เผยข้อมูลชัดๆ วัคซีน "ซิโนฟาร์ม" มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโควิดมากน้อยแค่ไหน
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ประชาชนยังคงให้ความสนใจ เรื่องของประสิทธิภาพของวัคซีน วันนี้เราจะมาพูดถึงประสิทธิภาพวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" สามารถป้องกันเชื้อโควิดได้มากน้อยแค่ไหน หลังดีเดย์ฉีด 25 มิถุนายนนี้
หลังจากที่ทางเลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แจ้งประกาศข้อกำหนดผู้ขอรับการจัดสรร “วัคซีนตัวเลือก” ซิโนฟาร์ม ระยะที่ 1โดยกำหนดราคาอยู่ที่ เข็มละ 888 บาท ไม่รวมค่าบริการของโรงพยาบาล อีกทั้งยังได้แจ้งประกาศข้อกำหนดผู้ขอรับการจัดสรร “วัคซีนตัวเลือก” ซิโนฟาร์ม ระยะที่ 1 ตามที่มีการเสนอข่าวไปก่อนหน้านี้
ล่าสุด ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศดีเดย์ เริ่มฉีดวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" วันแรก 25 มิถุนายนนี้ คาดว่าวัคซีนล็อตแรก จำนวน 1 ล้านโดส จะมาถึงไทยวันที่ 20 มิ.ย. ใช้เวลาตรวจสอบคุณภาพ 2 วัน จากนั้นเริ่มกระจายวันที่ 23-24 มิ.ย. สำหรับหลักเกณฑ์การบริหารจัดการ ให้หน่วยงานแสดงความประสงค์ขอรับการจัดสรรวัคซีนกับราชวิทยาลัยผ่านระบบออนไลน์ วันที่ 14 มิ.ย. หน่วยงาน ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ ศบค. กำหนดราคาวัคซีนเข็มละ 888 บาท ไม่เก็บเพิ่มจากผู้รับวัคซีน หน่วยงานบริจาควัคซีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ที่ขอรับจัดสรรจากราชวิทยาลัย
อ่านข่าว : "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" ดีเดย์ฉีดวัคซีน โควิด-19 "ซิโนฟาร์ม" 25 มิถุนายน นี้
ขณะเดียวกันเชื่อว่าประชาชนหลายคนอยากรู้ถึงประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนฟาร์มในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิดได้มากน้อยแค่ไหน โดยวันนี้เราจะมาดูประสิทธิภาพวัคซีนซิโนฟาร์มกันแบบเป็นข้อๆกันเลย
1.วัคซีนซิโนฟาร์มมีชื่อการค้าว่า COVILO 2.เป็นวัคซีนเชื้อตายเหมือนวัคซีนซิโนแวค 3.ได้รับการอนุมัติในภาวะฉุกเฉินจาก WHO4.ฉีดได้ตั้งแต่ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป 5.วิคซีนซิโนฟาร์มใช้ในการฉีดให้แก่ประชาชนทั้งหมด 57 ประเทศ6.มีประสิทธิภาพรวมร้อยละ 78 7.ป้องกันโรคแบบรุนแรงและเสียชีวิตได้ 100% 8.ฉีดจำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ 9.วัคซีนซิโนฟาร์มต้องจัดเก็บในอุณหภูมิ 2-8 องศา
สำหรับโรงพยาบาลที่จะฉีดวัคซีนนั้น จะมีทั้งที่ราชวิทยาลัยฯสอบถามความพร้อมของโรงพยาบาล และหน่วยงานเสนอชื่อโรงพยาบาลมาให้ราชวิทยาลัยฯเลือก เพราะต้องราชวิทยาลัยฯ ต้องดูความสามารถของโรงพยาบาล ในการดูแลวัคซีน ระบบไอที รวมทั้งศักยภาพในการฉีดวัคซีน และจะขึ้นทะเบียนไว้เพื่อให้หน่วยงานเลือก เพราะเราต้องการให้ประชาชนได้วัคซีนเร็วที่สุด
มาย้ำกันชัดๆอีกครั้ง สำหรับข้อกำหนดผู้ขอรับการจัดสรร “วัคซีนตัวเลือก” ซิโนฟาร์ม ระยะที่ 1 ต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
1. เป็นองค์กรนิติบุคคลหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐ ( สำหรับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้เป็นไปตามประกาศ ศบค. เรื่องแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ข้อ 5) องค์กรการกุศลและหน่วยงานเอกชน โดยจะพิจารณาการจัดสรรในระยะที่ 1 ตามประเภทการดำเนินงานของหน่วยงาน (ความสำคัญด้านความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำ) ระดับความเสี่ยงของโอกาสในการแพร่เชื้อให้กับสังคม และระดับความเสี่ยงโควิดบนพื้นที่ของทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ
2. องค์กร/หน่วยงานสามารถจัดสรรวัคซีนให้แก่กลุ่มบุคคลที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนตัวเลือกได้ทุกประเภท ทั้งพนักงาน ครอบครัวพนักงานและแรงงานต่างชาติ แต่ไม่อนุญาตให้เรียกเก็บเงินค่าวัคซีนและค่าบริการอื่นๆ กับผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนได้และห้ามหาผลประโยชน์ทางการค้า ทั้งนี้ หากองค์กร/หน่วยงานใดฝ่าฝืนระเบียบตามข้อกำหนดราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะดำเนินการปรับในอัตรา 15 เท่าของมูลค่าวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร
3. องค์กร / หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนตัวเลือกยินดีร่วมช่วยเหลือสังคม ด้วยการบริจาควัคซีนตัวเลือก จำนวน 10 % ของจำนวนวัคซีนตัวเลือกที่ได้รับการจัดสรรจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อให้กับชุมชนผู้ด้อยโอกาส โดยรายละเอียดและขั้นตอนในเรื่องนี้จะแจ้งให้ทราบต่อไ
4. องค์กร / หน่วยงาน จะต้องประสานจัดหาโรงพยาบาลเพื่อรองรับการฉีดวัคซีนตัวเลือก โดยโรงพยาบาลดังกล่าวจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาลให้บริการฉีดวัคซีนตัวเลือกกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อควบคุมมาตรฐานความปลอดภัย โดยค่าบริการฉีดวัคซีนนั้น สถานพยาบาลสามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้กับองค์กร/หน่วยงานนั้นได้ แต่ห้ามเรียกเก็บจากผู้รับการฉีดเป็นอันขาด