ข่าว

การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ฟื้นฟู ความสมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิต

การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ฟื้นฟู ความสมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิตด้วยแนวคิดการปรับเปลี่ยน (Zoning by Agri-map) จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอนุรักษ์ดินและน้ำ ควบคู่กับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืน

ดินและน้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานสำคัญ ที่อำนวยประโยชน์ในการดำรงชีวิตให้แก่มนุษย์ เป็นปัจจัยหลักในการผลิตทางการเกษตร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอนุรักษ์ดินและน้ำ ควบคู่กับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืน

 

การอนุรักษ์ดินและน้ำ คือการระวังรักษาและป้องกันดินไม่ให้ถูกชะล้างและพัดพาไป ตลอดจนการปรับปรุงดินให้คงความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการรักษาน้ำในดินและบนผิวดินให้คงอยู่ เพื่อรักษาสมดุลทางทางธรรมชาติให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์ดินละที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน 

 

การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ฟื้นฟู ความสมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิตด้วยแนวคิดการปรับเปลี่ยน (Zoning by Agri-map)

 

 

จากนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดำเนินการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก หรือ Zoning by Agri-Map มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม เป็นการผลิตที่เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ตลาดและตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ฟื้นฟู ความสมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิตด้วยแนวคิดการปรับเปลี่ยน (Zoning by Agri-map)

 

 

จังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่การเกษตรทั้งหมดประมาณ 4.5 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ราว 3.2 ล้านไร่ และในพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกข้าวในพื้นที่ที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสมในการปลูกข้าวอยู่ประมาณ 1.28 ล้านไร่ หรือประมาณ 40% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด สถานีพัฒนาที่ดินบุรีรัมย์ โดยกรมพัฒนาที่ดิน สนับสนุนเกษตรกรในการปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการผลิตทางการเกษตรในทุกด้าน โดยเน้นให้เกษตรกรจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำและการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้ดินมีคุณภาพนำไปสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมอย่างยั่งยืน

 

 

 

ชัยชนะ สีละมุน เกษตรกร อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน

 

 

ชัยชนะ สีละมุน เกษตรกร อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ปรับเปลี่ยนแนวความคิดจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยเริ่มจากการขุดบ่อน้ำต้นทุนในแปลงเกษตร เพื่อใช้ในฤดูแล้ง การใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ โดยใช้นวัตกรรมต่างๆ และองค์ความรู้ที่ได้รับจากการทำหน้าที่หมอดินอาสา มุ่งเน้นการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี และยึดแนวทางการทำการเกษตรแบบผสมผสาน พัฒนศักยภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีความยั่งยืน  

 

 

 

 

 

 

 

 

การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ฟื้นฟู ความสมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิตด้วยแนวคิดการปรับเปลี่ยน (Zoning by Agri-map)

 

 

จากการเข้าร่วมโครงการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri-Map จำนวน 10 ไร่ ซึ่งเห็นว่าทำการเกษตรเชิงเดี่ยวโดยปลูกข้าวนาปี และอาศัยน้ำฝน สามารถผลิตได้พียงปีละ 1 ครั้ง ในระยะเวลาหลายปีประสบปัญหา ดินในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ต่ำ และขาดแคลนแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อทำการเกษตร ส่งผลให้การทำการเกษตรมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รายได้ลดลงโดยเฉพาะราคาปุ๋ยเคมีที่เพิ่มสูงขึ้น คุณภาพของผลผลิตลดต่ำลง 

 

 

การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ฟื้นฟู ความสมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิตด้วยแนวคิดการปรับเปลี่ยน (Zoning by Agri-map)

 

 

จึงมีแนวคิดจะเปลี่ยนแปลงวิถีการทำการเกษตร ทำให้สามารถสร้างรายได้มากขึ้น สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เน้นการทำเป็นต้นแบบของชุมชน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเป็นเกษตรกรตัวอย่างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกิดจิตสำนึกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรในชุมชน ที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างเหมาะสม และนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณคุณภาพของผลผลิต ผลิตสินค้าที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม ต้นทุน และประโยชน์ของพืชที่เกื้อหนุนกันเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 

 

 

ความภาคภูมิใจในการแก้ไขปัญหาดินและการก้าวผ่านปัญหาต่างๆ ที่ได้น้อมนำคำสอนของพ่อหลวงมาใช้ส่งผลให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น พอมี พออยู่ พอกิน พอใช้ เป็นบททดสอบความมุ่งมั่น ความอดทนที่จะทำงานให้สำเร็จลุร่วงมาได้จนถึงทุกวันนี้ เป็นความภูมิใจที่ได้ทำในแผ่นดินบ้านเกิดของตนเอง สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนชนบท มีความพอเพียง การเรียนรู้และการพัฒนาในตัวบุคคลจนทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนที่จะสานต่อความเป็นเกษตรพอเพียงตลอดไป
 

 

 

 

 

 

ข่าวยอดนิยม