ข่าว

จี้ 'ก้าวไกล' รักษา 'มาตรฐานจริยธรรม'นักการเมือง

จี้ 'ก้าวไกล' รักษา 'มาตรฐานจริยธรรม'นักการเมือง

02 พ.ย. 2566

แค่เสียใจไม่พอ สว.สมชาย จี้ 'ก้าวไกล' รักษามาตรฐานทางการเมือง ส่ง ปปช.ไต่สวน 'มาตรฐานจริยธรรม' 'นักการเมือง' 2 สส.ของพรรค

หลังมติพรรคก้าวไกล ขับออก 2 กทม.และ สส.ปราจีนบุรี  ที่ถูกกล่าวหาล่วงละเมิดทางเพศ นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ เฟซบุ๊ก เรียกร้อง ให้พรรคก้าวไกล รักษามาตรฐานทางการเมือง โดยการบีบให้ทั้งสองคนลาออกเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ นอกจากนี้ ยังต้องช่วยเหยื่อในการดำเนินคดีอาญาและร้องต่อ ปปช. เพื่อให้ดำนินการไต่สวนมาตรฐานจริยธรรมนักการเมืองด้วย

ภาพจากเฟซบุ๊ก สมชาย แสวงการ

มาตรฐานจริยธรรมนักการเมือง ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 219 ประกอบมาตรา 234(1) มาตรา 235 และมาตรา 226 วรรค 7 และ พ.ร.บ.มาตรฐานจริยธรรม 2562 ซึ่งกำหนดขึ้นโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ โดยมี ปปช. เป็นผู้ไต่สวนข้อเท็จจริง หากมีมติเกินครึ่ง สามารถดำเนินการได้สองแนวทางคือ

 

หากเป็นกรณี ที่เห็นว่าผิดจริยธรรมร้าย ให้ส่งศาลฎีกา พิจารณา และเมื่อศาลฎีการับคำร้อง นักการเมืองผู้นั้น ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่  หากศาลฎีกาพิพากษาว่ามีความผิดตามข้อกล่าวหา โทษคือเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10ปี ตัวอย่างกรณีนี้ เช่น ช่อ พรรณิการ์ วาณิช  ปารีณา ไกรคุปต์ และ กนกวรรณ วิลาวัลย์

 

แนวทางที่สองหาก ปปช.เห็นเป็นกรณีอื่น ( ไม่ร้ายแรง ) ด้วยมติเกินกึ่งหนึ่ง ให้ส่งอัยการสูงสุดพิจารณา เพื่อส่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดำเนินการต่อโดยต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เช่นเดียวกับกรณีแรก เมื่อศาลฎีกา ฯ รับคำร้องพิจารณา  หากศาลฎีกาฯ ตัดสินว่ามีความผิด ต้องพ้นตำแหน่งนับตั้งแต่วันที่หยุดปฏิปัติหน้าที่ โดยศาลฎีกาอาจเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี ด้วยก็ได้