GSK ส่งเสริม “ความหลากหลายและความเท่าเทียม” ยกระดับวัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่
GSK ส่งเสริม “ความหลากหลายและความเท่าเทียม” ยกระดับวัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ คว้ารางวัลระดับโลก 2 ปีซ้อน ด้วยการคว้ารางวัลระดับโลก Top Global Employer 2023 ในระดับ Gold ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จาก Stonewall องค์กรระดับโลกเพื่อสิทธิของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQIA+
GSK ตอกย้ำการเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียมกัน พร้อมขับเคลื่อนองค์กรและสังคมให้เติบโตอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน ด้วยการคว้ารางวัลระดับโลก Top Global Employer 2023 ในระดับ Gold ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จาก Stonewall องค์กรระดับโลกเพื่อสิทธิของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQIA+ ด้วยนโยบายและสวัสดิการที่เน้นการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคน เพื่อให้สามารถเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกมีคุณค่า และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างแท้จริง
คุณมาเรีย คริสติช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลระดับโลกสำหรับองค์กรที่ส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียมกันถึง 2 ปีติดต่อกัน GSK ในฐานะบริษัท Biopharma เราให้ความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยยาและวัคซีนนวัตกรรมเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรภายใต้แนวคิด “Ahead Together” นำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ผสานกับองค์ความรู้ ตลอดจนความสามารถของพนักงาน เพื่อร่วมใจกันทุ่มเทพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพให้ก้าวล้ำนำโรคต่าง ๆ
“GSK มีวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในหลักการ “Do the Right Thing” แนวทางการดำเนินธุรกิจบนความถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วย นโยบาย DEI ที่ส่งเสริมความหลากหลาย (Diversity) ความเสมอภาค (Equity) และการมีส่วนร่วม (Inclusive) โดยเชื่อมั่นว่าวัฒนธรรมองค์กรที่ดี เริ่มต้นจากการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมและเคารพซึ่งกันและกัน สร้างสภาพแวดล้อมให้ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า สามารถแสดงความคิดเห็น ตลอดจนแสดงศักยภาพสูงสุด” คุณมาเรียกล่าว
คุณอุษณี อภิรัตน์ภิญโญ HR Country Head ของ GSK กล่าวเสริมว่า GSK ได้ริเริ่มและผลักดันเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมอย่างต่อเนื่องในหลายมิติ ทั้งในระดับ GSK Global โดยจัดตั้ง Global Council ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบไปด้วยผู้บริหารที่ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ รวมถึงผู้พิการ
สำหรับในประเทศไทย เราได้ร่วมกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย จัดตั้ง GSK Employee Resources Group (ERGs) กลุ่มพนักงานที่รวมตัวกันเพื่อสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านความหลากหลายและเท่าเทียมกันในระดับโลก อาทิเช่น โครงการส่งเสริมผู้นำหญิง (Women’s Leadership Initiative : WLI) และกลุ่ม Asian Embrace ส่งเสริมให้พนักงานเชื้อสายเอเชียมีส่วนร่วม โดยใช้ความสามารถ ประสบการณ์ และมุมมองที่หลากหลาย ขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ไม่เพียงแต่เท่านี้ เนื่องจากผู้บริหาร GSK ในประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญเรื่อง DEI จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการ DEI ประกอบด้วยตัวแทนพนักงานจากทุกแผนกและทุกระดับ ร่วมกันวางแผนกับผู้บริหารเพื่อให้พนักงานได้รับโอกาสและการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ เพื่อดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน GSK มีสวัสดิการที่เน้นการรักษาและป้องกันสุขภาพทั้งกายและใจครอบคลุมถึงคู่สมรสที่มีความหลากหลายทางเพศ อีกทั้งในปี 2567 นี้ GSK ได้เพิ่มสิทธิวันลาให้กับคุณพ่อเพื่อช่วยดูแลบุตรหลังภรรยาคลอดเป็นระยะเวลา 126 วันเท่าเทียมกับคุณแม่ และยังได้รับเงินเดือนตามปกติ รวมถึงอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่ใดก็ได้ 2 วันต่อสัปดาห์ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานอีกด้วย และเนื่องในเดือนมิถุนายน เป็นช่วง Pride Month เดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายและเท่าเทียม GSK ได้จัดกิจกรรม “Beauty of Different Generation ความสวยงามของคนต่าง Gen” เพื่อสร้างความเข้าใจ เรียนรู้ จุดแข็งและประสบการณ์ของคนในแต่ละช่วงวัย ผ่านการทำ Appreciation Box เขียนขอบคุณหรือชื่นชม และการจัด Panel Discussion แลกเปลี่ยนมุมมองทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น
“GSK ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เปิดกว้างต่อความหลากหลายทางความคิดโดยปราศจากอคติ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมยาและวัคซีนใหม่ ๆ ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพผู้ป่วยทั่วโลกให้ดีขึ้น อีกทั้งเป็นการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถโดดเด่น ให้เติบโตและประสบความสำเร็จไปด้วยกันอย่างยั่งยืน” คุณมาเรียกล่าวสรุป
ทั้งนี้ รางวัล Top Global Employer จาก Stonewall ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกด้านสิทธิ LGBTQIA+ ถือเป็นดัชนีชี้วัดสำคัญสำหรับองค์กรที่มุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในสถานที่ทำงาน (Stonewall Global Workplace Equality Index)