ข่าว

ดิจิทัลวอลเล็ต กำลังเดินต่อ "วราวุธ" ย้ำ อย่าลืม! ต่ออายุบัตรคนพิการ

ดิจิทัลวอลเล็ต กำลังเดินต่อ "วราวุธ" ย้ำ อย่าลืม! ต่ออายุบัตรคนพิการ ตรวจสอบบัญชีธนาคาร เพื่อไม่ให้พลาดรับเงิน 10,000 บาท เช็กเลยเอกสารที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง

ภายหลัง ครม.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เตรียมแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 12-13 ก.ย. นี้  โดยโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 ถูกบรรจุในวาระแถลงนโยบาย ซึ่งนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ไทม์ไลน์แจกเงินดิจิทัล 10,000 เป็นหน้าที่ที่ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.กระทรวงการคลัง จะแจ้งอย่างเป็นทางการ

สำหรับกลุ่มเปราะบาง 14.5 ล้านคน เป็นกลุ่มแรกที่ได้รับเงินสด 10,000 บาท ในเดือนกันยายน 2567 แบ่งเป็นดังนี้ 

 

  • กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐบัตรคนจน จำนวน 13.5 ล้านราย
  • กลุ่มคนพิการ จำนวน 1 ล้านราย 

 

ล่าสุด นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้โพสต์ข้อความว่า Digital Wallet กำลังเดินต่อ ฝากย้ำกันอีกครั้ง สำหรับพี่น้องคนพิการ อย่าลืม!

 

 

  • ต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการ
  • ตรวจสอบบัญชีธนาคารเพื่อรับเบี้ย เพื่อไม่ให้พลาดรับเงิน 10,000 บาท จากโครงการ Digital Wallet
  • และเบี้ยความพิการ หรือความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ

 

ดิจิทัลวอลเล็ต กำลังเดินต่อ \"วราวุธ\" ย้ำ อย่าลืม! ต่ออายุบัตรคนพิการ

เอกสารที่ต้องเตรียม

 

 

  • บัตรประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
  • เอกสารรับรองความพิการ
  • บัตรประจำตัวคนพิการใบเดิม
  • หนังสือสำคัญแสดงการ
  • เปลี่ยนชื่อ - สกุล (ถ้ามี)


หากพบปัญหาหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบัตรประจำตัวคนพิการ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โทร. 02-3543388 หรือ สายด่วนพม. 1300 (บริการ 7 วัน 24 ชั่งโมง) 

 

เอกสารผู้ดูแลที่ต้องเตรียม

 

 

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - เปลี่ยนนามสกุล
  • บัตรคนพิการต่อล่วงหน้าได้
  • 30 วันก่อนหมดอายุ

 

เงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ


สิทธิประโยชน์

 

 

  • ช่วยเหลือคนพิการ ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน อยู่ตามลำพัง ไม่มีผู้ดูแล อุปการะ
  • ช่วยเหลือครอบครัวคนพิการที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ขาดแคลน ขัดสน ส่งผลกระทบต่อการดูแลคนพิการ
  • ให้ความช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ เครื่องอุปโภค บริโภค ครั้งละไม่เกิน 3,000 บาท/ครอบครัวและปีละไม่เกิน 3 ครั้ง.


 

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์