ข่าว

"สมาคมโรคติดเชื้อ" ส่งจดหมายจี้นายกฯ หา "วัคซีนโควิด" ชนิดอื่นมาแทน "ซิโนแวค"

"สมาคมโรคติดเชื้อ" ส่งจดหมายจี้นายกฯ หา "วัคซีนโควิด" ชนิดอื่นมาแทน "ซิโนแวค"

30 มิ.ย. 2564

"สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย" ส่งจดหมายถึง "นายกฯ" จี้เร่งจัดหาวัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ มาทดแทนวัคซีนชนิดเชื้อตายของ "ซิโนแวค" หวั่นสู้สายพันธุ์ใหม่ไม่ได้

วันที่ 30 มิ.ย. 2564 สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ลงนามโดย ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 29 มิ.ย.2564 โดยเนื้อหาระบุว่า กราบเรียน ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ศบค. ที่เคารพ

 

 

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น ทางรัฐบาลได้เริ่มออกมาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อควบคุมการระบาด หนึ่งในมาตรการที่สำคัญ คือการเร่งระดมฉีดวัคซีนให้ประชาชนให้ครอบคลุมประชากรให้มากที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและประชากรกลุ่มเปราะบางต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยลดความรุนแรงของการระบาดได้ ดังเช่นประสบการณ์ในประเทศอื่นๆ

 

ทางสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย มีความห่วงใยในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่มีความผันแปรตลอดเวลา โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ของไวรัส ที่มีส่วนทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง จึงใคร่ขอนำเรียนเพื่อพิจารณาในประเด็นตังต่อไปนี้

 

1. นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกคาดหมายว่าไวรัสสายพันธุ์อินเดีย จะกลายเป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดกว้างขวางที่สุด และเป็นสายพันธุ์เด่นทั่วโลก ดังที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดียและประเทศอังกฤษ

 

2. วัคซีนทุกชนิดที่ใช้อยู่ในโลกขณะนี้ กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไววัสสายพันธุ์อินเดียได้น้อยลงเมื่อเทียบกับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม ข้อมูลเท่าที่มีพบว่าสำหรับวัคซีนชนิด mRNA แม้จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ลดลง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง และวัคชีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ เช่น วัคนของบริษัท AstraZeneca กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อยลง ส่วนวัคซีนชนิดเชื้อตาย คือ Coronavac (Sinovac) นั้น ไม่มีข้อมูล เนื่องจากวัดซีนนี้ ไม่เคยมีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่ทำอย่างเป็นระบบและตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสลายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์อังกฤษที่ได้จากวัดซีนชนิดนี้ต่ำกว่า ที่ได้จากวัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ จึงคาดหมายได้ว่า ระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์อินเดียน่าจะลดลงต่ำไปกว่านั้นอีก จนอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนนี้ในภาพรวม

 

3. ข้อมูลประสิทธิผลของวัดซีนจากบริษัท Sinovac ในประเทศไทยที่พบว่าระดับภูมิคุ้มกันหลังการได้รับวัคซีน 2 เข็ม มีระดับเพียงพอ ลดอัตราการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้ เป็นข้อมูลที่เก็บในช่วงของการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์อังกฤษ จึงยังไม่อาจนำข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีน มาใช้ในการพิจารณาจัดซื้อวัคซีนในรุ่นถัดไป

 

4. ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้วัคซีนเพื่อการควบคุมการระบาด ล้วนแต่ใช้วัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะทั้งสิ้น ส่วนประเทศที่ใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายเป็นหลัก เช่น อินโดนีเซียและชิลี ยังพบผู้ป่วยใหม่ในอัตราที่สูงมาก แม้จะลดอัตราตายได้ แต่ก็เป็นภาระต่อระบบสาธารณสุขของประเทศเหล่านั้นเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นในขณะนี้เริ่มปรากฎเป็นข่าวในสื่อมวลชนแล้วว่า มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 มากขึ้น ในประเทศอินโดนีเซีย ในประเทศชิลี มีการใช้วัคซีนชนิด mRNA เพิ่มขึ้นอย่างมาก และพบว่าวัคซีนชนิด mRNA มีประสิทธิผลสูงกว่าวัคซีนของบริษัท Sinovac ในทุกด้าน ทั้งการป้องกันการป่วย (90.9% เทียบกับ 63.6%) ป่วยป่านกลาง (97.1% เทียบกับ 87.3%), ป่วยหนักเข้า ICU (98.4% เทียบกับ 90%) และเสียชีวิต (91.8% เทียบกับ 86.4%) การเลือกชนิดของวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมป้องกันโรค จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อนโยบายการเปิดประเทศภายใน 120 วัน ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้ประกาศไปแล้ว

 

 

ด้วยเหตุผลตังกล่าว สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย จึงขอเสนอแนวทางเรื่องวัคซีน ดังนี้

 

1. รัฐบาลควรเร่งรัด และสร้างหลักประกันในการที่จะมีวัคซีนที่ได้วางแผนจัดซื้อไว้แล้ว ให้มีใช้ในปริมาณที่เพียงพอ และถ้าเป็นไปได้ให้มีวัคซีนเข้ามาเร็วกว่าเดิม เพื่อเร่งระดมให้กับประชาชนให้ครอบคลุมได้ตามเป้าหมายโดยเร็วต่อไป การเร่งให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนโดยเร็วที่สุดดังกล่าวนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ จะช่วยชะลอการระบาดของเชื้อทุกสายพันธุ์ได้ระดับหนึ่งจนกว่าจะมีวัคซีนที่ออกแบบมาโดยเฉพาะกับเชื้อสายพันธุ์ใหม่

 

2. เร่งรัดจัดหาวัคซีนชนิดอื่น เช่น วัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ มาทดแทนวัคซีนชนิดเชื้อตายของบริษัท Sinovac ซึ่งในแผนการจัดซื้อวัคซีนเพิ่มเติมให้ครบ 150 ล้านโดสนั้น มีสัดส่วนของวัคซีนของบริษัท Sinovac ค่อนข้างมาก ทั้งที่มีแนวโน้มว่าวัคซีนนี้น่าจะป้องกันโควิด-19 ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้ หากได้วัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะเพิ่มขึ้น โดยจัดหาวัคซีนชนิด mRNA มาในสัดส่วนที่มากที่สุด น่าจะเป็นผลดีต่อการควบคุมป้องกันโรคมากกว่า ทั้งนี้หากสามารถจัดหามาได้ในปริมาณมาก ตั้งแต่ก่อนสิ้นปีนี้ ยิ่งจะเป็นการดี

 

3. รัฐบาลควรมีแผนการจัดหาวัคซีนรุ่นต่อไป ที่ผู้ผลิตออกแบบให้สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้ รวมทั้งเตรียมการจัดซื้อล่วงหน้า โดยแก้ไขหรือยกเลิกระเบียบขั้นตอนที่ยุ่งยากทางราชการที่ทำให้การจัดซื้อเป็นไปด้วยความล่าช้า มีแนวนโยบายและการสั่งการที่ชัดเจนในประเด็นของความเร่งด่วนของสถานการณ์ อย่างไรก็ตามยังคงต้องคำนึงถึงความโปร่งใส สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ด้วย

 

4. รัฐบาลควรส่งเสริมนักวิจัยและอุตสาหกรรมยาในประเทศ ให้สามารถทำวิจัยได้สำเร็จ และมีศักยภาพที่จะผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพสูงได้เองภายในประเทศ เพื่อลดการพึ่งพิงต่างชาติ ทั้งยังอาจเป็นหนทางสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย

 

\"สมาคมโรคติดเชื้อ\" ส่งจดหมายจี้นายกฯ หา \"วัคซีนโควิด\" ชนิดอื่นมาแทน \"ซิโนแวค\"

 

\"สมาคมโรคติดเชื้อ\" ส่งจดหมายจี้นายกฯ หา \"วัคซีนโควิด\" ชนิดอื่นมาแทน \"ซิโนแวค\"