'โรคที่เกณฑ์ทหารไม่ได้' มีกี่โรค สภากลาโหม เคาะเพิ่มอีก 3 กลุ่ม
ชายไทยที่ต้อง เกณฑ์ทหาร รู้ไว้ 'โรคที่เกณฑ์ทหารไม่ได้' มีโรคอะไรบ้าง ล่าสุด สภากลาโหม เคาะเพิ่มอีก 3 กลุ่มโรค
ที่ประชุมสภากลาโหม รับทราบรายงานตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ การเสนอของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แต่งตั้งคณะกรรมการ 2 คณะ คือ คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เหล่าทัพ เป็นกรรมการ นอกจากนั้น ยังเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ. ออกตามความ ร่าง พ.ร.บ.การรับราชการทหาร พ.ศ.2497 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม 3 กลุ่ม “โรคที่เกณฑ์ทหารไม่ได้” จากเดิม 12 เป็น 15
พล.ร.ต.ธนิตพงศ์ สิริเศวตศักดิ์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการต่อต้านการก่อการร้ายสากล จะเป็นกลไกในการแก้ไขสถานการณ์การก่อการร้ายสากลในปัจจุบัน ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ให้กลับไปสู่สภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่จะเป็นกลไกหลัก ในการแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ
ส่วนคณะกรรมการชุดที่ 2 คือ คณะกรรมการพิจารณาปัญหาเขตแดนของประเทศไทย ซึ่งมีสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นประธาน มีผู้แทนเหล่าทัพเป็นกรรมการ เรื่องนี้ถือว่ามีความจำเป็น เพราะกรรมการมีอำนาจในการพิจารณาปัญหาที่มีผลกระทบต่อพื้นที่ชายแดน หรือปัญหาเขตแดนในเชิงยุทธศาสตร์ หรือระดับนโยบายอำนาจที่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมสภากลาโหม ยังเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ. ออกตามความ ร่าง พ.ร.บ.การรับราชการทหาร พ.ศ.2497 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม 3 กลุ่มโรค จากเดิม 12 เป็น 15 กลุ่มโรค คือ โรคตุ่มน้ำพอง, โรคลำไส้พองแต่กำเนิด และ โรคเอนไซม์เม็ดเลือดแดงผิดปกติ (G6PD) ทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ของทหารกองเกิน ที่จะเข้าเป็นทหารกองประจำการ
“โรคที่เกณฑ์ทหารไม่ได้”
- โรคหรือความผิดปกติของตา,
- โรคหรือความผิดปกติของหู
- โรคของหัวใจและหลอดเลือด,
- โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด,
- โรคของระบบหายใจ,
- โรคของระบบปัสสาวะ,
- โรคหรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ และ กล้ามเนื้อ
- โรคของต่อมไร้ท่อและภาวะผิดปกติของเมตาบอลิซึม,
- โรคทางประสาทวิทยา,
- โรคติดเชื้อ
- โรคทางจิตเวช,
- โรคอื่นๆ เช่น กะเทย, มะเร็ง, ตับอักเสบเรื้อรัง, ตับแข็ง, คนเผือก, โรคลูปัสอิธิมาโตซัส, กายแข็ง, รูปวิปริตต่างๆ
เพิ่ม 3 กลุ่มโรคที่เกณฑ์ทหารไม่ได้
- โรคตุ่มน้ำพอง
- โรคลำไส้พองแต่กำเนิด
- โรคเอนไซม์เม็ดเลือดแดงผิดปกติ (G6PD)