ข่าว

"สกัดอหิวาต์"ปศุสัตว์ห้ามนำเข้าหมูลาว

"สกัดอหิวาต์"ปศุสัตว์ห้ามนำเข้าหมูลาว

22 มิ.ย. 2562

ด่วน ! กรมปศุสัตว์ห้ามนำเข้าสุกร หมูป่า ซากสุกร ซากหมูป่า จากลาว ใน 90 วัน คุมโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาสุกร หลังลามหนักในลาวกว่า 7 จุดสุกรป่วยตายเกือบสองพันตัว

 

22 มิถุนายน 2562 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าได้ออกประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องชะลอการนำเข้า หรือนำผ่าน ราชอาณาจักร ซึ่งสุกร หมูป่า หรือซากสุกร ซากหมูป่า จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ.2562  

 

\"สกัดอหิวาต์\"ปศุสัตว์ห้ามนำเข้าหมูลาว

 

ด้วยองค์การสุขภาพสัตว์โลก(โอไออี.) ได้รายงานสภานการณ์โรคการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร ในหมู่บ้าน ณ แขวงสาละวัน สปป.ลาว ซึ่งโรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าวสามารถแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางได้ โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย หรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค หรือซากของสัตว์ซึ่งป่วยหรือตายโดยโรคระบาดดังกล่าวไปยังพื้นที่ต่างๆ

 

เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าวมีโอกาส แพร่กระจายเข้ามาในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อกระทบต่ออุตสาหกรรมการการเลี้ยงดูสุกร และหมูป่าในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา6 ประกอบมาตรา33แห่ง พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ ที่มีแหล่งกำเนิดจากสปป.ลาว ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับใช้เป็นเวลา90วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกบา ประกาศณ วันที่21มิ.ย.2562

 

\"สกัดอหิวาต์\"ปศุสัตว์ห้ามนำเข้าหมูลาว

นายสัตวแพท์สรวิศ กล่าวว่าประกาศโรคASFครั้งแรกในสปป.ลาว โดยข้อสั่งการ เนื่องจากความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ขอให้ทุกจังหวัดในเขต3 4 5 เฝ้าระวังอย่างสูงสุด เข้มข้นที่สุด โดยนำเอาคำแนะนำที่แจ้งในการปฏิบัติงาน อย่างเคร่งครัด และมีการรายงานตามระบบอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และขอให้นำเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและกรมการจังหวัดในวันประชุมประจำเดือนด้วย

 

“โอไออี ประกาศการเกิดโรค ASF ระบาดในประเทศลาว ซึ่งเป็นการระบาดในประเทศครั้งแรก โดยพบการระบาด 7 เคส ที่จังหวัดสาละวัน เป็นฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดฟาร์มเลี้ยงสุกรน้อยสุด จำนวน 80 กว่าตัว และขนาดฟาร์มที่มีการเลี้ยงใหญ๋สุดตอนนี้ประมาณ 400 ตัว ในขณะที่ประกาศนี้ พบการป่วยและการตาย จำนวนอย่างละเท่าๆ กันทุกฟาร์ม คือ จำนวนหมูในฟาร์มที่พบจะเป็นจำนวนหมูป่วยครึ่งหนึ่ง และตายครึ่งหนึ่ง จุดเกิดเหตุที่เกิดการระบาดในครั้งนี้ นับระยะทางห่างจากชายแดนจังหวัดอุบลราชธานีเพียง 170 กิโลเมตร ทำให้เกิดความน่าเป็นห่วงกับพื้นที่การเลี้ยงสุกรในภาคอีสาน วันนี้ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือร่วมใจกันผนึกกำลังเฝ้าระวังป้องกันโรคระบาดอย่างเข้มงวด”อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว

 

\"สกัดอหิวาต์\"ปศุสัตว์ห้ามนำเข้าหมูลาว

 

ทั้งนี้ล่าสุดสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร( ASF)ลาว ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2562 โดย OIE ประกาศการเกิด ASF ในประเทศลาว (ซึ่งเป็นการระบาดในประเทศครั้งแรก) จำนวน 7 เคส ใน

1)ตำบล Samakkhixay อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 394 ตัว ป่วย 194 ตัว ตาย 194 ตัว
2)ตำบล DineDak อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 398 ตัว ป่วย 194 ตัว ตาย 194 ตัว
3)ตำบล Phonengam อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 95 ตัว ป่วย 36 ตัว ตาย 36 ตัว
4)ตำบล Kaenghang
อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 82 ตัว ป่วย 34 ตัว ตาย 34 ตัว
5)ตำบล Nalachang อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 111 ตัว ป่วย 81 ตัว ตาย 81 ตัว
6)ตำบล Houava
อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 323 ตัว ป่วย 59 ตัว ตาย 59 ตัว
7)ตำบล Nahong Gnai อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 788 ตัว ป่วย 375 ตัว ตาย 375 ตัว

 

\"สกัดอหิวาต์\"ปศุสัตว์ห้ามนำเข้าหมูลาว