ข่าว

'หนี้สาธารณะ' ไทย ต้องใช้คืนอีกกว่า 100 ปี คิดให้ดีเรื่อง 'เงินดิจิทัล'

'หนี้สาธารณะ' ไทย ต้องใช้คืนอีกกว่า 100 ปี คิดให้ดีเรื่อง 'เงินดิจิทัล'

19 ต.ค. 2566

เผยตัวเลข 'หนี้สาธารณะ' ของไทย 11 ล้านล้านบาท ใช้เวลา 110 ปี ในการใช้คืนเฉพาะเงินต้น ห่วง 'เงินดิจิทัล' สร้างภาระเพิ่ม

ในขณะที่รัฐบาล กำลังพยายามอธิบายที่มา และกำหนดมาตรการ การใช้เงินดิจิทัล  สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมาธิการงบประมาณ ยกตัวเลขหนี้สาธารณะของไทย ณ เดือนสิงหาคม 2566 ซึ่งรายงานโดย สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังพบว่าประเทศไทย มีหนี้สาธารณะ อยู่ที่ 1.027 ล้านล้านบาท  หรือ คิดเป็น ร้อยละ 61.78 ของ GDP.

เพดานการก่อหนี้สาธารณะ เดิมกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP.  แต่ในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ มีการขยับเพดานหนี้ เป็นร้อยละ 70 มีผล ณ วันที่ 20 กันยายน 2564  โดยใช้อำนาจของคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  เนื่องจากรัฐบาลในช่วงนั้นมีความจำเป็นต้องกู้เงินมาแจก จากสถานการณ์โควิด

 

ในการตั้งงบประมาณ ปี 2565 และ 2566 รัฐบาลประยุทธ์ตั้งงบใช้คืนเงินกู้ที่มีประมาณ 10.7 ล้านล้านบาทในขณะนั้น ปีละ 100,000 ล้านบาท  ซึ่งหมายความว่า หากใช้คืนในจำนวนเท่านี้ ต้องใช้ระบะเวลาถึง 107 ปี จึงจะคืนเงินต้นได้

ปัจจุบัน หนี้สาธารณะ คือ 11 ล้านล้านบาท  หากใช้คืนปีละ 100,000 ล้าน  ต้องใช้เวลาใช้คืนเฉพาะเงินต้น 110 ปี แต่เพดานการก่อหนี้ ยังกู้ได้อีก เพราะปัจจุบัน ใช้ไปร้อยละ 61.78 ยังเหลืออีกเยอะกว่าจะถึงร้อยละ 70 รัฐบาลจึงคิดได้สองทาง คือหาทางใช้คืนให้มากขึ้น  เพื่อกดตัวเลขให้ไม่เกินร้อยละ 60 ซึ่งเป็นวินัยการเงินการคลังในอดีต หรือ กู้เพิ่มเพราะยังไม่เกินเพดาน เพื่อมาดำเนินโครงการเงินดิจิทัล

 

ถือเป็นการตัดสินใจบนความแตกต่างระหว่าง รัฐบุรุษ กับ นักการเมือง ตาม ตำรารัฐศาสตร์