‘พิธา’รอด ปมหุ้นไอทีวี ศาลรธน. ชี้ มิได้ประกอบกิจการสื่อแล้ว
‘พิธา’ รอดปมถือหุ้นบริษัทไอทีวี ศาลรธน. ชี้ไอทีวีไม่ได้ประกอบกิจการสื่อ และไม่มีรายได้จากกิจการสื่อแล้วแล้ว
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 24 ม.ค.67 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมหารือ ลงมติและออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย ในคดีที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพ สส. ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบกับมาตรา 98 (3) หรือไม่
จากกรณีถือหุ้นในบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ อยู่ในวันสมัครรับเลือกตั้ง สส.บัญชีรายชื่อ เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2566 โดยรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 98 (3) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2561 มาตรา 42 (3) กำหนดห้ามมิให้ผู้สมัคร สส. "เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ"
โดยนายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. มานานกว่า 6 เดือน นับจากวันที่ 19 ก.ค. 66 ซึ่งเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้รับคำร้อง “คดีถือหุ้นไอทีวี” ไว้พิจารณา และยังเป็นวันเดียวกับการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เป็นครั้งที่ 2 ด้วย
โดยศาลรัฐธรรมนวินิจฉัยว่า แม้การไต่สวนฟังได้ว่า บริษัทไอทีวีจัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการสถานทีโทรทัศน์ และสื่อโฆษณา แต่ตั้งแต่ปี 60-65 มีข้อมูลสอดคล้องกันว่า บริษัทไอทีวีหยุดดำเนินกิจการนับตั้งแต่ สปน. บอกเลิกสัญญา ทำให้สิทธิในคลื่นความถี่ของบริษัทไอทีวีกลับมาเป็นของสปน. และบริษัทไอทีวีไม่สามารถดำเนินกิจการได้อีกต่อไป รวมทั้งไอทีวีไม่ได้ฟ้องร้องให้คืนสิทธิคลื่นความถี่แต่อย่างใด
เห็นได้ว่าข้อพิพาทกรณีดังกล่าวหากท้ายที่สุดบริษัทไอทีวีชนะคดี ก็มิๆได้มีผลให้ได้รับคืนคลื่นความถี่และดำเนินกิจการได้อีก
ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่าไอทีวีไม่มีสิทธิประกอบโทรทัศน์ตั้งแต่วันที่ 7มี.ค.50 และการที่ยังคงสถานะนิติบุคคลไว้เพื่อดำเนินคดีที่ค้างศาลเท่านั้น นอกจากนี้ไม่มีรายได้จากงานสื่อ
บริษัทไอทีวีไม่ได้ประกอบกิจการเกี่ยวกับสื่อมวลชน ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ และสื่อโฆษณา ดังนั้น ณ วันที่ ผู้ถูกร้องสมัครรับเลือกตั้งสส. บริษัทไอทีวีมิได้ประกอบกิจการ นสพ.หรือสื่อมวลชน ทำให้ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งสส.
จึงวินัจฉัยว่า สมาชิกภาพ สส.ของผู้ถูกร้อง ไม่สิ้นสุดลง