ข่าว

6 ปัญหา "บุษราคัม" ข้อเท็จจริงโรงพยาบาลสนาม จุกอกบุคลากรด่านหน้า

6 ปัญหา "บุษราคัม" ข้อเท็จจริงโรงพยาบาลสนาม จุกอกบุคลากรด่านหน้า

11 ก.ค. 2564

ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย รายงานสถานการณ์ โรงพยาบาลสนาม "บุษราคัม" 6 ปัญหาจุกอกบุคลากรด่านหน้า

เกาะติดสถานการณ์วิกฤติการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ระลอกใหม่ (เมษายน 2564) ในประเทศ ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงาน วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม 2564 เวลา 12.30 น. (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564) พบ ผู้ป่วยรายใหม่ 9,539 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 307,508 ราย หายป่วยแล้ว 220,545 ราย เสียชีวิตสะสม 2,617 ราย ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 10 กรกฎาคม 2564 มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 12,469,188 โดส โดยวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 83,072 ราย และ เข็มที่ 2 จำนวน 10,212 ราย

อนุตตร จิตตินันทน์, ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, โควิด-19, ปัญหา, โรงพยาบาลสนามบุษราคัม, โรงพยาบาลบุษราคัม, บุษราคัม

อนุตตร จิตตินันทน์, ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, โควิด-19, ปัญหา, โรงพยาบาลสนามบุษราคัม, โรงพยาบาลบุษราคัม, บุษราคัม

อนุตตร จิตตินันทน์, ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, โควิด-19, ปัญหา, โรงพยาบาลสนามบุษราคัม, โรงพยาบาลบุษราคัม, บุษราคัม

ล่าสุด พลอากาศโท นายแพทย์ อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย รายงานสถานการณ์ โรงพยาบาลสนามบุษราคัม พร้อมเผยปัญหาที่อยากสื่อสารข้อเท็จจริงให้ทุกฝ่ายรับทราบ

รายงานสถานการณ์ผู้ป่วย โควิด-19 (COVID-19) โรงพยาบาลบุษราคัม (ข้อมูล ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 12.42 น.)

ยอดเตียงรวม 3,700 เตียง

  • ICU 12 เตียง : ETT 6 เตียง , HFNC 4 เตียง , Cannula 2 เตียง (จุดประสงค์เพื่อเอาไว้ดูแลเคสเพื่อรอ refer แต่การ refer ยากมาก เพราะที่อื่นก็เต็มหมดครับ ICU นี้ไม่ได้เป็นห้อง negative pressure นะครับ)
  • HFNC 190 เตียง ที่เหลือ เป็น ผู้ป่วยสีเหลือง และสีเขียว (ไม่ทราบว่าอย่างละเท่าไหร่ครับ)

 

สถานที่ Impact Convention 3 Hall :

  • Hall 1 ดูแลผู้ป่วยชาย เน้นที่สีเหลือง ประมาณ 1,000 เตียง
  • Hall 2 ดูแลผู้ป่วยสีเขียวเป็นหลัก ประมาณ 1,500 เตียง
  • Hall 3 ดูแลผู้ป่วยหญิง เน้นที่สีเหลือง ประมาณ 1,000 เตียง

 

ผู้ป่วย HFNC และ Cannula กระจายอยู่ตายที่ต่าง ๆ มีการจัดกลุ่มเฉพาะ High Setting มารวมกันที่ Zone G (ประมาณ 50 เตียง)

บุคลากรแพทย์ แบ่งเป็น เวร : เช้า / บ่าย / ดึก

  • เวรเช้า / บ่าย (รวมประมาณ 15 - 20 คน) : Chief 1 คน (ติดต่อ refer / จัดระเบียบเตียง) , ICU 2 คน (Gen. Med + Chest/ ID) , ดูแล HFNC 4 คน , ดูแลเคสอื่น ๆ ประมาณ10 คน
  • เวรดึก 5 - 6 คน ช่วย ๆ กันดูทุกอย่าง

พยาบาลทำงานกันหนักมาก แต่น้องหมอไม่รู้จำนวนพยาบาลทั้งหมด

 

ปัญหาเท่าที่ได้คุยกับน้อง

  • refer เคส ICU ยากมาก เพราะ รพ. ส่วนใหญ่ก็เต็ม น้องเข้าใจ
  • มีเสียชีวิตที่ รพ.บุษราคัม แต่ต้องปั๊มส่งไปให้เสียชีวิตที่ รพ.พระนั่งเกล้า ทำให้คุยกับญาติยากมาก
  • แพทย์ที่มาช่วยงานจาก ตจว. ส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้เครื่อง High flow มาก่อน น้องจบใหม่จึงต้องเป็นคนดูเป็นส่วนใหญ่
  • ไม่รู้ว่าจะได้รับเบี้ยเลี้ยง ค่าเวร และค่าเสี่ยงอันตรายหรือไม่
  • ยังไม่รู้ว่าต้องทำงานอยู่นานเท่าไหร่ถึงได้กลับต้นสังกัดต่างจังหวัด
  • อยากให้สื่อสารข้อเท็จจริงให้ทุกฝ่ายรับทราบด้วย

 

อนุตตร จิตตินันทน์, ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, โควิด-19, ปัญหา, โรงพยาบาลสนามบุษราคัม, โรงพยาบาลบุษราคัม, บุษราคัม

"ขอบคุณความเสียสละของน้อง ๆ ทุกคน และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ด้วยครับ ฝากผู้ใหญ่กระทรวงดูแลน้อง ๆ แบบที่บอกในวันแถลงข่าวด้วยครับ" ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ทิ้งท้าย

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง