ย้อน 'นโยบายประชานิยม' คนนิยมเพราะได้เงิน แจกสะบัด สะพัดแสนล้าน
ย้อน 'นโยบายประชานิยม' ผ่านไป 20 กว่าปีคนก็ยังนิยม แจกเงินสะบัดสะพัดแสนล้าน กระตุ้นเศรษฐกิจตามคำอ้าง หรือแต่ผลาญงบประมาณแผ่นดิน
"นโยบายประชานิยม" นโยบายเรียกคะแนนนิยมของพรรคการเมืองที่ไม่ว่าจะมีการเลือกตั้งกี่ครั้งก็สามารถดูคะแนนจากประชาชนได้อย่างท่วมท้น ในประเทศไทยเอง "นโยบายประชานิยม" เริ่มเป็นที่รู้จักกันมาขึ้นในยุคของนายทักษิณ ชินวัตร โดยงานวิจัยของ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรราชวิทยาลัย ระบุเอาไว้ว่า นโยบายประชานิยมถูกนำมาใช้อย่างจริงจังในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ผ่านการบริหารราชการแผ่นดินในรูปแบบต่างๆ
ในปี 2548 นั่นเองที่พรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งและทำให้คนชนะการเลือกตั้งและทำให้คนไทยเข้าใกล้กับคำว่า "นโยบายประชานิยม" มากขึ้น หลังจากที่นโยบายประชานิยมสามารถโกยคะแนนได้อย่างเด็ด ขาด ส่งผลให้หลายพรรคการเมืองใช้แนวทางดังกล่าว มาเป็นแคมเปญหาเสียงหลัก แต่ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา "นโยบายประชานิยม" ก็ผลาญงบประมาณแผ่นดินจำนวนมากเช่นกัน
- ย้อน "นโยบายประชานิยม" ของพรรคการเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้
-ปี 2548 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการกองทุนหมู่บ้าน
-ปี 2554 เยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2554 เพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมปี 2554 โดยให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมครัวเรือนละ 5,000 บาท จำนวน 174,383 ครัวเรือน ใน 44 จังหวัด วงเงินทั้งสิ้น 871.91 ล้านบาท
-ปี 2557 เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย เพื่อชดเชยผลการขาดทุนในช่วงที่ราคาข้าวตกต่ำมากจนต่ำกว่าต้นทุน ให้เงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท แก่ชาวนา ซึ่งมีที่ดินทำกินไม่เกิน 15 ไร่ ช่วยเหลือครอบครัวละ 15,000 บาท วงเงินทั้งสิ้น 40,000 ล้านบาท
-ปี 2559 เช็คช่วยชาติ แจกเงิน 2,000 บาท จากพรรคประชาธิปปัตย์ ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่เกิดภาวะเศรษฐกิจหดหัวในช่วงปี 2551 วงเงินทั้งสิ้น 19,400 ล้านบาท เป็นการแจกเงินให้กับบุคลากรภาครัฐและผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท ให้ได้รับเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท/คน เป้าหมายจำนวน 9.7 ล้านคน
-ปี 2560-2566 โครงการกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม หรือ กองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก เพื่อช่วยเหลือประชาชนในระดับฐานรากและกลุ่มเปราะบาง ให้วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 200-300 บาท/คน/เดือน ค่าโดยสารรถสาธารณะ 500 บาท/เดือน โดยงบประมาณเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 40,000 ล้านบาท วงเงินทั้งสิ้นประมาณ 333,229 ล้านบาท
ระยะที่ 2 เติมเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1,000 บาทต่อเดือน 14 ล้านคน ตกปีละ 168,000 ล้านบาท 4 ปี 672,000 ล้านบาท
- "นโยบายประชานิยม" ช่วงเลือกตั้ง 2566 เรียกว่าแทบจะทุกพรรคที่ออกนโยบาย ดังนี้
-พรรคเพื่อไทย กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท แจกเงินให้คนที่อายุ 16 ปีขึ้นไป ประมาณ 55 ล้านคน คนละ 10,000 บาท รวมเป็นเงินถึง 5.5 แสนล้านบาท
-พรรคไทยสร้างไทย นโยบาย บำนาญประชาชน 3,000 บาท ซึ่งจะแจกเงินให้ผู้สูงอายุ 3,000 บาท/เดือน ซึ่งจะใช้เงินประมาณ 3 แสนล้านบาท/ปี
-เสรีรวมไทย บำนาญประชาชน 65 ปีขึ้นไป เดือนละ 3,000 บาทต่อเดือน 8.3 ล้านคน ตกปีละ 298,800 ล้านบาท 4 ปี 1,195,200 ล้านบาท
-พรรคก้าวไกล บำนาญประชาชน 60 ปีขึ้นไป เดือนละ 3,000 บาท 12 ล้านคน ตกปีละ 432,000 ล้านบาท 4 ปี 1,728,000 ล้านบาท
-พรรคพลังประชารัฐ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 60 ปี 3,000 บาท 70 ปี 4,000 บาท 80 ปี 5,000 บาท 4 ปี คิดไม่ออกแล้วว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ แต่มากกว่า 2 ล้าน ล้านบาท
หรือ นโยบายเดียว เท่ากับ 4 เท่าของนโยบาย 10,000 บาท เพื่อไทย
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แสดงความคิดเห็นถึงนโยบายประชานิยมของพรรคการเมืองเอาไว้ ว่า "นโยบายประชานิยม" เป็นทีทบื่นชอบของประชาชน เพราะประชาชนได้ประโยชน์โดยตรง ส่วนใหญ่มักจะเป็นสิทธิประโยชน์รูปแบบของตัวเงิน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ
แต่ที่สนใจไปกว่าการแจกเงินคือ "นโยบายประชานิยม" ที่มีการแจกเงินนั้นจะต้องทำอย่างต่อเนื่องซึ่งถือว่าเป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดิน และสร้างความเคยชินให้ประชาชนคิดว่าไม่ต้องทำอะไรอยู่เฉยๆก็ได้เงิน ซึ่งจะทำให้ประชาชนคาดความเอาจริงเอาจังกับการประกอบอาชีพ
ที่ผ่านมาเราพบว่า "นโยบายประชานิยม" ได้รับความนิยมอย่างมาก และสามารถตีกลับมาเป็นคะแนนเสียงได้ในรัฐบาลสมัยนายทักษิณ ชินวัตร พรรคไทยรักไทย โดยพรรคไทยรักไทยมีการทำสำรวจความเห็นของประชาชน และแปลงออกมาเป็นนโยบาย หลังจากนั้นก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก และได้คะแนนเสียงกลับมาอย่างล้นหลามทำให้พรรคการเมืองต่างๆ เริ่มออกนโยบายแนวประชานิยม เพื่อเรียกคะแนนเสียงบ้าง
นายสมชัย แสดงความคิดเห็นถึง "นโยบายประชานิยม" ต่อว่า หากมองในมุมกระตุ้นเศรษฐกิจนโยบายประชานิยมไม่ได้เกิดผลทางเศรษฐกิจมากเท่าไหร่ แต่เป็นแค่การเพิ่มเงินในกระเป๋าประชาชนให้มีกำลังใช้จ่ายมากขึ้นเท่านั้น หนำซ้ำนโยบายประชานิยมยังเป็นภาระให้แก่การใช้จ่ายในงบประมาณแผ่นดินอย่างเช่น นโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่ต้องใช้งบประมาณราวๆ 1 ใน 6 ของเงินงบประมาณแผ่นดินหรือประมาณ 16-17% ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากและไม่รู้ว่าจะต้องหาแหล่งเงินมาจากที่ใด
"ในการเลือกตั้งปี 2566 ทุกพรรคมีนโยบายประชานิยม ทำให้ในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่แข่งกันด้วยนโยบายประชานิยมมากที่สุด แม้ว่ากกต.จะมีกฎออกมาว่าจะต้องชี้แจงแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะไม่มีการบังคับใช้ที่ชัดเจน"