ข่าว

ปรับเกณฑ์ขยายตรวจโควิด

ปรับเกณฑ์ขยายตรวจโควิด

07 เม.ย. 2563

สธ.ปรับเกณฑ์ขยายการตรวจหาโควิด-19 ครอบคลุมผู้ป่วยมีอาการไข้-ทางเดินหายใจ เผยไทยทดสอบใช้ยามาเลเรียรักษาผู้ป่วยโควิด ไม่พบผลข้างเคียงเหมือนสหรัฐ ยังมั่นใจคุมสถานการณ์ระบาดได้

 

กระทรวงสาธารณสุข 7 เม.ย.63  นพ.นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ว่า เราได้ปรับขยายในส่วนผู้ป่วยที่จะเข้าเกณฑ์การเฝ้าระวังเพื่อสอบสวนโรค  

อ่านข่าว สถานการณ์ยังไม่น่าไว้ใจ ครม.เลื่อนเปิดเทอมไปวันที่ 1 ก.ค.   

จัดให้อีก ครม.เคาะใช้ไฟฟ้าฟรี ผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 

 

รวมทั้งแนวทางการเรียกเก็บการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยมีการดำเนินการในส่วนของการเฝ้าระวัง คือด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ โดยเราปรับขยายให้ควบคุมผู้ป่วยที่มีอาการไข้หรือทางเดินหายใจไม่ว่าจะเดินทางมาจากประเทศไหนก็ตาม จะต้องเข้ารับการสอบสวน และตรวจผลทางห้องปฏิบัติการทุกคน

 

2. การเฝ้าระวังในสถานพยาบาล ได้มีการปรับตามสถานการณ์ทั่วโลก ได้กำหนดเพิ่มปัจจัยความเสี่ยงโดยครอบคลุมไปถึงคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกประเทศ ทุกคนที่มีอาการ รวมถึงคนต่างชาติทุกประเทศที่เพิ่ง เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ในระยะเวลา 14 วัน หรือคนไทยที่มีอาชีพไปสัมผัส และมีอาการป่วยนั้น จะถือว่าคนเหล่านี้ต้องได้รับการสอบสวนโรค และต้องได้รับการตรวจในห้องปฏิบัติการ


“กลุ่มที่ให้ความสำคัญในช่วงนี้ และแยกออกมาจำเพาะ คือเรื่องบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยวันนี้เราพบบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อ มีจำนวนเพิ่มขึ้น 3 ราย และเมื่อวาน (6 เม.ย.)​ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ได้ทำการรักษาผู้ป่วยชาวต่างชาติ โดยมีผู้ที่สัมผัส กับผู้ป่วยรายนี้เป็นจำนวนมาก กว่า 112 ราย ราย โดย 90 กว่ารายของบุคลากรดังกล่าว ตรวจเชื้อเป็นลบ แต่ยังต้องมีการปรับตัวและเฝ้าระวังอาการ ไม่น้อยกว่า 14 วัน จึงต้องมีการแยกการเฝ้าระวัง โดยสิ่งที่เรากำหนดในประวัติคือ หากแพทย์ผู้ตรวจมีความสงสัย หรือสัมผัสผู้ที่อาจจะสงสัย โดยบุคลากรทางการแพทย์สามารถ ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการสอบสวน ทุกราย”นพ.สุวรรณชัยกล่าว


นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่หน้าฝน สิ่งที่เราพบคือ ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หากเป็นผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มก้อน ที่เป็นโรคหรือติดเชื้อในทางเดินหายใจ ที่ผลตรวจ Rapid test หรือ PCR ต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่เป็นลบ เราก็จะแยกผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม  บุคลากรทางการแพทย์ตั้งแต่ 3 รายขึ้นไป และประชาชนทั่วไปกำหนดที่ 5 ราย

 

เราจะนำเข้าสู่ระบบการสอบสวนและตรวจในห้องปฏิบัติการ ในส่วนของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงใครก็ตามที่เข้าเกณฑ์ ทุกคนจะได้รับการสอบสวน และตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะฉะนั้นทุกสถานพยาบาล ก็จะรับทราบ และเมื่อมีผู้ป่วยดังกล่าวเข้าไปตรวจ  ก็จะเป็นการตรวจโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยที่รัฐจะเป็นผู้ออกให้  

 

นพ.สุวรรณชัย  ระบุถึงการจัดสรรเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ว่า ปัจจุบัน มีเพียงพอในการจัดสรรให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะในส่วนของ ยาฟาวิภิราเวียร์ และหน้ากากอนามัย คาดว่าจะดีขึ้นตามขึ้นตามลำดับ ยกเว้นในส่วนของ N95 ที่จะต้องมีการปรับใช้อย่างเหมาะสม โดยอาจจะต้องมีการนำมาใช้ซ้ำ แต่สิ่งสำคัญคือหน้ากากN95 ที่นำมาใช้ซ้ำ จะต้องป้องกันโรคได้และคุณสมบัติไม่ต่างไปจำนวนเดิม พร้อมเชิญชวนเอกชนบริจาคหน้ากากN95 และชุดPPE แต่ย้ำว่าเวชภัณฑ์ที่จะนำมาบริจาคจะต้องได้มาตรฐาน โดยขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีชุด PPE เพียงพอ สำหรับช่วงเวลา1 เดือน จากนี้จึงต้องจัดหาเพิ่มเติมต่อไป

 

สำหรับกรณีที่หลายฝ่ายเป็นห่วงว่า ในช่วงฤดูฝนจะเป็นช่วงที่เชื้อโคโรนาไวรัส2019 สามารถแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า ยืนยันวาาสามารถควบคุมได้ ส่วนกรณีที่เคยมีการคาดการณ์ว่า ในวันที่ 15 เม.ย 63 จะมีผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนถึงกว่า 7,000 คน นั้น

 

หากนับจากวันนี้ถึงวันที่ 15 เม.ย.63 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในอัตรา วันละประมาณ 100 คน ในวันที่ 15 เม.ย.63 ก็จะมีผู้ป่วยประมาณกว่า 4,000 คน แต่สมมุติฐานดังกล่าวจะเป็นจริงได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชน ในการปฏิบัติตามข้อแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือการลดจำนวนคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพื่อไม่ให้เป็นพาหะแพร่เชื้อ พร้อมยืนยันว่า สาเหตุที่ในช่วง 1-2 วันที่ผ่าน จำนวนผู้ป่วยลดลง เพราะคนส่วนใหญ่สวมใส่หน้ากากอนามัย  และเว้นระยะห่างทางสังคม


ส่วนกรณีที่สหรัฐอเมริกา มีการนำยารักษาโรคมาลาเรีย มาใช้จนทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงกับผู้ป่วย นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมา ไทยก็ได้มีการนำยาตัวนี้มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยเช่นกัน ตามมาตรฐานการรักษาของโรค แต่ยังไม่พบว่ามีผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับผู้ป่วยแต่อย่างใด