ข่าว

'นิด้าโพล' เผย ปชช. กังวล 'เงินดิจิทัลวอลเลต' แนะต้องปรับ

'นิด้าโพล' เผย ปชช. กังวล 'เงินดิจิทัลวอลเลต' แนะต้องปรับ

15 ต.ค. 2566

'นิด้าโพล' เผย ปชช. กังวล 'เงินดิจิทัลวอลเลต' ส่วนใหญ่อยากให้ไปต่อ แต่ต้องปรับ ขณะที่รับเงินมาจะนำไปใช้จ่าย มีบางส่วนไม่ขอรับเงิน ส่วนหากยกเลิกนโนบายความนิยม 'เพื่อไทย' ลดลง

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "การแจกเงินดิจิทัลวอลเลต ควรไปต่อหรือพอแค่นี้?" ระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2566 จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

 

กังวลของประชาชนต่อนโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ว่า อาจจะทำให้ได้ไม่คุ้มเสียกับประเทศ (เช่น เกิดภาวะเงินเฟ้อ ข้าวของแพงขึ้น ไม่กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ) ตามคำเตือนของ 99 นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ 
อันดับ 1 ร้อยละ 30.92 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล 
อันดับ 2 ร้อยละ 28.47 ระบุว่า ไม่กังวลเลย 
อันดับ 3 ร้อยละ 25.27 ระบุว่า กังวลมาก 
อันดับ 4 ร้อยละ 15.19 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล  
อันดับ 5 ร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท 
อันดับ 1 ร้อยละ 47.10 ระบุว่า ดำเนินนโยบายต่อ แต่ควรมีการปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน 
อันดับ 2 ร้อยละ 32.52 ระบุว่า ดำเนินนโยบายต่อตามที่ได้หาเสียงไว้ 
อันดับ 3 ร้อยละ 18.85 ระบุว่า ควรหยุดการดำเนินการในนโยบายนี้ได้แล้ว 
อันดับ 4 ร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 

ส่วนการรับเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ของประชาชน  
อันดับ 1 ร้อยละ 79.85 ระบุว่า รับเงินและนำไปใช้จ่าย 
อันดับ 2 ร้อยละ 13.51 ระบุว่า ไม่รับเงิน 
อันดับ 3 ร้อยละ 5.42 ระบุว่า รับเงิน แต่ไม่นำไปใช้จ่าย 
อันดับ 4 ร้อยละ 1.22 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

ความคิดเห็นของประชาชนต่อคะแนนนิยมพรรคเพื่อไทย หากรัฐบาลยกเลิกนโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท 
อันดับ 1 ร้อยละ 60.00 ระบุว่า ส่งผลกระทบให้คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยลดลง 
อันดับ 2 ร้อยละ 29.92 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ กับคะแนนนิยมพรรคเพื่อไทย 
อันดับ 3 ร้อยละ 6.49 ระบุว่า ส่งผลให้คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้น 
อันดับ 4 ร้อยละ 3.59 ระบุว่า ไม่ทราบ/ ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

นิด้าโพล