ข่าว

'กู้เงิน' มาใช้ ในโครงการ 'เงินดิจิทัล' ระวังซ้ำรอย ยิ่งลักษณ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ย้อนเส้นทาง พ.ร.บ. 'กู้เงิน' 2 ล้านล้าน เปรียบเทียบโครงการ 'เงินดิจิทัล' สุดท้ายเศรษฐา อาจซ้ำรอย ยิ่งลักษณ์ ที่ศาลรัฐธรรมนูญ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2556 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกับคณะรัฐมนตรีขณะนั้น มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. …. ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา และต่อมาสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิวุฒิสภาได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว

 

แต่มีสมาชิกของทั้งสองสภาจำนวน 66 คน ร่วมกันเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ประธานรัฐสภาจึงได้มีหนังสือลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ส่งเรื่องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

12 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 3-4/2557 ว่าร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. …. ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 169 วรรค 1 และมาตรา 170 วรรค 2 เป็นสาระสำคัญมีผลให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ ตกไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรค 3

 

แนวคิดการออก พ.ร.บ.เงินกู้มาใช้ในโครงการเงินดิจิทัลแม้ ไม่เกินกรอบกฏหมายที่ขยายเพดานหนี้สาธารณะขึ้นไปถึง 70 % ของจีดีพี  แต่สาระสำคัญ พระราชบัญญัติ วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 53 วรรค 1 ระบุว่าการกู้เงินของรัฐบาลนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ

 

ให้กระทรวงการคลังกระทําได้ก็แต่โดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายที่ตราขึ้นเป็นการเฉพาะและเฉพาะกรณีที่มีความจําเป็นที่จะต้องดําเนินการโดยเร่งด่วนและอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ โดยไม่อาจตั้งงบประมาณ รายจ่ายประจําปีได้ทัน เท่านั้น

นโยบายเงินดิจิทัลของรัฐบาลนอกจากจะถูกนาย ศรีสุวรรณ จรรยา ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 140 หรือไม่ ทั้งที่เป็นเพียงแนวคิดแล้ว  ยังมี ป.ป.ช.ที่ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาเงินดิจิทัลเตรียมขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกระทรวง การคลัง และเมื่อร่างกฎหมายผ่านสภา อาจถูกสมาชิกเข้าชื่อกันยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ เช่นเดียวกับ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์

 

ขณะที่หลายฝ่ายมองว่าการดำเนินโครงการเงินดิจิทัลเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่นพ. พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี หัวเรือใหญ่ในเรื่องนี้ กลับไม่มองว่า หากร่าง พ.ร.บ.กู้เงินดิจิทัล ซ้ำรอย  พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะกลายเป็นจุดกำหนดเกมการเมือง เพราะได้เรียนรู้จากของเก่า มีบทเรียนที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร จึงต้องปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานต่างๆ ให้รอบคอบ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ