"วัคซีนไฟเซอร์" อธิบดีกรมควบคุม ยืนยัน บุคลากรทางการแพทย์ ได้รับไม่ต่ำกว่า 5 แสนโดส ย้ำไม่มีโควตา VIP
อธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยันบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ ไม่ต่ำกว่า 5แสนโดส เริ่มฉีดลอตแรก ต้นเดือนสิงหาคมนี้แน่นอน พร้อมยืนยัน ไม่มีการให้ VIP อย่างแน่นอน
จากกรณีที่มีกระแสข่าว วัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับบริจาคจากประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 1.5 ล้านโดส จะถูกจัดสรรให้บุคคลากรทางการแพทย์ เพียง 2แสนโดส นั้น นายแพทยรุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวยืนยันว่า กรณีดังกล่าวเป็นข่าวปลอม และ ไม่เป็นความจริง โดยข้อเท็จจริงคือกระทรวงสาธารณสุข จะทำการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ให้แก่บุคลากรด่านหน้าหรือบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ต่ำกว่า 5แสนโดส โดยวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน1.54 ล้านโดสที่ได้รับบริจาค เป็นวัคซีนล็อตแรก ที่จะเข้ามา ในประเทศไทยภายในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยจะสามารถเริ่มฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ได้ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม
ขอเน้นย้ำว่าบุคลากรด่านหน้า บุคลากรทางการแพทย์ ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เป็นกำลังสำคัญ ที่จะทำให้ระบบสาธารณสุขเดินหน้าเพื่อดูแลประชาชน จะได้รับการฉีดไม่น้อยกว่า 5 แสนโดสอย่างแน่นอน นอกจากนี้จะจัดสรรส่วนอื่นไปยังกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง รวมถึงเพื่อใช้ในควบคุมการระบาด นี่คือข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ในการฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ จะเป็นการฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 เพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันหรือ Booster dose จำนวน 50,000 โดส ขณะนี้บุคลากรส่วนหนึ่ง ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นด้วย วัคซีนแอสตาเซเนกาบ้างแล้วในบางส่วน และข้อมูลที่ได้พบว่า หลังจากที่ได้รับวัคซีนซิโแวค 2 โดส และฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกา กระตุ้นภูมิคุ้มกันนั้น มีระดับภูมิคุ้มกันที่สูง โดยเปรียบเทียบจาก การฉีด ซิโนแวค 2โดส และตามด้วยแอสตราเซเนกา กับ การฉีดแอสตราเซเนกา 2โดส และการฉีดวัคซีนไฟเซอร์กับไฟเซอร์ พบว่า มีระดับภูมิคุ้มกันสูงมากใกล้เคียงกัน
สำหรับกระแสข่าวที่ออกมาว่ากระทรวงสาธารณสุขได้มีการบังคับบุคลากรทางการแพทย์ให้ ฉีดวัคซีนแอสต้าเป็นเข็มกระตุ้นนั้น ไม่เป็นข้อเท็จจริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคลากรทางการแพทย์ที่สมัครใจ รวมถึง ขณะนี้ ยังได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะฉีดเพิ่มเติมให้แก่บุคลากรด้านหน้า บุคลากรด้านการแพทย์ตามจำนวนที่แจ้งไว้ ด้วยความสมัครใจ
ขณะที่การเดินหน้าเรื่องวัคซีนไฟเซอร์ที่กำลังจะเข้ามาจำนวน 1.54 ล้านโดส จะสามารถเริ่มฉีดได้ในต้นเดือนสิงหาคมนี้ และวัคซีนไฟเซอร์อีกจำนวน 20 ล้านโดสที่จะเข้ามาในประเทศไทย จะสามารถเริ่มฉีดได้ในช่วงเดือน เดือนตุลาคมถึงธันวาคมปีนี้
สำหรับกระแสข่าวว่า มีการเรียกเก็บเงินและเรียกค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ก็ไม้เป็นความจริง วัคซีนไฟเซอร์ทั้งหมดทั้ง 21.54 ล้านโดส เป็นวัคซีนที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากประชาชน และจะเน้นให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด
ขณะนี้การแอบอ้างใดๆก็ตามการหลอกลวงการเรียกเก็บเงินหรือแม้แต่การให้ข่าวปลอมนอกจากจะสร้างความสับสนสร้างความปั่นป่วนในสถานการณ์ที่เกิดภาวะวิกฤตในขณะนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินคดี ในกรณีดังกล่าวให้ถึงที่สุด
สำหรับแผนการจัดสรรวัคซีนที่เราดำเนินการในขณะนี้ตามผลการศึกษาของระดับภูมิคุ้มกันรวมถึงกระบวนการควบคุมโรค ไม่ว่าจะเป็นการเร่งฉีดในกลุ่ม 608 หรือกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี , 7 กลุ่มโรค,และสตรีมีครรภ์ รวมถึงการปรับการใช้การฉีดวัคซีนแบบสลับชนิด และการฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกานั้น ในประเทศไทยในขณะนี้ทั้งสองกลุ่ม ระดับภูมิคุ้มกันไม่แพ้วัคซีนตัวอื่น และจะเห็นว่าระดับภูมิคุ้มกันใกล้เคียงกัน และมากกว่าภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเองแล้วร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันอีกด้วย โดยจะเร่งดำเนินการฉีดให้ประชาชนทั้งในกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงอย่างทั่วถึงมากที่สุด
โดยการกระจายวัคซีน ประชาชนจะได้วัคซีนกลุ่มดังกล่าว เรียงตามลำดับจากประชาชนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงก่อน และการจัดหาวัคซีน หรือจัดสรรวัคซีนดังกล่าวจะไม่มีการจัดสรรให้กลุ่มพิเศษ VIP หรือกลุ่มอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในลำดับความสำคัญอย่างเด็ดขาดในกรณีดังกล่าว หากท่านพบขอให้แจ้งมายังกระทรวงสาธารณสุข