ข่าว

กฟผ. จับมือ บีไอจี พัฒนาเทคโนโลยี เดินหน้าลดคาร์บอน มุ่งสู่ Net Zero Emission

กฟผ. จับมือ บีไอจี พัฒนาเทคโนโลยีจัดเก็บ และขนส่งไฮโดรเจน เพื่อผลิตไฟฟ้า เดินหน้าลดคาร์บอน เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero Emission

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บีไอจี ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ ศึกษาศักยภาพการจัดเก็บ และขนส่งไฮโดรเจน สำหรับโครงการ Hydrogen Blending Demonstration โรงไฟฟ้าของ กฟผ. 


 
นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. มุ่งเดินหน้าขับเคลื่อนพัฒนาเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้า เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงานของประเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน โดยมีแผนนำ ไฮโดรเจน มาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ร่วมกับก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคการผลิตไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม 

 

กฟผ. จับมือ บีไอจี พัฒนาเทคโนโลยีจัดเก็บ และขนส่งไฮโดรเจน
 

ความร่วมมือระหว่าง กฟผ. กับบีไอจี ในครั้งนี้ จะร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ และประเมินศักยภาพการจัดเก็บ และขนส่งไฮโดรเจนเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมในการผลิตไฟฟ้าในโครงการ Hydrogen Blending Demonstration กับโรงไฟฟ้าศักยภาพของ กฟผ. ทั้งในด้านวิศวกรรม การประเมินต้นทุนค่าใช้จ่าย วิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐศาสตร์ และเสนอรูปแบบการจัดเก็บและขนส่งเชิงธุรกิจที่เหมาะสม รวมถึงผลกระทบ ความเสี่ยง และมาตรการรองรับต่อผู้มีส่วนได้เสียในทุกมิติ


นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
 

ขณะที่ นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บีไอจี กล่าวว่า บริษัทแม่ของ บีไอจี จากประเทศสหรัฐอเมริกา มีความชำนาญและเป็นผู้ลงทุนโครงการ กรีนไฮโดรเจน รายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้สามารถตอบสนองแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ในการนำเอา ไฮโดรเจน มาใช้ผลิตไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทย  

 

นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บีไอจี

 

สำหรับ บีไอจี ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก 

 

(องค์การมหาชน) ว่า ปล่อยคาร์บอนลดลงร้อยละ 95 เทียบเท่าการผลิตบลูไฮโดรเจน ดังนั้นไฟฟ้าที่ได้ฃจากการนำไฮโดรเจน มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้านี้จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการผลักดันการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสีเขียวตอบโจทย์เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของประเทศในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี ค.ศ. 2065

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ