"หมอยง" ชี้ ประเมินผลวัคซีนโควิด-19 อย่ามองแค่ตัวเลข
"หมอยง" โพสต์อธิบาย การประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ต้องดูองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ใช่มองเพียงตัวเลข
วันนี้ 14 ม.ค. 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุ โควิด-19 วัคซีน ผลการศึกษาประสิทธิภาพจึงต่างกัน
อ่านข่าว รวบแล้ว "ป้ารักแร้เหนียว" หนีบเงินทอน โดนซิวหลังก่อเหตุเผารถ 5 คัน
ผลของประสิทธิภาพวัคซีนในการศึกษา ต่างสถานที่ ต่างกลุ่ม ประสิทธิผลทำไมไม่เท่ากันเพราะ
การประเมินประสิทธิภาพ จะประเมินอะไร ป้องกันการติดเชื้อ หรือ ป้องกันการเกิดโรค (ติดเชื้อได้แต่ไม่เป็นโรค) เป็นโรคแต่ไม่รุนแรง เช่น ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่เสียชีวิต
ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 จะประเมินตรงไหน ต้องชี้แจงให้ละเอียด ไม่ใช่บอกแต่ตัวเลข
ประเด็นที่ 2 ที่มีการประเมินผลวัคซีนเดียวกัน ทำในสถานที่และประชากรต่างกัน
ขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากรที่ศึกษา ทำให้ผลต่างกัน เช่น การศึกษาวัคซีน HIV ในประเทศไทย ได้ประสิทธิภาพป้องกันกันโรคได้ 30% ศึกษาที่แอฟริกา ได้ 0% เพราะแอฟริกามีความเสี่ยงสูงกว่าไทย
อ่านข่าว ขอโทษทำเข้าใจผิด "กัน นภัทร" โร่แจงดราม่าภาพเบะปากมองบน
ในทำนองเดียวกัน การศึกษาวัคซีนท้องเสียโรตา ในแอฟริกา ประเทศเมารี ได้ประสิทธิภาพร้อยละ 50 แต่ใช้วัคซีนเดียวกันทำในยุโรปได้ประสิทธิภาพสูง 83-90% เพราะแอฟริกาเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรค และการติดโรคได้สูงกว่าในยุโรป
ทำนองเดียวกันการศึกษาโควิดวัคซีน ถ้าทำในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ย่อมมีประสิทธิภาพป้องกันในการศึกษาต่ำกว่า การศึกษาในประชากรทั่วไป ที่มีความเสี่ยงต่ำ
การศึกษาของวัคซีนของจีนประสิทธิภาพที่จีนประกาศ 79% โดยรวม ตุรกี ประกาศผลประชากรทั่วไปได้ 91% และอินโดนีเซียได้ 65% ตัวเลขต่างกัน คือ บราซิลในบุคลากรทางการแพทย์ ได้ 50.4%
ดังนั้นประสิทธิภาพของวัคซีนในแต่ละตัว การแปลผลจะต้องดูองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ใช่เพียงตัวเลข
อ่านข่าว ตร.พลิกเมืองล่าสองโจ๋โหดสวมไอ้โม่งซ้อมยายวัย 74 ปางตาย
#ช้อปปลอดภัยช้อปถูกใจที่ลาซาด้า