ว่อนโซเชียล ปอกเปลือกผู้พิพากษาโยงฝ่ายการเมือง
แชร์ว่อนโซเชียล ปอกเปลือกผู้พิพากษายิงตัวเองประท้วงในห้องพิจารณาคดี โยงชัดฝ่ายการเมือง ชี้ทวงความยุติธรรม หรือจุดชนวนขัดแย้งกันแน่
จากกรณีผู้พิพากษายะลาใช้อาวุธปืนยิงตัวเองได้รับบาดเจ็บ หลังลงจากบัลลังก์พิจารณาคดีความมั่นคง จนทำเอาโลกโซเชียลแตกตื่น พร้อมกับตั้งคำถามถึงที่มาที่ไปของสาเหตุในการก่อเหตุดังกล่าว (อ่านข่าว ผู้พิพากษายะลา ยิงตัวเองปลอดภัยแล้ว เหตุเครียดส่วนตัว)
ล่าสุดได้มีคนโพสต์ตั้งข้อสังเกตถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุข้อความว่า.. ช็อค! ซ้อน ช็อค! ทวงความยุติธรรม? หรือ จุดชนวนขัดแย้งการเมือง? #ปอกเปลือก ผู้พิพากษายิงตัวเองประท้วง ประกาศตนชัดเจน สนับสนุนอนาคตใหม่ และเสื้อแดง
1. ช็อคทั้งประเทศ กับ live สด ยิงตัวเองเพื่อ "ทวงความยุติธรรม" ของผู้พิพากษาในจังหวัดยะลา แบบ "เจตนา" กลายเป็น "ผู้กล้า" เมื่อร่อนแถลงการณ์ระบุว่า มีใบสั่งให้ตัดสินคดีของตนจากผู้มีอำนาจในกระบวนการตุลาการ
2. เกิดเป็นกระแสใหญ่โตไปทั้งประเทศ เมื่อโซเซียลมีเดียฝ่าย "ไม่เชียร์ลุง" กระหน่ำแชร์เรื่องนี้ตอกย้ำวาทกรรม "ศาลสั่งได้" ของพรรคการเมืองบางพรรค
3. แต่ไม่ทันข้ามวันก็ปรากฏหลักฐานเบื้องลึกเบื้องหลังของผู้พิพากษาท่านนี้ที่น่าสนใจยิ่ง
4. ก่อนเกิดเหตุ ผู้พิพากษาเข้าไปร่วม comment ในโพสต์ fb ที่โพสต์ "ถ้าธนาธร Endgame ต้องติดคุก?" โดยแสดงความเห็นว่า "ผมจะทำ ช่วยอีกแรงครับ"
5. ก่อนเกิดเหตุ ผู้พิพากษาเข้าไปแสดงความเห็น ใน fb ของผู้ใช้ "เพชร เอกมงคล(ราม)" โดยแสดงความเห็นว่า "รอดู Live ของผมนะ" ซึ่ง "เพชร เอกมงคล(ราม)" นี้ระบุตัวเองชัดเจนว่า "ทำงานกับพี่น้องเสื้อแดง"
6. ก่อนเกิดเหตุ ผู้พิพากษาเข้าไปอัพโหลดโฟล์ pdf "คำแถลงการณ์" จำนวน 25 หน้า ที่กลุ่ม พรรคอนาคตใหม่ Future Forword Party (แนวร่วม) ซึ่งในคำแถลงการณ์นั้นเปิดเผยสำนวนคำพิพากษา(บางส่วน)อยู่ด้วย
7. ก่อนหน้านี้ใน fb.ของผู้พิพากษา ยังมีการแชร์ข่าวและข้อมูลของสื่อฝ่ายเสื้อแดงและการเคลื่อนไหวของพรรคอนาคตใหม่อยู่ตลอด เช่น
27 ส.ค.2562 แชร์โพสต์จากเพจพรรคอนาคตใหม่ "การตายของอับดุลเลาะกับกระบวนการยุติธรรมที่รัฐต้องตอบ"
28 ส.ค.2562 แชร์ข่าว VoiceTV วิธีทรมานผู้ถูกควบคุมตัวใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
8 ก.ย.2562 แชร์ข่าว VoiceTV "เมียอับดุลเลาะลุยร้อง UN.ถูกทหารซ้อม" เปิดภาพซ้อมทรมานก่อนสมองตายในค่ายทหาร
8. ผู้พิพากษา มีข้อห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวทางการเมืองตามคุณสมบัติ ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ข้อ 34
ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง และจักต้องไม่เข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการในการสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใดๆในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาหรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใด ทั้งไม่พึงกระทำการใดๆอันเป็นการฝักใฝ่พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใดนอกจากการใช้สิทธิเลือกตั้ง
9. ผู้พิพากษาคนดังกล่าว กลับปรากฏหลักฐานว่า เคลื่อนไหวทางการเมืองกับคนเสื้อแดง และพรรคอนาคตใหม่มาตลอด
10. จึงน่าสนใจยิ่งว่า ความคิดเห็นทางการเมืองของตัวผู้พิพากษาเอง (ที่รับชุดความคิดของพรรคอนาคตใหม่เรื่อง 3 จังหวัดชายแดนใต้อยู่แล้ว) จะมีผลต่อคำตัดสินในคดีที่มีนัยและผลกระทบทางการเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ หรือไม่?
11. เป็นไปได้ที่อาจมี "ความบกพร่อง" ในกระบวนการยุติธรรม เพราะผู้พิพากษาแต่ละท่านก็เป็นคน และกระบวนการก็เป็นระบบราชการแบบหนึ่ง ความขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่ลงรอยกันในองค์กร ย่อมปรากฏมีเป็นธรรมดา
12. แต่การยิงตัวเองประท้วงแบบไม่หวังตาย อาจแปลงความขัดแย้งภายในองค์กรเพื่อมุ่งหวังผลทางการเมืองจากการขยายผลของเครือข่ายพรรคอนาคตใหม่เพื่อก่อกระแสและตอกย้ำภาพทางลบต่อสถาบันตุลาการหรือไม่? หรือเป็นการทวงความเป็นธรรมจริงตามที่กล่าวอ้างในคำแถลงฯ?
เรื่องนี้หลักฐานอื่นๆที่จะทยอยปรากฏออกมาจะเป็นสิ่งพิสูจน์
ข้อ 14 เขียนว่า การรายงานอธิบดีเพื่อรักษาบรรทัดฐาน และดุลพินิจของศาลให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
อ่านข่าว
อ.ปรเมศวร์ เบรกอย่ารีบวิจารณ์ ผู้พิพากษายิงตัว หวั่นโอละพ่อ