ข่าว

ป้องกันเด็กจากความรุนแรง  "อย่าธุระไม่ใช่"

ป้องกันเด็กจากความรุนแรง "อย่าธุระไม่ใช่"

16 มิ.ย. 2560

"ครูยุ่น" แนะช่วยกันเป็นหูเป็นตา ดูแลเด็กถูกใช้ความรุนแรง ชี้ปัญหาอยู่ที่ช่วยไม่ทัน แนะรัฐเร่งจัดทำยุทธศาสตร์ถึงระดับพื้นที่

          16 มิ.ย. 2560 - นายมนตรี สินทวิชัย หรือ "ครูยุ่น"  เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก จ.สมุทรสงคราม ให้สัมภาษณ์รายการกรองข่าวเช้านี้ ทางสถานีวิทยุ FM102  ถึงปัญหาความรุนแรงในเด็กและครอบครัว ว่า สังคมไทยเกิดเรื่องเหล่านี้มาต่อเนื่องยาวนาน  บางช่วงอาจจะมากแต่หากดูดีๆ ช่วงหลังจะพบว่าวิธีการที่ทำร้ายลูกหลานจะเหี้ยมและค่อนข้างอำมหิตโดยวิธีการต่างๆ ปนกันทั้งการทรมานและทำร้าย  มีการอำพราง  

          ที่ระบุว่าเป็นการทำร้ายภายใต้คามหวังดี นายมนตรีระบุว่า   เรื่องนี้ขัดกัน ไม่มีหรอกการทำร้ายโดยความหวังดี อะไรที่เป็นเรื่องการทำร้ายก็ต้องการให้เจ็บปวด ต้องการให้ทุกข์ทรมาน เหมือนกับว่าคนทำได้สะใจ ทำให้รู้สึกว่ แสดงความก้าวร้าวจนหมด จนตัวเองอารมณ์ลดลงจึงจะจบ  มันไม่ใช่ความหวังดี ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าเวลาเด็กร้องด้วยความเจ็บปวดไม่ใช่เรื่องที่จะมาอ้างว่าทำไปด้วยการสั่งสอน เป็นข้ออ้างทั้งนั้น บางทีทำโทษเป็นชั่วโมงไม่ได้สอนสักคำมีแต่ด่า 
 
          ส่วนที่มีความรุนแรงมากขึ้น นายมนตรีมองว่า   วิธีการบางทีมีการมองเด็กเป็นคนอื่นมากขึ้น แม้จะเป็นลูกหลานในบ้านแต่เมื่อมีปมเกิดขึ้น กลายเป็นมองเหมือนไม่ใช่คนในครอบครัว แต่เวลาเด็กตายไปแล้ว ทำร้ายไปแล้วก็บอกทำด้วยความหวังดี บันดาลโทสะ  หากย้อนไปดู แต่ละเรื่องไม่ใช้่เรื่องเพิ่งเกิดวันสองวัน มันมีเวลาทำร้ายที่ต่อเนื่องมา หากเราไปดูส่วนใหญ่แล้ว คนข้างบ้านจะได้ยินเสียงร้องอยู่ น้อยมากที่จะเงียบกริบที่ไม่เคยเห็นระแคะระคาย  แต่หากเราดูหลังๆจะพบว่าเสียชีวิตหลายคน  จึงพอจะพูดได้ว่าการเข้าถึงการช่วยเหลือก่อนจะเสียชีวิต มันไม่ถึง เขาควรจะเข้าถึงการช่วยเหลือ ต้องพิจารณาว่าทำไมไม่ถึง กลไกที่จะช่วยเหลือมีหรือไม่ อย่างน้อยที่สุดถ้าเด็กแจ้งไม่ได้เพื่อนบ้านแจ้งได้ไหม
 
          เมื่อถามว่าคนทำร้ายมักบอกว่าอย่ามายุ่งเรื่องในครอบครัว  นายมนตรีกล่าวว่า ทัศนะตรงนี้ต้องปรับ เด็กจริงๆเป็นของส่วนรวมไม่ใช่เฉพาะของพ่อแม่  อะไรที่เกินเลยเรื่องการสั่งสอน รัฐต้องเข้าไปดูแลตามกฎหมาย  รัฐต้องคุ้มครอง

ป้องกันเด็กจากความรุนแรง  \"อย่าธุระไม่ใช่\"

          "เด็กเป็นประชากรที่ต้องได้รับความคุ้มครอง  กฎหมายเขียนชัดแต่กลไกไม่เกิดหรือเกิดน้อยกว่าปัญหาที่วิ่งไป  หากเขาเข้าถึงการช่วยเหลือเขาอาจไม่เสียชีวิต   เพราะหากเขาถูกยับยั้งระงับโดยกฎหมายบ้างเขาก็จะตระหนักขึ้นว่าทำไม่ได้"นายมนตรีกล่าว 
 
          ส่วนวิธีการช่วยเหลือควรทำอย่างไร หรือแจ้งใคร "ครูยุ่น" ระบุว่า   ในกฎหมายมีถึงระดับจังหวัดมีคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก มีศูนย์ต่างๆทีเกิดขึ้นหรือตำรวจ แต่เราต้องคิดว่าเป็นเรื่องที่เราต้องกู้ชีวิต  อาจไม่ถึงดำเนินคดีได้ แต่ก็มีกฎหมายคุ้มครองเด็ก มีมารตรการจัดการ แต่บางที่เราคิดว่าเมื่อเกิดขึ้นก็จับคนทำความผิด แต่นั่นไม่ใช่ประโยชน์สูงสุดของผู้เป็นเหยื่อ อยากให้เร็วกว่านั้น หากไปถึงท้องถิ่นได้ยิ่งดี อย่างน้อยสุดเข้าไปแทรกแซง  ดูแลเฝ้ามอง ถ้าทำวันนี้เลยช่วยได้แน่
 
          เมื่อถามว่า ข้างบ้านหรือคนที่เห็นควรมีลักษณะแค่ไหน โดนทำร้ายแค่ไหนที่ควรเข้าไปช่วย  นายมนตรีกล่าวว่า เสียงที่เด็กร้องเราแยกได้ ว่าเด็กอายุ 10-11 ขวบ เวลาร้องด้วยความเจ็บปวด เราฟังรู้ หรือร้องไห้ด้วยการอ้อนพ่อแม่เราแยกออก และโดยมากไม่ใช่แค่เสียงร้องมันมีเสียงอื่นประกอบเช่นทุบตีหรือด่าทอแรงๆ ส่วนตัว แค่ด่าทอแรงก็ต้องแจ้งแล้ว    
 
          "หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เขามีมาตรการเชิงรุกในการแก้ปัญหาแต่ผมว่าไม่พอกับปัญหาที่เกิดเขึ้น ทำอย่างไรเราจะเพิ่มกลไกในระดับจังหวัด จริงๆเด็กที่กำลังถูกทำร้ายหรือถูกเลี้ยงดูไม่เหมาะสมต้องได้รับความคุ้มครอง ไม่จำเป็นต้องโดนทุบจนต้องเข้าโรงพยาบาล แค่เลี้ยงดูไม่เหมาะสม ปล่อยปละละเลย หรือที่ในกฎหมายใช้ว่าเลี้ยงโดยไม่ได้มาตรฐานก็แทรกแซงได้แล้ว"นายมนตรีกล่าว 
 
          ส่วนปัจจัยที่ทำให้ทำร้ายเด็กและทรมานเด็กคืออะไร   "ผมว่าภาวะของพ่อแม่ บางคนก็ถูกเลี้ยงดูมาไม่เหมาะสม มามีลูกก็ไม่ได้รับการคลี่คลายมาทางที่ดีขึ้น เขาคิดว่าเป็นวิธีการเลี้ยงดูที่น่าจะได้ผล ใช้ความรุนแรงเข้าไปให้เด็กมีพฤติกรรมที่ตัวอยากให้เป็น ไม่เคารพตัวตนเขาเลย ให้มีหน้าที่ทำตามอย่างเดียว หรือบุคลกกในการพูดก็อยากให้พูดในสิ่งที่อยากฟังเท่านั้น มันก็ลำบาก มีเยอะที่ใช้วิธีนี้" นายมนตรีระบุ

          นายมนตรีกล่าวอีกว่า เราจะทำอย่างไรที่เด็กซึ่งเป็นเหยื่อไม่เสียหายสูงสุด และจะได้รับการช่วยเหลือ  ถึงเวลาต้องที่รีบทำยุทธศาสตร์  หากเจ้าหน้าที่ไม่พอก็ให้ประสานกับ สอสม. ให้ช่วยดูแลรีบแจ้ง ประสานการเมืองท้องถิ่นให้ช่วยเป็นหูเป็นตาม ช่วยเร็วเท่าไหร่เด็กก็จะถูกดูแลเท่านั้น   หากรอถึงเข้าโรงพยาบาลหรือหายตัวไป ถึงเราจะจับติดคุกก็ไม่ได้ประโสยชน์สูงสุดของเด็กที่เป็นเหยื่อ "

          เมื่อถามว่าสำหรับตัวเด็กเองควรทำอย่างไร นายมนตรีระบุว่า   จริๆงเราที่รู้จักมากที่สุดคือตำรวจ เดินเข้าไปหาตำรวจก็ยังดี ดีกว่าที่ไม่มีเลย แต่อย่างน้อยที่สุดหากทำเลยขึ้นไป เด็กควรเดินเข้าไปหาหน่วยงานหรือในโรงเรียน  ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้มีแผนกแนะแนวให้ได้มาตรฐาน ไม่ใช่เรื่องเรียนต่อ เขาจะมีเรื่องรักษาความลับหาทางช่วยเหลือในกรณีที่เกิดปัญหา  มันเป็นเรื่องใหญ่ บางที่เราพูดกันยเมื่อเป็นเรื่องครั้งหนึ่ง เมื่อจางหายก็รอเรื่องใหม่เกิดขึ้น   สองสามเรื่องหลังๆ  มันชัดเจนว่ากลไกช่วยเหลือมันไม่มี มันไม่ใช่ บางทีเป็นเดือนแล้ว 

ป้องกันเด็กจากความรุนแรง  \"อย่าธุระไม่ใช่\"

          "สงครามในบ้านเด็กไม่มีทางสู้ รออย่างเดียวว่าจะช้ำเท่าไหร่ ในเมื่อไม่มีทางสู้ต้องมีคนเข้าไปช่วย" นายมนตรีกล่าว

----

คลิกฟังฉบับเต็มที่นี่ http://www.nationradio.co.th/program/details/69780