15 ส.ค. 2566

'เบี้ยผู้สูงอายุ' ยังจ่ายตามหลักเกณฑ์เดิม จุรินทร์ ยัน มีแค่การศึกษาเพื่อให้สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจ ไม่อิงระเบียบ 'มหาดไทย'

นายสุชาติ​ ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​ อดีตรัฐมนตรี​ว่าการกระท​รวงการคลัง​ กับการปรับเกณฑ์สวัสดิการผู้สูงอายุ​ของกระทรวงมหาดไทย​ ที่ต่อไปผู้สูงอายุ​ ต้องพิสูจน์​ความจน​ คือไม่มีรายได้​ หรือรายได้ไม่พอ​ จึงจะได้รับเงิน​เบี้ยผู้สูงอายุ 600,​ 700, 800, 1,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากเบี้ยผู้สูงอายุนี้​ ออกมาแบบมาตามกรอบความคิด​ สวัสดิการ​ถ้วนหน้า​ 

การรับเบี้ยผู้สูงอายุสำหรับคนไทยผู้มีอายุเกิน​ 60​ ปี​ทุกคน​ ที่ไม่ได้รับบำนาญหรือสวัสดิการ​อื่น เพื่อให้คนไทยที่ทำงานพัฒนาชาติบ้านเมืองมานานจนอายุ​ 60​ ปี​ มีชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี 

 

การเปลี่ยนจากแนวคิดสวัสดิการ​ถ้วนหน้า​ของมหาดไทย มาเป็นระบบสงเคราะห์​อนาถา ถือเป็นวิธีคิดแบบถอยหลังเข้าคลอง​ เป็นระบบศักดินา​แบบเก่า​ เลือกปฏิบัติ​ เอาเงินรัฐบาลมาแจกแบบอุปถัมภ์​ เพื่อสร้างบุญคุณ​แก่ประชาชน การกล่าวอ้างว่ารัฐต้องใช้เงินกว่า​ 90,000​ ล้านบาท​ต่อปี ดูแลผู้สูงอายุ​กว่า​ 10 ล้านคน​ ทำให้รัฐบาลไม่มีเงิน​นั้น​

 

เป็นวิธีคิดแบบรัฐเป็นนาย​ ประชาชนเป็นบ่าว​ ไม่ใช่วิธีคิดแบบเสรีนิยม​ ที่รัฐบาลเป็นผู้รับใช้ ประชาชนเป็นนายรัฐบาล.

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีฯ ในฐานะคณะประธานคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ยืนยัน ว่า คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ไม่มีการกำหนดนโยบายในการปรับลดเงินและลดจำนวนเบี้ยผู้สูงอายุ ก่อนหน้านี้ยังเข้าไปแก้ไขปัญหาความซ้ำซ้อน การรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กับรับเบี้ยบำนาญตกทอด ซึ่งต้องรับทางเดียว แต่ใครที่รับไปแล้วไม่ต้องนำมาคืน 

 

ในฐานะที่เป็นผู้กำกับดูคณะกรรมการชุดปัจจุบันยังไม่มีความเห็นหรือมติในทิศทางที่ลบและยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงยังไม่มีนโยบายเปลี่ยนแปลงปรับเบี้ยผู้สูงอายุมีแค่การศึกษา จะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ พร้อมย้ำว่า ยังไม่มีมติในการลดจำนวนผู้สูงอายุที่จะรับเบี้ยยังชีพแต่อย่างใด