรษฐา’ 38.55% และ 35.04% ส่วน ‘บิ๊กป้อม’ อยู่ที่ 5.42%

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง 'เลือกนายกรัฐมนตรี 2566' ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-12 ก.ค. 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเลือกนายกรัฐมนตรี 2566

 

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

 

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีรอบแรก หากนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้คะแนนเสียงไม่เพียงพอที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พบว่า ตัวอย่าง 

 

ร้อยละ 43.21 ระบุว่า ควรมีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์เพื่อให้รัฐสภาพิจารณา ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ รองลงมา 

 

ร้อยละ 20.69 ระบุว่า ควรมีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อให้รัฐสภาพิจารณา อีก 1-2 รอบเท่านั้น 

 

ร้อยละ 12.98 ระบุว่า พรรคก้าวไกลควรยอมยกเลิกบางนโยบายที่ สว. ไม่เห็นด้วย เพื่อให้ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้น 

 

ร้อยละ 7.94 ระบุว่า พรรคก้าวไกลควรเปิดโอกาสให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคแทนทันที 

 

ร้อยละ 4.88 ระบุว่า พรรคก้าวไกลควรเจรจาชวนพรรคการเมืองในรัฐบาลปัจจุบันเข้าร่วมรัฐบาล เพื่อให้ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้น 

 

ร้อยละ 2.67 ระบุว่า ควรมีการชุมนุมประท้วงเพื่อกดดัน สว. ให้เลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในการลงคะแนนเสียงครั้งต่อไป

 

ร้อยละ 2.52 ระบุว่า พรรคเพื่อไทยควรขอเป็นแกนนำ ในการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคแทนทันที 

 

ร้อยละ 2.29 ระบุว่า พรรคก้าวไกลควรประกาศไปเป็นฝ่ายค้านทันที

 

ร้อยละ 2.06 ระบุว่า พรรคเพื่อไทยควรสลับขั้วในการจัดตั้งรัฐบาลทันที 

 

และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

 

\'นิด้าโพล\' 43.21% หนุน เสนอ \'พิธา\' ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้เป็น \'นายกรัฐมนตรี\'

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงบุคคลที่มีโอกาสจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี หาก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนที่เพียงพอจากรัฐสภา พบว่า ตัวอย่าง 

 

ร้อยละ 38.55 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร รองลงมา 

 

ร้อยละ 35.04 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 6.79 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 

 

ร้อยละ 5.65 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

 

ร้อยละ 5.42 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ

 

ร้อยละ 4.27 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล

 

ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 

 

ร้อยละ 1.07 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 

 

และร้อยละ 1.76 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายชัยเกษม นิติสิริ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และนายศิธา ทิวารี

 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

 

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.18 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.21 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.61 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

 

ตัวอย่าง ร้อยละ 33.13 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.43 สมรส และร้อยละ 2.44 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 24.81 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.81 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.41 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.47 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.50 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.86 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.86 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.67 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.98 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.19 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.94 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.50 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

 

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.30 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.39 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.55 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.72 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.27 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.08 ไม่ระบุรายได้

 

ขอบคุณที่มา: นิด้าโพล