ข่าว

"มหิดล" ผุดวิธีตรวจเชิงรุกกลุ่มเสี่ยง"โควิด-19"

"มหิดล" ผุดวิธีตรวจเชิงรุกกลุ่มเสี่ยง"โควิด-19"

12 ก.ค. 2564

"มหิดล" ผุดวิธีตรวจเชิงรุกกลุ่มเสี่ยง"โควิด-19" แต่ยังพบปัญหา ใช้เวลานาน

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผู้ติดเชื้อรายวัน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเราไม่รู้เลยว่า เราจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เชื้อไวรัสโคโรนา จะเข้าถึงตัวเมื่อไร ทางมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักถึงการเร่งตรวจหาเชื้อเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง จึงได้ให้ความรู้วิธีการตรวจหาโรค Covid-19 เตรียมพร้อมก่อนที่จะถึงคิวคุณ เพราะการตรวจหาเชื้อ ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป

 

\"มหิดล\" ผุดวิธีตรวจเชิงรุกกลุ่มเสี่ยง\"โควิด-19\"

วิธีการตรวจโควิด-19

1. ป้ายตัวอย่างจากด้านในของโพรงจมูกของผู้ป่วย ส่งไปยังห้องปฏบัติการ

2. สกัด RNA ของไวรัส และทำให้บริสุทธิ์ เปลี่ยนแปลง RNA ให้เป็น DNA โดยเอ็นไซด์ reverse transcriptast

3. เพิ่มกระบวนการ DNA ด้วยกระบวนการ (PCR Polymerase) ซึ่งประกอบไปด้วยการผสม DNA ของไวรัสเข้ากับไพรเมอร์ ซึ่งมีความจำเพาะต่อ DNA ของไวรัส จากนั้น เพิ่มและลดอุณหภูมิเป็นวงจร ทำให้เกิดการคัดลอก DNA ของไวรัสให้เพิ่มจำนวนนับล้านชุด

4. ทุกรอบของการเพิ่มและลดอุณหภูมิในกระบวนการ PCR ปริมาณ DNA ที่ถูกคัดลอกจะเพิ่มขึ้น สีย้อมฟลูออเรสเซนต์จะจับกับ DNA ทำให้เกิดการเรืองแสง ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดปริมาณของ DNA และไวรัสที่มีอยู่ในตัวอย่าง 

ปัญหาการทดสอบ

- ใช้เวลาในการตรวจสอบนาน 2-3 ชั่วโมง ทำให้ทดสอบจำนวนตัวอย่างได้น้อย

- ผลบวกปลอม และผลลบปลอม การย่อยสลายหรือการปนเปื้อนตัวอย่าง อาจทำให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง 

การทดสอบการติดเชื้อในอนาคตมี 2 วิธี 

1. การตรวจหาไวรัส บ่งบอกถึงการติดเชื้อในปัจจุบัน

2.การตรวจหาแอนติบอดี้ หรือภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย บ่งบอกในกรณีที่ผู้ป่วยเคยติดเชื้อมาก่อน และอาจฟื้นตัวแล้ว ซึ่งในกรณีนี้อาจตรวจหาเชื้อไวรัสไม่พบ และทำให้แปลผลว่าไม่มีการติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม การตรวจหาเชื้อ อาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือทั้งสองวิธีประกอบกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการตรวจ

ที่มา:คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล