ข่าว

กรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาผลไม้อัตลักษณ์สู่การเชื่อมโยงส่งเสริมการเกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาผลไม้อัตลักษณ์สู่การเชื่อมโยงส่งเสริมการเกษตร

02 พ.ค. 2567

กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมให้เกษตรกร พัฒนาต่อยอดนวัตกรรม ภูมิปัญญา และความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านในการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปใหม่ ๆ ให้สามารถบริหารจัดการผลผลิตและจัดทำแผนการผลิตในพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ

กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมให้เกษตรกร พัฒนาต่อยอดนวัตกรรม ภูมิปัญญา และความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านในการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปใหม่ ๆ ให้สามารถบริหารจัดการผลผลิตและจัดทำแผนการผลิตในพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ 

 

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

 

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 ในพื้นที่ผลิตไม้ผลคุณภาพ 40 จังหวัด ครอบคลุมภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่การผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่มีศักยภาพของประเทศไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาผลผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน สามารถบริหารจัดการผลผลิตและจัดทำแผนการผลิตในพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ มุ่งเน้นให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรในพื้นที่ร่วมกันพัฒนาการเกษตร เศรษฐกิจและสังคมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งมีเรื่องราวแหล่งกำหนดสินค้า (Story) สามารถผลักดันและส่งเสริมให้ผลไม้อัตลักษณ์ที่หลากหลาย โดดเด่นในเรื่องรสชาติคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าไม้ผลอัตลักษณ์ได้อย่างยั่งยืน เป็นการช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มั่นคง สอดคล้องกับความเป็นอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี สามารถพัฒนายกระดับเพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI : Geographical Indications) 

 

กรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาผลไม้อัตลักษณ์สู่การเชื่อมโยงส่งเสริมการเกษตร

 

“ปัจจุบันมีผลไม้ที่กรมส่งเสริม การเกษตรดำเนินโครงการฯ และได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จำนวนไม่น้อยกว่า 28 ชนิด จาก 40 จังหวัด ที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ทุเรียนจันท์ จังหวัดจันทบุรี ขนุนหนองเหียง จังหวัดชลบุรี ลิ้นจี่แม่ใจ จังหวัดพะเยา ส้มแม่สิน จังหวัดสุโขทัย ส้มโอทับทิมสยาม จังหวัดนครศรีธรรมราช ทุเรียนสาลิกา จังหวัดพังงา ทุเรียนทะเลหอย จังหวัดกระบี่ เป็นต้น” รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

 

กรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาผลไม้อัตลักษณ์สู่การเชื่อมโยงส่งเสริมการเกษตร


สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่สำคัญของประเทศ มีไม้ผลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จำนวน 16 ชนิด ดังนี้ จังหวัดจันทบุรี ได้แก่ ทุเรียนจันท์, จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองบางคล้า มะพร้าวน้ำหอมบางคล้า, จังหวัดชลบุรี ได้แก่ สับปะรดศรีราชา ขนุนหนองเหียงชลบุรี, จังหวัดตราด ได้แก่ สับปะรดตราดสีทอง ทุเรียนชะนีเกาะช้าง, จังหวัดนครนายก ได้แก่ มะยงชิดนครนายก มะปรางหวานนครนายก, จังหวัดปราจีนบุรี ได้แก่ ทุเรียนปราจีน ส้มโอปราจีน, จังหวัดระยอง ได้แก่ สับปะรดทองระยอง ทุเรียนหมอนทองระยอง, จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้คุ้งบางกระเจ้า มะม่วงน้ำดอกไม้สมุทรปราการ และจังหวัดสระแก้ว ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว
 

กรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาผลไม้อัตลักษณ์สู่การเชื่อมโยงส่งเสริมการเกษตร

 

กรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาผลไม้อัตลักษณ์สู่การเชื่อมโยงส่งเสริมการเกษตร

 

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมกับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการใน 4 ชนิดสินค้าไม้ผลอัตลักษณ์ ได้แก่ มะม่วง น้ำดอกไม้สีทอง จังหวัดพิษณุโลก, ทุเรียนในวงระนอง จังหวัดระนอง, ทุเรียนจันท์ จังหวัดจันทบุรี และทุเรียน หมอนทองระยอง จังหวัดระยอง เพื่อนำผลการศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จนี้ไปใช้ในการพัฒนาการดำเนินงานโครงการและขยายผลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป

 

กรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาผลไม้อัตลักษณ์สู่การเชื่อมโยงส่งเสริมการเกษตร

 

กรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาผลไม้อัตลักษณ์สู่การเชื่อมโยงส่งเสริมการเกษตร

 

กรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาผลไม้อัตลักษณ์สู่การเชื่อมโยงส่งเสริมการเกษตร