ข่าว

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

11 ต.ค. 2562

ศาลแรงงานพิพากษาให้มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลฯ จ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยให้ครูอัสสัมชัญเกษียณ 10 ราย - เงินบำนาญพร้อมดอกเบี้ยให้ครูเกษียณอัสสัมชัญ 4 ราย

 

               ครูมีสิทธิ์ ศิษย์มีครู เผยแพร่ ประมวลคดีพิพาทระหว่างมูลนิธิเซ็นคาเบรียล โรงเรียนอัสสัมชัญ และครู โดยศาลแรงงานได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 ว่า

 

 

 

               มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เป็นนายจ้างของครูโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม และให้มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ครูอัสสัมชัญที่เกษียณอายุมาร่วมสิบปี ทั้งสิบท่าน พร้อมดอกเบี้ย และให้ร่วมกับโรงเรียนอัสสัมชัญทั้งสองแผนก จ่ายเงินบำนาญให้แก่ครูเกษียณอัสสัมชัญ ทั้งสี่ท่าน พร้อมดอกเบี้ย ภายใน 15 วัน

              เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมาศาลแรงงานได้อ่านคำพิพากษากรณี ผู้บริหารมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยและโรงเรียนอัสสัมชัญ ไม่จ่ายค่าชดเชย และเงินบำนาญให้กับครูโรงเรียนอัสสัมชัญที่เกษียณมาร่วมสิบปี โตยมีคำสั่งให้มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยในฐานะผู้รับใบอนุญาตสถานศึกษาและเป็นนายจงจ่ายคืนค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน และเงินบำนาญตามสัญญาจ้าง พร้อมดอกเบี้ยแก่ครูเกษียณโรงเรียนอัสสัมชัญ ภายใน 15 วัน"

        ด้านนายนที สิทธิประศาสน์ ประธานกลุ่มครูมีสิทธิ์ ศิษย์มีครู และยังเป็นศิษย์เก่าอัสสัมชัญ รุ่น AC 94 กล่าวว่า เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้มีข่าวความเดือดร้อนของครูเกษียณโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยและเป็นโรงเรียนประถมและมัธยมนักเรียนชายล้วนที่มีอายุกว่า 134 ปี และเป็นที่ทราบกันดีถึงเศรษฐานะของมูลนิธิว่าอยู่ในฐานะค่อนข้างดีจากเงินบริจาคแรกเข้าเพื่อการศึกษาที่เป็นที่รับรู้ของสังคมว่าต้องบริจาคราคาค่อนข้างสูง เพื่อให้ลูกหลานได้เข้ามาเล่าเรียน
      แต่กลับปรากฏ สภาพความเดือดร้อน ความลำบากในการยังชีพของครูเกษียณโรงเรียนอัสสัมชัญที่ถูกเปิดเผยโดยกลุ่มศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญว่า ครูเกษียณอัสสัมชัญหลายท่านใช้ชีวิตยามชรภาพอย่างยากลำบากขันแค้น ซึ่งเมื่อได้มีการศึกษาถึงต้นเหตุของความยากจนของครเกษียณจากโรงเรียนที่มีเศรษฐานะในสังคมดีแล้วกลับพบว่าครูเกษียณหล่านี้ถูกละเมิดสิทธิทางแรงงาน อันได้แก่ ถูกบังคับให้เขียนหนังสือลาออกเมื่อเกษียณอายุ ส่งผลให้ไม่ได้รับคำชดเชย หรือเงินสิบเดือน ตามกฎหมายแรงงานและไม่ได้รับเงินบำนาญตามสัญญาจ้างซึ่งเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ผู้บริหารมูลนิธิสัญญาว่าจะให้แต่กลับมายกเลิกโดยไม่ได้รับความยินยอมจากครูในฐานะลูกจ้างความไม่เป็นธรรมที่ครูเกษียณโรงเรียนอัสสัมชัญได้รับนั้น เกินกว่าที่ ศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญจะรับได้ จึงได้มีการหาแนวทางช่วยเหลือครูเกษียณผ่านงานการกุศลต่างๆ และที่สำคัญพยายามเจรจาหาทางออกกว่าสิบสิบครั้ง กับ ผู้บริหารมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลมาโดยตลอดแต่ถูกปฏิเสธ บ่ายเบี่ยงจนไม่สามารถจะแก้ปัญหาด้วยการเจรจากันได้ เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับครูเกษียณอัสสัมชัญ ทางกลุ่มศิษย์เก่าจึงได้เข้าไปช่วยเหลือครูเกษียณ 14 ท่านแรกที่ใกล้หมดอายุความ ในการมาขอความเมตตาจากศาลแรงงาน เมื่อวันที่ 27 มินาคม2561 โดยแบ่งโจทก์เป็นสองกลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มแรก กลุ่มครูเกษียณ 10 คน ที่ถูกบังคับให้เขียนหนังสือลาออก และไม่ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเมื่อถูกเลิกจ้าง
2.และกลุ่มที่สอง กลุ่มครูเกษียณ 4 คน ที่ไม่ได้รับเงินบำนาญ ตามสัญญาจ้างเพราะถูกอ้างว่า สัญญาที่จะให้เงินบำนาญเป็นสัญญาของมูลนิธิ ไม่ไชสัญญาของโรงเรียน ในเมื่อครูเป็นลูกจ้างของโรงเรียนจึงไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการจากระเบียบของมูลนิธิ
กว่า 20 เดือนในการสู้คดีและสืบพยาน ในที่สุด เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 ศาลแรงงานได้มีคำพิพากษาคืนความเป็นธรรมให้ครูเกษียณอัสสัมชัญทั้ง 14 คน ดังนี้
กลุ่มแรก กลุ่มครูเกษียณ 10 คนนั้นมิเจตนารมณ์ที่จะสิ้นสุดสภาพการจ้างด้วยการเกษียณอายุจริง เพราะตั้งใจทำงานจนถึงวันสุดท้ายของปีการศึกษา และทางโรงเรียนได้จัดงานมุทิตาจิตเกษียณอายให้กับลูกศิษย์ทั่วประเทศได้มาแสดงความกตัญญูกตเวที
     ดังนั้น เมื่อเกษียณอายเป็นการเลิกจ้าง ครูเกษียณ 10 คนนี้จึงมิสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน(เงินสิบเดือน) พร้อมดอกเบี้ย 15%/ปี ภายใน 15 วันรวมเป็นเงินประมาณ 5,500,000 บาท

       กลุ่มที่สอง กลุ่มครูเกษียณ 4 คนนั้นเป็นลูกจ้างของโรงเรียนอัสสัมชัญซึ่งมีมูลนิธิคณะเชนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับใบอนุญาต และเป็นผู้แทนนิติบุคคลโรงเรียนอัสสัมชัญ ตาม พรบ.โรงเรียนเอกชน 2550 และในทางปฏิบัติ ครูโรงเรียนอัสสัมชัญต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ/นโยบายของมูลนิธิ รวมทั้งแนวทางการกำหนดการขึ้นเงินเดือนเงินประจำตำแหน่งต่างๆล้วนถูกกำหนดเกณฑ์จากมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
     ดังนั้นแล้ว สัญญาจ้างของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยในฐานะนายจ้าง ที่ได้ทำสัญญาว่าจาง ครูโรงเรียนอัสสัมชัญนั้นได้ระบบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ไว้ว่า เมื่อเกษียณอายมีสิทธิได้รับเงินบำนาญจึงสงผลให้ ครูเกษียณทั้ง 4 คนมิสิทธิได้รับเงินบำนาญย้อนหลังตามสัญญาจ้างตั้งแต่วันที่เกษียณถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 20 เดือน พร้อมดอกเบี้ย 7.5%/ปี ภายใน 15 วัน รวมเป็นเงินประมาณ 1,300,000 บาท
          นายนที ยังกล่าวอีกว่า จากผลของคำพิพากษาดังกล่าวเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้แก่ครูโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศที่ได้รับการคุ้มครองตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การคุ้มครองการทำงานครูและครูใหญ่โรงเรียนเอกชน 2542ว่า เมื่อเกษียณอายุ ซึ่งเป็นหนึ่งในการเลิกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยครั้งนี้ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จบำนาญเป็นเงินคนละประเภทกัน ไม่สามารถนำมาทดแทนกันได้ เพราะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน และวิธีคำนวณที่แตกต่างกัน
     สำหรับกรณี ความเดือดร้อนของครูเกษียณโรงเรียนอัสสัมชัญ จากการถูกละเมิดสิทธิไม่ได้รับเงินเกษียณตามสัญญาจ้างและกฎหมายแรงงานนั้น ยังมีอยู่อีกหลายร้อยท่าน ได้แก่ 
   -ครูโรงเรียนอัสสัมชัญที่เกษียณแล้ว แต่ถูกบังคับไม่ให้รับเงินบำนาญตามสัญญาจ้างและถูกบังคับให้ลาออก และไม่ได้รับค่าชดเชยอีก 20 ท่าน
     - ครูโรงเรียนอัสสัมชัญที่เกษียณแล้ว ได้รับเงินบำนาญตามสัญญาจ้าง แต่ถูกบังคับให้ลาออก และไม่ได้รับค่าชดเชย อีกกว่า 100 ท่าน
     - ครูโรงเรียนอัสสัมชัญที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันอีกกว่า 200 ท่าน ได้ถูกนายจ้างเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างยกเลิกสิทธิรับเงินบำนาญเมื่อเกษียณ โดยที่ไม่ได้รับความยินยอมจากครุทั้งที่มีข้อตกลงสัญญากันมาก่อนว่าเมื่อเกษียณมีสิทธิรับเงินบำนาญ
     - รวมทั้งโรงเรียนอื่นๆ ที่มีมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับใบอนุญาต เช่น โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนมงฟอร์ต โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีเป็นตัน ครูในโรงเรียนดังกล่าวล้วนแต่ถูกละเมิดสิทธิการได้รับค่าชดเชยเมื่อเกษียณและถูกบังคับไม่ให้รับเงินบำนาญตามสัญญาจ้างไม่ต่างกับ ครูเกษียณและครูปัจจุบันของโรงเรียนอัสสัมชัญ
        นายนที กล่าวย้ำว่า จากผลของคำพิพากษาของศาลแรงงาน ได้ยืนยันความชอบธรรมและความถูกต้องให้กับครูเกษียณอัสสัมชัญและครูโรงเรียนอัสสัมชัญปัจจุบันกว่า 300 คน ว่า มีสิทธิได้รับเงินบำนาญมือเกษียณตามสัญญาจ้าง และมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อเกษียณตามกฎหมายแรงงานทั้งสองอย่าง ซึ่งหวังว่าจะได้มีการพูดคุยหาทางออกร่วมกับ ผู้บริหารมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลต่อไปเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และความถูกต้องตามกฎหมายแก่ครูเกษียณและครูปัจจุบันกว่า 1,000 คนในกว่า 14 โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยต่อไป แต่หากการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ ก็อาจจะเกิดการฟ้องร้องของครูโรงเรียนเอกชนกว่า 1,000 คนในการเรียกร้องสิทธิทางแรงงานเป็นครั้งแรกในสังคมไทยก็เป็นไปได้
อีก 15 วันนับจากวันที่7 ตุลาคม 2562 เรามาติดตามกันต่อไปว่ามูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยที่มีเศรษฐานะที่ดี จะยอมจ่ายเงินเกษียณให้ครูเกษียณอัสสัมชัญตามคำพิพากษาหรือไม่และครูเกษียณและครูปัจจุบันกว่าอีก 1,000 คน จากหลายสิบโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย จะสามารถพูดคุยหาทางออกได้หรือไม่หรือนำไปสู่การฟ้องร้องคดีกันต่อไป โปรดติดตามต่อไป
 

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ

 

 

 

พิพากษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล จ่ายค่าชดเชย - เงินบำนาญ