ข่าว

กว่าจะมาเป็น “พรรคก้าวไกล” จนถึงวันที่ถูก “ยุบพรรค” ในขวบปีที่ 4

เปิด “ประวัติ” กว่าจะมาเป็น “พรรคก้าวไกล” กับมรสุมการเมืองของ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวขบวนเรียกร้องแก้กฎหมาย ม.112 จนถึงวันที่ถูก “ยุบพรรค” ในวัยเพียง 4 ขวบ

พรรคก้าวไกล จัดเป็นพรรคการเมืองอายุน้อยมาก เพิ่งเข้าขวบปีที่ 4 และเป็นพรรคขวัญใจคนรุ่นใหม่ เด็กวัยรุ่น วัยทำงานตอนต้น ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง แต่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็มีคำสั่ง ยุบพรรคก้าวไกลในวันที่ 7 ส.ค.2567 ด้วยเหตุแห่งการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ

คมชัดลึกออนไลน์ เปิดประวัติและที่มาของ พรรคก้าวไกล

 

  • 1พ.ค.2557 มีการจดทะเบียนก่อตั้งพรรค ใช้ชื่อ พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
  • ปี 2562 เปลี่ยนชื่อเป็น พรรคผึ้งหลวง
  • ปี 2563 เปลี่ยนชื่อเป็น พรรคก้าวไกล ชื่อย่อ ก.ก. ภายหลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่ของพรรคอนาคตใหม่ ย้ายมาสังกัด พรรคก้าวไกล
  • มี.ค.2563 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แถลงข่าวนำ ส.ส. 55 คนของอดีตพรรคอนาคตใหม่ เข้าสังกัดพรรคก้าวไกล โดยที่ประชุมได้เลือกให้พิธาเป็นรักษาการประธาน สส. และแต่งตั้ง นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นรักษาการโฆษกของกลุ่ม
  • ต่อมาที่ประชุมพรรคก้าวไกล มีมติเลือก นายพิธา เป็น หัวหน้าพรรค และเลือก นายชัยธวัช ตุลาธน อดีตรองเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ เป็น เลขาธิการพรรคคนใหม่
  • 19ก.ค.2566 ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยสมาชิกภาพ กรณีถือหุ้นไอทีวี ของนายพิธา และสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส.

 

  • 15 ก.ย. 2566 นายพิธา ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคก้าวไกล
  • 23 ก.ย.2566 พรรคก้าวไกล ประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยที่ประชุมมีมติเลือก นายชัยธวัช ตุลาธน เป็นหัวหน้าพรรคก้าวไกล คนใหม่ รวมทั้ง แต่งตั้ง นายอภิชาติ ศิริสุนทร เป็นเลขาธิการพรรคก้าวไกล และ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นโฆษกพรรคก้าวไกล
  • 7 ส.ค.2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ ยุบพรรคก้าวไกล และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ตามที่ กกต. ยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญ และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค กรณี นายพิธา หัวหน้าพรรคในขณะนั้น และพรรคก้าวไกล เสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข