ข่าว

วช.มุ่งเป้างานวิจัยกินได้จากองุ่น"ไชน์ มัสแคท"สู่มะยงชิด"ทูลเกล้า" 

วช.มุ่งเป้างานวิจัยกินได้จากองุ่น"ไชน์ มัสแคท"สู่มะยงชิด"ทูลเกล้า" 

18 มี.ค. 2564

วช.มุ่งเป้างานวิจัยกินได้จากองุ่น"ไชน์ มัสแคท"สู่มะยงชิด"ทูลเกล้า" 

การนำสื่อมวลชนกว่า 30 ชีวิตลงพื้นที่จ.พิษณุโลกและอุตรดิตถ์ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ระหว่างวันที่ 16-17 มี.ค.64 ที่ผ่านมาเพื่อดูความสำเร็จของงานวิจัยกินได้จากองุ่นสายพันธุ์”ไซน์มัสแคท”และมะยงชิดพันธุ์”ทูลเกล้า”

โดยทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้การนำของผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการวิจัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
 โดยจุดแรกที่ไปดูเป็นไร่ฟาร์มอดุลย์ แห่งบ้านวังมะดาน ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก  ของนายสุรเดช เดชพงษ์(08-9960-1338) เจ้าของโรงงานผลิตลูกชิ้นและเต้าเจี๊ยวชื่อดังแห่งเมืองสองแคว ที่ผันตัวเองมาปลูกองุ่นสายพันธุ์”ไซน์มัสแคท”

โดยนำต้นพันธุ์สั่งตรงมาจากแดนอาทิตย์อุทัย ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 2 ปีที่แล้ว  หลังจากสะสมความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการจัดการเก็บเกี่ยวองุ่น รวมทั้งเดินทางไปศึกษาดูงานสวนองุ่นราคาแพงที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมา 
วช.มุ่งเป้างานวิจัยกินได้จากองุ่น\"ไชน์ มัสแคท\"สู่มะยงชิด\"ทูลเกล้า\" 

“ที่ญี่ปุ่นมีสายพันธุ์องุ่นเยอะมาก แต่ที่ให้ผลผลิตดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและมีราคาสูงกิโลละ 2-3 พันเยนนั้นเป็นพันธุ์ไซน์มัสแคท”สุรเดช เผย องุ่นสายพันธุ๋ยอดนิยมในแดนปลาดิบ หลังมีโอกาสร่วมทริปไปดูงานสวนองุ่นที่ญี่ปุ่นกับโครงการหลวงเมื่อปี 2560 เป็นเวลา 15 วัน

จากนั้นก็นำองค์ความรู้ที่ได้มาทดลองปฏิบัติทันที ในพื้นที่กว่า 4 ไร่เศษในพื้นนาเดิม ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นสวนองุ่น โดยมีทีมนักวิจัยม.นเรศวรเข้ามาให้คำแนะนำดูแลอย่างใกล้ชิด 
สำหรับองค์ความรู้เกี่ยวกับองุ่นไซน์มัสแคท มีงานวิจัยครอบคลุมทั้งด้านการผลิต ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก การขยายพันธุ์ การปลูกและการดูแลทั้งการตัดแต่งกิ่ง กาควบคุมทรงพุ่ม การให้ปุ๋ยและน้ำ การตัดแต่งช่อไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว

รวมทั้งงานวิจัยการเข้าทำลายและป้องกันกำจัดโรค เช่น โรคราน้ำค้าง โรคกิ่งแห้ง โรคแอนแทรคโนส สแคป โรคใบจุด โรคราสนิม โรคราแป้ง โรคลำต้นและรากเน่า
การเข้าทำลายและป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้หอม แมลงวันผลไม้ และหนอนเจาะสมอฝ้าย ไปจนถึงการจัดการผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวและการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อทำการตลาดและจัดการปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในตลาดส่งออก 
 “เหตุผลที่ปลูกองุ่น เพราะปกติเป็นคนชอบทานองุ่นอยู่แล้ว  เพื่อน ๆ ก็สนับสนุนอยากให้ลองทำดู ก็เลยสนใจ เริ่มปลูกมาเกือบ 2 ปีแล้ว มีเกือบทุกสายพันธุ์ลองผิดลองถูกมาเรื่อย จนมาสรุปสุดท้ายที่ ไซน์มัสแคท ทนต่อโรคแมลง เติบโตได้ดีในทุกสภาพพื้นที่และที่สำคัญขายได้ราคาดี อย่างพันธุ์นี้ตลาดญี่ปุ่นรับไม่อั้น ”
 สุรเดช กล่าวจุดเด่นองุ่นสายพันธุ์นี้ว่าเป็นองุ่นไร้เมล็ด รสชาติหวาน กลมกล่อม แต่ละพวงเฉลี่ย 38-40 ลูก น้ำหนักเฉลี่ย 8 ขีดถึง 1 กิโลกรัม ขณะที่ไซน์มัสแคทสายพันธุ์เกาหลี ไต้หวันลูกจะใหญ่กว่ามาก แต่รสชาติสู่สายพันธุ์ญี่ปุ่นไม่ได้ ขณะที่ราคาขายอยู่แค่เพียงหลักร้อยเท่านั้น
“ถ้าไซน์มัสแคทต้องสายพันธุ์ญี่ปุ่นเท่านั้น มันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งรสชาติ รูปทรงผลผลิต น้ำหนัก จำนวนผลต่อช่อ ต้องเป๊ะ”เจ้าของไร่ฟาร์มอดุลย์เผย พร้อมแนะนำวิธีการปลูกระหว่างต้นกว้างคูณยาว 4X8 เมตรจะได้มีช่องว่างระหว่างต้นเมื่อเติบโตขึ้นและให้ผลิต โดยต้นองุ่นจะมีอายุยาวนาน 15-20 ปี ยิ่งอายุมากก็จะยิ่งให้ผลผลิตมากตามไปด้วย 
หลังได้สำรวจแปลงองุ่นเสร็จเรียบร้อยจากนั้นเดินทางไปดูงานวิจัยจุดที่สองเพื่อมาดูผลสำเร็จงานวิจัยมะยงชิด ณ สวนใจใหญ่ ต.ชัยชุมพล อ.ลับแล จ. อุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นสวนมะยงชิดของนางประนอม ใจใหญ่ ที่ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์ครอบคลุมการผลิตตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก การขยายพันธุ์ การปลูก และการดูแลตั้งแต่ระยะแรกหลังปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว
 โดยนักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการฉีดพ่นสารละลายแคลเซียม (Ca) - โบรอน (B) การศึกษาจำนวนผลต่อต้นที่เหมาะสม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของผลโดยตรงคือ เพื่อเพิ่มคุณภาพทางด้านกายภาพของผล

เช่น สีผิวสวยงามสม่ำเสมอ ไม่กร้าน ขนาดผลใหญ่ขึ้น และเพื่อเพิ่มคุณภาพทางเคมีของผลผลิต เช่น รสชาติ ให้เป็นที่ต้องการของตลาดภายในและต่างประเทศ
ระหว่างปลูกมีระยะที่ต้องเฝ้าระวังคือระยะแตกใบอ่อน ระยะดอกโรย และช่วงติดผลขนาดเท่าหัวไม้ขีด ที่ต้องควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของเชื้อราและกลุ่มแมลงปากดูด โดยเฉพาะเพลี้ยไฟซึ่งเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของมะยงชิด และยังมีโรคและแมลงอื่นๆ ที่เป็นศัตรูของมะยงชิด

ได้แก่ โรคราดำ แมลงวันผลไม้ ด้วงงวงกัดใบมะยงชิด ด้วงเจาะลำต้นมะยงชิดและแมลงค่อมทอง จึงต้องควบคุมเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น 
ส่วนการเก็บรักษาผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวนั้นนักวิจัยแนะนำให้ใช้สาร 1-เมธิลไซโคลโพรพีน  เคลือบผิวมะยงชิด ร่วมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำและการดัดแปลงสภาพบรรยากาศเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา

และยังมีองค์ความรู้เรื่องการแปรรูปมะยงชิดโดยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดึงดูดใจและมีลักษณะเฉพาะ เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค รวมทั้งการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อการตลาดและส่งออกมะยงชิด  
สำหรับนางประนอม ใจใหญ่(08-1042-1410) เจ้าของสวนใจใหญ่นั้นได้ทำการปลูกมะยงชิดบนเนื้อที่กว่า 40 ไร่ในต.ชัยชุมพล อ.ลับแล จ. อุตรดิตถ์ จากเดิมเป็นไร่ข้าวโพดที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นสวนมะยงชิดสายพันธ์ทูลเกล้าและมะปรางหวานสายพันธุ์สุวรรณบาท เนื่องจากเห็นว่าเป็นไม้ผลมีอนาคต

โดยเริ่มปลูกอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2558 โดยปลูกพืชชนิดอื่นแซม แต่ผลผลิตก็ไม่ได้ดีอย่างที่คิด เนื่องจากเป็นไม้ผลชนิดใหม่ไม่มีองค์ความรู้วิธีการปลูกและดูแลรักษามาก่อน  จนกระทั่งหลังมีทีมนักวิจัยจากม.นเรศวรเข้ามาให้คำปรึกษาแนะนำ จึงทำให้ผลผลิตดีขึ้นอย่างเห็นชัด
 “ปีนี้ให้ผลผลิตดีมากและมีหลายรุ่น เพราะหนาวนาน มะยงชิดจะชอบอาการศหนาว ที่นี่จะออกก่อนนครนายกประมาณครึ่งเดือ ที่สวนเริ่มเก็บผลผลิตมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ช่วงแรก ๆ ราคาดีมาก เพราะออกก่อนชาวบ้าน ราคาหน้าสวนโลละ 150-180 บาท ส่วนผลผลิตตกเกรดก็จะนำมาทำมะยงชิดแช่อิ่ม”เจ้าของสวนใจใหญ่ให้ข้อมูล
 ประนอม เริ่มปลูกมะยงชิดมาตั้งแต่ปี 2548 เมื่อครั้งเกิดดินถล่มน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่อ.ลับแล ทำให้ทุเรียนหลงหลินลับแลที่ปลูกไว้ รวมทั้งไม้ผลอื่น ๆ ได้รับคามเสียหายทั้งหมด ยกเว้นมะยงชิดที่ปลูกไว้จำนวน 5 ต้น ก่อนขยายผลการปลูกมาจนปัจจุบัน  
“ตอนนี้มีสวนมะยงชิด แปลงนี้มี 17 ไร่เศษ ส่วนอีกแปลง 20 กว่าไร่ ส่วนทุเรียนหลงหลินลับแลก็ยังมีอยู่แต่ไม่มากแล้ว หลังมะยงชิดวายก็จะทุเรียนหลงหลินก็จะเริ่มให้ผลผลิตต่อราว ๆ ปลายพฤกษภาคม”นางประนอมเผย 
 ขณะเดียวกันเธอยังทำหน้าที่เป็นแม่ค้าขายผลไม้ที่ตลาดหัวดงในตัวอ.ลับแลอีกด้วย โดยรับซื้อผลผลิตทุเรียนหลงหลิน มะยงชิด ลางกองและอื่น ๆ จากเกษตรกรในหมู่บ้านมาจำหน่าย โดยมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อเพื่อส่งไปตลาดไทและตลาดสี่มุมเมืองอีกทอดหนึ่ง
 อย่างไรก็ตามสวนใจใหญ่ นอกจากได้รับมาตรฐานจีเอพี(GAP) แล้ว เจ้าของสวน นางประนอม ใจใหญ่ยังได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นของจ.อุตรดิตถ์ ในปี 2563 และทางสำนักงานเกษตรจังหวัดเตรียมส่งชื่อชิงรางวัลในระดับและประเทศต่อไป
 นับเป็นอีกก้าวของงานวิจัยกินได้ ตามนโยบายของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติที่ต้องการวิจัยแบบมุ่งเป้าเพื่อให้เกิดผลเห็นอย่างเป็นรูปธรรมในทุกห่วงโซ่อุปทาน


       วช.มุ่งเป้างานวิจัยกินได้จากองุ่น\"ไชน์ มัสแคท\"สู่มะยงชิด\"ทูลเกล้า\" 
        วช.มุ่งเป้างานวิจัยกินได้จากองุ่น\"ไชน์ มัสแคท\"สู่มะยงชิด\"ทูลเกล้า\" 
 

      วช.มุ่งเป้างานวิจัยกินได้จากองุ่น\"ไชน์ มัสแคท\"สู่มะยงชิด\"ทูลเกล้า\"                     

                             วช.มุ่งเป้างานวิจัยกินได้จากองุ่น\"ไชน์ มัสแคท\"สู่มะยงชิด\"ทูลเกล้า\" 

 

  วช.มุ่งเป้างานวิจัยกินได้จากองุ่น\"ไชน์ มัสแคท\"สู่มะยงชิด\"ทูลเกล้า\"