ข่าว

ราชกิจจาฯ ประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเยี่ยมผู้ต้องขัง

ราชกิจจาฯ ประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเยี่ยมผู้ต้องขัง

05 พ.ย. 2562

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการเยี่ยม การติดต่อของบุคคลภายนอกกับผู้ต้องขังและการเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำพ.ศ.2561

 

 

 

               วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการเยี่ยม การติดต่อของบุคคลภายนอกกับผู้ต้องขังและการเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำพ.ศ. 2561

                โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเยี่ยมการติดต่อผู้ต้องขังและการเข้าดูกิจการ หรือติดต่อการงานกับเรือนจำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงานของเรือนจำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ มาตรา ๖๐ และมาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๐

 

                        

ราชกิจจาฯ ประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเยี่ยมผู้ต้องขัง

 

อธิบดีกรมราชทัณฑ์จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการเยี่ยม การติดต่อของบุคคลภายนอกกับผู้ต้องขัง และการเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำ พ.ศ. ๒๕๖๑"

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการเยี่ยมการติดต่อของบุคคลภายนอกต่อผู้ต้องขังและการเข้าดูกิจการหรือติดต่อการงานกับเรือนจำ พ.ศ. ๒๕๕๕

ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ประกาศ หรือหนังสือสั่งการอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์รักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ รวมตลอดถึงการออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไขเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้

 

 

หมวด ๑ บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมหรือติดต่อผู้ต้องขัง

ข้อ ๖ บุคคลภายนอกจะเข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังได้ ดังนี้

(๑) เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำหรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการเรือนจำในการเข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ออกโดยทางราชการที่ปรากฏภาพถ่ายไปแสดงต่อเจ้าพนักงานเรือนจำ และให้เจ้าพนักงานเรือนจำจดบันทึกข้อมูลบุคคลภายนอกผู้เข้าเยี่ยมหรือติดต่อไว้เป็นหลักฐาน โดยเฉพาะความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังกิจธุระ หรือประโยชน์ในการเข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังนั้น

(๒) เฉพาะผู้ต้องขังที่ได้รับโอกาสให้ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อจากบุคคลภายนอก

(๓) ต้องเข้าเยี่ยมหรือติดต่อในวันและเวลาตามที่เรือนจำได้กำหนดไว้

หากมีเหตุพิเศษจำเป็นต้องพบผู้ต้องขังนอกวันและเวลาที่กำหนด ให้ขออนุญาตต่อผู้บัญชาการเรือนจำ แต่ต้องไม่ใช่ระหว่างเวลาที่เรือนจำได้นำผู้ต้องขังเข้าห้องขังแล้ว และยังมิได้นำ ออกจากห้องขัง เว้นแต่ผู้บัญชาการเรือนจำเห็นเป็นการจำเป็นที่สมควรจะอนุญาต

 

 

                       ราชกิจจาฯ ประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเยี่ยมผู้ต้องขัง

ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ด้านการควบคุมหรือความมั่นคงของเรือนจำ ให้ผู้บัญชาการเรือนจำกำหนดให้ผู้ต้องขังแจ้งรายชื่อบุคคลภายนอกที่จะให้เข้ามาพบหรือติดต่อกับตนภายในเรือนจำไว้ล่วงหน้า รายชื่อบุคคลภายนอกนั้นให้มีจำนวนไม่เกิน ๑๐ คน และหากจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงก็ให้สามารถ ดำเนินการได้ โดยต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ในกรณีมีเหตุพิเศษ ผู้บัญชาการเรือนจำอาจพิจารณาอนุญาตให้บุคคลภายนอกนอกเหนือจาก ที่ได้แจ้งไว้ตามวรรคก่อน เข้าเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังก็ได้

 

 

ข้อ ๘ ห้ามมิให้บุคคลภายนอกที่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขัง

(๑) มีอาการมึนเมาหรือเมาสุราน่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญหรือความไม่เรียบร้อย

(๒) มีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้าอนุญาตให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังแล้วจะก่อการร้ายหรือกระทำผิดกฎหมายขึ้น

(๓) มีพฤติการณ์ที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของเรือนจำ

(๔) แต่งกายผิดปกตินิยมในท้องถิ่น หรือไม่สุภาพ หรือสกปรกอย่างร้ายแรง

(๕) มีกิริยาวาจาไม่สุภาพ

(๖) เป็นโรคติดต่อร้ายแรง

(๗) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งปฏิบัติการโดยชอบด้วยหน้าที่

 

 

ราชกิจจาฯ ประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเยี่ยมผู้ต้องขัง

 

ข้อ ๙ บุคคลภายนอกที่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขังจะต้องปฏิบัติตน ดังนี้

(๑) อยู่ในเขตที่เรือนจำกำหนดให้เป็นที่เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขัง

(๒) ไม่กระทำด้วยประการใด ๆ ให้สิ่งของเข้ามาหรือให้ออกไปจากเรือนจำ หรือรับจากหรือส่งมอบแก่ผู้ต้องขัง โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเรือนจำกรณีที่ประสงค์จะมอบเงินตราให้กับผู้ต้องขัง ให้นำฝากไว้กับเจ้าพนักงานเรือนจำที่ทางเรือนจำจัดไว้ให้เพื่อการนั้น หรือวิธีการอื่น ที่กรมราชทัณฑ์กำหนด

(๓) ไม่แนะนำชักชวนแสดงกิริยาหรือให้อาณัติสัญญาณอย่างใด ๆ แก่ผู้ต้องขังเพื่อกระทำผิด กฎหมายหรือวินัยผู้ต้องขัง และไม่เป็นสื่อกลางในการติดต่อกับผู้ต้องขังเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการราชทัณฑ์

(๔) พูดภาษาไทยและออกเสียงให้ดังพอที่เจ้าพนักงานเรือนจำผู้ควบคุมอยู่ ณ ที่นั้นได้ยิน จะพูดภาษาอื่นได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเรือนจำ

(๕) ยินยอมให้เจ้าพนักงานเรือนจำฟังการสนทนา บันทึกภาพหรือเสียงและตัดการสื่อสาร หากเห็นว่าข้อความที่สนทนาเป็นไปโดยไม่เหมาะสมในกรณีที่เรือนจำจัดให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขัง โดยการพูดคุยผ่านเครื่องมือสื่อสาร

(๖) ไม่ถ่ายภาพหรือเขียนภาพเกี่ยวกับผู้ต้องขังหรือเรือนจ าหรือเขียนแบบแปลนหรือแผนที่เรือนจำเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากกรมราชทัณฑ์และแจ้งให้ผู้บัญชาการเรือนจำทราบก่อนแล้ว

(๗) ไม่ใช้โทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใด ในขณะเยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขัง

(๘) ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับเรือนจ า และค าสั่งของเจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งปฏิบัติการ โดยชอบด้วยหน้าที่

 

 

ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลภายนอกที่จะมาขออนุญาตหรือได้รับอนุญาต ให้เยี่ยมหรือติดต่อแล้วมีสิ่งของที่ยังไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ ๙ (๒) หรือสิ่งของต้องห้ามตามกฎหมาย

ว่าด้วยการราชทัณฑ์ เจ้าพนักงานเรือนจำมีอำนาจขอดูหรือขอตรวจค้นได้ หากบุคคลภายนอกนั้นเป็นชายให้เจ้าพนักงานเรือนจำชายเป็นผู้ทำการตรวจค้น หากเป็นหญิงให้เจ้าพนักงานเรือนจำหญิง เป็นผู้ทำการตรวจค้น หรือให้ผู้นั้นแสดงเองหรือจัดให้ชายหรือหญิงอื่นที่ควรเชื่อถือทำการตรวจค้นแทนก็ได้

 

 

ข้อ ๑๑ บุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยมหรือติดต่อกับผู้ต้องขัง ได้กระทำผิดระเบียบนี้ เจ้าพนักงานเรือนจำมีอำนาจดำเนินการให้ออกไปจากบริเวณเรือนจำ ทั้งนี้ หากมีการขัดขืนเจ้าพนักงานเรือนจำมีอำนาจใช้กำลังพอสมควรที่จะให้ออกไปพ้นจากเรือนจำได้

 

อ่านละเอียด