ข่าว

ไทยร่วมใจ ลงทะเบียน "ฉีดวัคซีนโควิด" กับข้อสงสัยที่หลายคนอยากรู้ ฉีดยี่ห้อไหน

ไทยร่วมใจ ลงทะเบียน "ฉีดวัคซีนโควิด" กับข้อสงสัยที่หลายคนอยากรู้ ฉีดยี่ห้อไหน

10 มิ.ย. 2564

โครงการ "ไทยร่วมใจ" ให้ประชาชนได้ "ลงทะเบียน" ในการแสดงความประสงค์เข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com และผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง เพื่อกระจายวัคซีนโควิดให้ประชาชนในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล

หลังจากที่มีการปูพรมฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 โดยทาง กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดโครงการ "ไทยร่วมใจ" ให้ประชาชนได้ลงทะเบียนในการแสดงความประสงค์เข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com และผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง เพื่อกระจายวัคซีนโควิดให้ประชาชนในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล

 

 

ซึ่งล่าสุดนั้นเฟซบุ๊ก ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย Safe Bangkok ได้มีการอัปเดตยอด "ฉีดวัคซีนโควิด" วันที่ 3 จำนวน 14,981 ราย สรุปผู้ฉีดวัคซีนกับ "ไทยร่วมใจ"แล้วจำนวนสะสม 41,572 ราย

 

ไทยร่วมใจ ลงทะเบียน \"ฉีดวัคซีนโควิด\" กับข้อสงสัยที่หลายคนอยากรู้ ฉีดยี่ห้อไหน

 

สำหรับการลงทะเบียน "ฉีดวัคซีนโควิด" ผ่าน "ไทยร่วมใจ" ผู้ที่ลงทะเบียนได้ก็จะประกอบด้วย ประชาชนที่มีสัญชาติไทย , อายุตั้งแต่ 18 - 59 ปี 10 เดือน , มีทะเบียนบ้านหรืออาศัยใน กทม. , ไม่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มเสี่ยง

 

การลงทะเบียนมี 3 ช่องทาง ดังนี้ 

 

1.ลงทะเบียนในเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com

 

2.ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง

 

3.ลงทะเบียนที่ร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ เซเว่น อิเลฟเว่น, ท็อปส์ เดลี่ มินิซุปเปอร์มาร์เก็ต มินิบิ๊กซี  และแฟมิลี่มาร์ทลงทะเบียนได้ทุกวัน เวลา 09.00-22.00 น.

 

เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปฉีดวัคซีน 

 

- ได้รับ sms แจ้งเตือนล่วงหน้า 1 วัน 

 

- ตอบคำถามคัดกรองอาการ 

 

ตัวอย่าง

 

ไทยร่วมใจ ลงทะเบียน \"ฉีดวัคซีนโควิด\" กับข้อสงสัยที่หลายคนอยากรู้ ฉีดยี่ห้อไหน

 

ไทยร่วมใจ ลงทะเบียน \"ฉีดวัคซีนโควิด\" กับข้อสงสัยที่หลายคนอยากรู้ ฉีดยี่ห้อไหน

 

ก่อนฉีดวัคซีน

 

- งดออกกำลังกายหนักๆ 2 วัน 

 

- รับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ

 

- ผู้ที่มียาประจำตัวให้รับประทานยาตามเดิม ยกเว้นแพทย์สั่ง

 

- หากไม่สบายมีไข้ควรเลื่อนวันฉีดวัคซีน

 

- ไม่รับประทานยาแก้ปวด / ยาลดไข้

 

- เลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ

 

- เตรียมบัตรประชาชนและตรวจสอบวัน เวลา สถานที่

 

วันฉีดวัคซีน

 

- ลงทะเบียนฉีดวัคซีนตามขั้นตอน 

 

- แจ้งประวัติส่วนตัวที่แพทย์ควรทราบ (โรคประจำตัว , ยาที่แพ้ , การตั้งครรภ์)

 

- ฉีดแขนข้างที่ไม่ถนัด งดเกร็ง-ออกแรง 2 วัน

 

- รอสังเกตอาการ 30 นาที

 

- รับบัตรนัดและเอกสารการปฏิบัติตัว 

 

 

หลังฉีดวัคซีน

 

- สังเกตอาการโดยละเอียดสำหรับการฉีดวัคซีนครั้งต่อไป

 

- อาจมีไข้ ปวด บวมแดง อ่อนเพลีย 1-2 วัน สามารถทานยาแก้ปวด ยาลดไข้ได้

 

- หากมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง มีผื่นแดง เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แขนขาอ่อนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หรือโทร 1422 / 1669

 

สำหรับจุดฉีดวัคซีนโครงการไทยร่วมใจ นอกโรงพยาบาลจำนวน 25 จุด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีดังนี้ 

 

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย , เดอะสตรีท รัชดา , เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว , ศูนย์ฉีดวัคซีน SCG สำนักงานใหญ่บางซื่อ , ธนาคารไทยพาณิซย์ สำนักงานใหญ่ , มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยบริหารธุรกิจ) , เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ , ไทยพีบีเอส , สามย่านมิตรทาวน์ , เอเชียทีค , ทรูดิจิทัลปาร์ค , ธัญญาพาร์ค , เซ็นทรัลเวิลด์ , สยามพารากอน , โลตัส พระราม 4 , เดอะเอ็มโพเรียม , เดอะมอลล์ บางกะปี , โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง , โลตัส มีนบุรี , บิ๊กซี ร่มเกล้า , ไอคอนสยาม , เซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า , เดอะมอลล์ บางแค , บิ๊กซีบางบอน , PTT Station พระราม 2 ขาออก (กม.12)

 

เกี่ยวกับคำถาม-ตอบ ที่หลายคนสงสัย

 

โดยคำถามที่หลายคนอยากรู้นั่นก็คือการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดผ่าน "ไทยร่วมใจ" นั้นจะรับการฉีดวัคซีนยี่ห้อใด ทั้งนี้ มีคำตอบจาก กทม.ว่า ลงทะเบียนผ่าน "ไทยร่วมใจ" และได้รับการยืนยันสิทธิ์รับวัคซีน ระหว่างวันที่ 7 -14 มิ.ย.2564 จะได้รับการฉีดวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca

 

อ่านข่าว : เช็กอีกครั้ง "อาการหลังฉีดวัคซีน" ผลข้างเคียง มีอาการแบบไหน สปสช.ถึงจะจ่ายเงิน

 

อ่านข่าว : ไขข้อสงสัย 'ผู้ป่วยไมเกรน' ต้องหยุดยาก่อนไปฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่

 

ข้อมูลประกอบจากเพจ : ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย Safe Bangkok , กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์