ข่าว

เปิดทำเนียบ 'ผู้นำฝ่ายค้าน' มีหน้าที่อะไร 'เงินเดือน' เท่าไร

เปิดทำเนียบ 'ผู้นำฝ่ายค้าน' มีหน้าที่อะไร 'เงินเดือน' เท่าไร

20 ธ.ค. 2566

เปิดทำเนียบ 10 'ผู้นำฝ่ายค้าน' ใน สภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่อะไร ที่เป็นมากกว่า ตรวจสอบรัฐบาล และ 'เงินเดือน' เท่าไร

นับจากมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง “ชัยธวัช ตุลาธน” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะหัวหน้าพรรค เป็น “ผู้นำฝ่ายค้าน” ในสภาผู้แทนราษฎร “ชัยธวัช” ถือเป็น ผู้นำฝ่ายค้าน คนที่ 10 ในทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นับตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน “ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร” มีหน้าที่อย่างไร และทำเนียบผู้นำฝ่ายค้าน ที่ผ่านมา มีใครบ้าง คมชัดลึก พาย้อนรอย “ผู้นำฝ่ายค้าน” ของประเทศไทย

 

“ผู้นำฝ่ายค้าน” มีหน้าที่อะไร

 

 

“ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร” ตามความหมายในมาตรา 106 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 คือ สส.ที่เป็นผู้นำของพรรคฝ่ายค้าน (พรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภา และรองประธานสภา) ในสภาผู้แทนราษฎรไทย โดยมีหน้าที่สำคัญ คือการเป็นหัวหน้าในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และสิ้นสุดเมื่อพ้นจากหัวหน้าพรรค และ/หรือ สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะครบวาระ หรือมีการยุบสภาก็ตาม

 

 

จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2560 จะพบว่า สส.ที่จะเป็นผู้นำฝ่ายค้านได้ ต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไข คือ เป็นหัวหน้าพรรคที่มี สส. มากที่สุด แต่พรรคนั้นต้องไม่มีรัฐมนตรี หรือประธาน หรือรองสภาผู้แทนราษฎร

                               ม.ร.ว.เสรีย์ ปราโมช ผู้นำฝ่ายค้านคนแรก

บทบาทผู้นำฝ่ายค้านที่มากกว่าตรวจสอบรัฐบาล

 

 

บทบาทปกติของผู้นำฝ่ายค้าน คือเป็นผู้นำของพรรคร่วมฝ่ายค้านทุกพรรคในการตรวจสอบรัฐบาล อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญ 2560 ยังให้บทบาทพิเศษกับผู้นำฝ่ายค้าน อีกถึงหลายประการ

 

  1. ผู้นำฝ่ายค้าน ขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภา (ประชุมลับ) เพื่อหารือร่วมกับ ครม. ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยหรือเศรษฐกิจของประเทศ (มาตรา 155)
  2. ผู้นำฝ่ายค้าน เป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วมเพื่อวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ใดเป็นกฎหมายปฏิรูป ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ หรือไม่ ในกรณีที่ ครม. และ สมาชิกรัฐสภา เห็นไม่ตรงกัน (มาตรา 270 วรรคสี่)
  3. ผู้นำฝ่ายค้าน เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ (มาตรา 203, มาตรา 217)

 

 

ทำเนียบ “ผู้นำฝ่ายค้าน” ในสภาผู้แทนราษฎรไทย

 

  1. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จากพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน ปี 2518 สิ้นสุดปี 2519 (ยุบสภา)
  2. พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร จากพรรคชาติไทย เริ่มดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านปี 2526 สิ้นสุดปี 2529 (ยุบสภา)
  3. พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ จากพรรคความหวังใหม่ เริ่มดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน ปี 2535 สิ้นสุดปี 2535 (ยุบสภา)
  4. บรรหาร ศิลปอาชา จากพรรคชาติไทย
  5. ชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์
  6. บัญญัติ บรรรทัดฐาน จากพรรคประชาธิปัตย์
  7. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์
  8. สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ จากพรรคเพื่อไทย
  9. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว จากพรรคเพื่อไทย
  10. ชัยธวัช ตุลาธน จากพรรคก้าวไกล

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

 

เงินเดือน ผู้นำฝ่ายค้าน

 

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท และได้รับเงินเพิ่มอีกเดือนละ 42,500 บาท รวมเป็นเดือนละ 115,740 บาท

 

 

 

ที่มา : วิกิพีเดีย, ILAW