ข่าว

'นักวิเคราะห์' ฟันธง  'พล.อ.ประวิตร' ตาอยู่ เสียบนายกรัฐมนตรี ดันฝันเพื่อไทย

'นักวิเคราะห์' ฟันธง 'พล.อ.ประวิตร' ตาอยู่ เสียบนายกรัฐมนตรี ดันฝันเพื่อไทย

18 ส.ค. 2566

พรรคเพื่อไทย อาจจะหนาว นักวิเคราะห์ทางการเมือง รองศาสตราจารย์ยุทธพร อิสรชัย จาก มสธ. มองการโหวตนายกรัฐมนตรี 22 ส.ค. อยู่ในอัตราเสี่ยงที่จะล้มกระดานเพื่อไทย ดับฝัน "เศรษฐา" สมการยามนี้ โอกาสไหลไปสู่ "พล.อ.ประวิตร" แห่งพลังประชารัฐ โอ่การเมืองไทยสุดฉงน ก้าวไกลชนะแต่แห้ว

รองศาสตราจารย์ยุทธพร อิสรชัย  ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ( มสธ. )    ให้ทัศนะว่า แม้ว่าพรรคเพื่อไทย  จะดึงพรรครวมไทยสร้างชาติ เข้ามาร่วมสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาล  แต่ก็เห็นว่าการโหวตนายกรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 22 ส.ค.   โอกาสที่จะโหวตผ่านยัง 50:50 และยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถโหวตนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่ เพราะอาจจะมีเรื่องการเมืองในสภา โดยเฉพาะประเด็นที่อาจจะหยิบยกคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และขอให้โหวตเพื่อกลับไปแก้มติเมื่อวันที่ 19 ก.ค. จนนำไปสู่เหตุการณ์ที่คล้ายกับ 2 สัปดาห์ก่อน จนต้องปิดประชุม

 

 


ขณะเดียวกันแม้ว่าจะมีเสียงสส.ที่มาสนับสนุนเพิ่มให้กับ เพื่อไทย  ทั้งจากพลังประชารัฐ  และ รวมไทยสร้างชาติ  แต่ปัจจัยชี้ขาดยังอยู่ที่ สมาชิกวุฒิสภา ( สว.)   ต้องหาเสียงให้ได้ 376  เสียง   ยังไม่มั่นใจว่าเพื่อไทย จะได้เสียง สว.ตามนั้นหรือไม่  เพราะพรรคเพื่อไทยยังคิดเงื่อนไขหลายอย่าง โดยเฉพาะชื่อของนายเศรษฐา ทวีสิน ที่ยังมีประเด็นเรื่องส่วนบุคคล ที่ต้องชี้แจงกับสังคม และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลายคนมองว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นการปิดโอกาส นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล แต่ความจริงแล้ว ยังเป็นแรงกดดันของพรรคเพื่อไทยเช่นกัน เพราะสามารถเสนอชื่อแคนดิเดตในโหวตนายกรัฐมนตรี 1 คน เพียงครั้งเดียว เท่านั้น

 

 

 


"ตอนนี้แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่ใช้งานได้ขณะนี้มีเพียง 4 คน คือ  คุณเศรษฐา ทวีสิน ,  คุณแพรทองธาร ชินวัตร ,  คุณอนุทิน ชาญวีรกูล , และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หาก คุณเศรษฐา   โหวตไม่ผ่าน โอกาสที่จะเป็น น.ส.แพรทองธาร  ก็ยังไม่แน่นอน เพราะพรรคเพื่อไทยอาจจะไม่เสนอชื่อ  น.ส.แพรทองธาร มาในสถานการณ์ที่เสี่ยงแบบนี้ จึงเป็นไปได้สูงที่ว่านายกรัฐมนตรีจะไหลไปสู่ขั้วอำนาจเดิม คือ  คุณอนุทิน  หรือ  พล.อ.ประวิตร "

 

"เพื่อไทย"เดินหมากผิด ตกเป็น "ลูกไล่"

 

เขา กล่าวว่า    วันนี้พรรคเพื่อไทย เป็นพรรคแกนนำที่ไม่ได้นำจริง ๆ เพราะท้ายที่สุดพรรคเพื่อไทยต้องยอมรับทุกเงื่อนไข และทุกการต่อรองจากบรรดาขั้ว 188 เสียง ทั้งเก้าอี้รัฐมนตรี และ เผชิญกับ สว.250 เสียง   การเดินหน้าของพรรคเพื่อไทย วันนี้ตอบโจทย์ถูก แต่ตั้งโจทย์ผิด เพราะมุ่งไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลและทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เสียง ทั้งการดึงพรรค 2   พลังประชารัฐ   , รวมไทยสร้างชาติ ปล่อยมือ ก้าวไกล แม้กระทั่งการสละจุดยืนของตัวเองที่เคยพูดไว้ในการหาเสียง จึงทำให้พรรคเพื่อไทยติดหล่ม เหมือนวิ่งเท่าไหร่ก็ไม่ไปไหน เพราะไม่ใช่โจทย์ที่ถูกต้องของเพื่อไทย

 

 


อย่างไรก็ตามหากพรรคพลังประชารัฐ หรือ พรรครวมไทยสร้างชาติ  พรรคใดพรรคหนึ่ง มาด้วยความจริงใจ อาจจะได้เห็นเสียง สว. อย่างน้อย 100 เสียง โหวตให้นายรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย แต่โจทย์ใหญ่คือความจริงใจจากทั้งสองพรรค  แม้จะได้เสียง สส.ถึง 250 แต่ เสียง สว.อาจจะไม่ได้ตามนั้น  และมองว่า มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะมีเกมบีบให้ชื่อนายกรัฐมนตรี ไปถึง พล.อ.ประวิตร

 

\'นักวิเคราะห์\' ฟันธง  \'พล.อ.ประวิตร\' ตาอยู่ เสียบนายกรัฐมนตรี ดันฝันเพื่อไทย

รองศาสตราจารย์ยุทธพร อิสรชัย  ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ( มสธ. ) 

 


 

"ก้าวไกล"ชนะเลือกตั้ง "พิธา"ชวด 

.

 

 

"คำถามคือ วันนี้เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จากวันที่ 14 พ.ค. ที่ประชาชนไปเลือกตั้ง  และพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง นายพิธา   ลิ้มเจริญรัตน์ ประกาศเป็นนายกรัฐมนตรี  จนมาถึงวันที่ถูกสั่งหยุดปฎิบัติหน้าที่   กระทั่งพรรคเพื่อไทยตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว และอีกหลายเหตุการณ์ ที่เดินมาจนเหลืออีกก้าวเดียวจะถึง พล.อ.ประวิตร จึงไม่สามารถประมาทหรือปฏิเสธได้ว่า พล.อ.ประวิตรจะไม่มีชื่อในสมการนี้ และส่วนตัวยังมองอีกว่าอาจจะไม่ได้นายกรัฐมนตรีภายในเดือน ส.ค. นี้ เพราะการเมืองวันนี้ยังมีความไม่ลงตัวกันอยู่"

 

 

เขา กล่าวด้วยว่า   ไม่คิดว่าสมการที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของการปรองดองสมานฉันท์จริง แต่เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ คล้ายกับการชวนพรรคก้าวไกล ร่วมปิดสวิตซ์ สว. และแม้จะทำได้จริง สุดท้ายเพื่อไทยก็จะกลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยอยู่ดี ส่วนการที่บอกว่าจะให้พรรรก้าวไกล มาคอยช่วยเหลือ ตนมองว่าหลักการของระบบรัฐสภาไม่ถูกต้อง เพราะฝ่ายค้านต้องทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร เช่นเดียวกับเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ รัฐบาลพิเศษหรือรัฐบาลก้าวข้ามความขัดแย้ง สลายขั้ว สุดท้ายกระบวนการที่ไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน