เช็กที่นี่ อาการ "โควิด-19" ใครบ้างติดเชื้อ 3 สายพันธุ์ อินเดีย อังกฤษ แอฟริกาใต้
เช็กที่นี่ อาการ "โควิด-19" ใครติดเชื้อ 3 สายพันธุ์ อินเดีย อังกฤษ แอฟริกาใต้ ตรวจสอบได้ที่นี่
ตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนกรกฏาคม 2564 ประเทศไทยพบการแพร่ระบาดของเชื้อ "โควิด-19" ไปแล้ว 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วยสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) , สายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) และสายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้) โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีความไวในการแพร่เชื้อที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอาการของผู้ป่วย ก็จะมีอาการที่แตกกันอีกด้วย
โควิดสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)
เริ่มกันที่โควิดสายพันธุ์เดลต้า ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อจำนวน 661 ราย โดยโควิดสายพันธุ์นี้ถูกค้นพบที่ประเทศอินเดีย และมีการแพร่กระจากที่รวดเร็วมาก โดยขณะนี้กว่า 93 ประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาอยู่ และเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) กำลังแพร่กระจายอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ คาดกันว่า จากนี้ไปอีกราว 2-3 สัปดาห์ เชื้อ ”เดลต้า”นี้ ก็จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) ที่เคยระบาดอยู่ในประเทศไทย
ส่วนการพบเชื้อ จากหลักฐานทางการแพทย์ระบุว่า พบครั้งแรกในบ้านพักคนงานย่านหลักสี่ และข้อมูลผู้ติดเชื้อจากการรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (22 มิ.ย.) พบผู้ติดเชื้อจำนวน 661 ราย โดยจังหวัดที่พบมากสุด คือ กรุงเทพมหานคร
อาการจากโควิดสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)
ปวดหัว
เจ็บคอ
มีน้ำมูก
ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา
หากรู้สึกไม่สบาย คล้ายเป็นหวัด ให้สังเกตตัวเอง หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบไปพบแพทย์
“โควิด”สายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ)
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลการรายงานขององค์กรสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (Public Health England) และองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า สายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 1.7 เท่า
อาการจากโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ)
มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
เจ็บคอ
หายใจหอบเหนื่อย
ปวดตามร่างกายและศีรษะ
การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
หากพบอาการข้างต้น ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้ได้ผลที่แน่ชัด
"โควิด-19"
"โควิด-19" โควิดสายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้)
ส่วนโควิดสายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้) พบการระบาดในทางภาคใต้ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งผู้ที่ลักลอบเข้าเมืองจากประเทศเพื่อนบ้าน เป็นพาหนะในการนำเชื้อดังกล่าวเข้ามา และพบผู้ติดเชื้อครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564
ทั้งนี้ สายพันธุ์เบต้า แพร่กระจายเชื้อไม่รวดเร็วเท่าสายพันธุ์เดลต้า และอัลฟ่า แต่ความสามารถของเชื้อ “สายพันธุ์เบต้า” คือ ทำให้เกิดอาการป่วย หรือเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม
ฉะนั้น “โควิด” สายพันธุ์แอฟริกาใต้ จึงแพร่กระจายเร็ว และมีอาการรุนแรง แถมยังดื้อวัคซีน โดยเมื่อมีการติดตามไทม์ไลน์ พบว่า สายพันธุ์แอฟริกาใต้ มาจากคลัสเตอร์ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
อาการจากโควิดสายพันธุ์เบต้า “แอฟริกาใต้”
ปวดเมื่อยตามร่างกาย
เจ็บคอ
ท้องเสีย
ปวดศีรษะ
ตาแดง
การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
ทั้งนี้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ระบุเอาไว้ด้วยว่า "โควิด-19" สายพันธุ์เดลตา หรือ สายพันธุ์อินเดีย เริ่มพบในแคมป์คนงานก่อสร้าง และมีการระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อัลฟ่าอยู่ 1.4 เท่า
และสายพันธุ์เดลตา ติดได้ง่ายมาก ก็จะเกิดการระบาดเพิ่มขึ้น เป็นยอดของการระบาดระลอกใหม่ และขณะนี้ที่กรุงเทพฯ จากการศึกษาวิจัย พบว่าอัตราส่วนสายพันธุ์เดลตา มีการระบาดสูงขึ้น และเร็วมาก จนขณะนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยเป็นสายพันธุ์เดลตา
"โควิด-19"
และสายพันธุ์เดลตา ติดต่อได้ง่ายมาก ดังนั้น ในบางครั้งจะไม่รู้เลยว่า รับเชื้อมาจากที่ใด และการระบาดจะเพิ่มสูงขึ้นนับจากนี้ไป ทั้งนี้ การดูแลป้องกัน จึงเป็นหน้าที่ของทุกคน ในการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด มีระเบียบวินัย ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หมั่นล้างมือใช้แอลกอฮอล์เป็นนิจ เว้นระยะห่าง และต้องตระหนักเสมอว่า โอกาสที่จะติดเชื้อเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าไม่จำเป็นอยู่บ้านจะดีที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"จุดตรวจโควิดฟรี" วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน ชาวบ้านแห่กางเต็นท์ นอนรอคิว