
สธ. เผยหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ "โควิด-19"เพิ่ม พ.ค มียอดติดเชื้อ กว่า 800 คนต่อเดือน มีทารกที่ติดเชื้อ 113 คน
หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ"โควิด-19" 1,993 คน แนวโน้มเพิ่มขึ้น พ.ค มียอดติดเชื้อ กว่า 800 คนต่อเดือน มีทารกที่ติดเชื้อ 113 คน ย้ำป้องกันตัวเองเข้มข้น ทั้งขณะไปตรวจครรภ์ และอยู่บ้าน
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัยกล่าวในการ แถลงข่าว หญิงตั้งครรภ์กับโควิด-19 ว่า ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 - 11 สิงหาคม 2564 พบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 1,993 คน เป็นคนไทย 1,315 คน ต่างด้าว 678 คน อยู่ในช่วงอายุ 20 - 34 ปี 74.21 % ส่วนใหญ่ติดเชื้อในครอบครัวและสถานที่ทำงานติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ติดเชื้อ จำนวน 417 ราย สมุทรสาคร 370 ราย ปทุมธานี 81 รายยะลา 80 ราย สงขลา 74 รายสมุทรปราการ 71 รายนราธิวาส 71 รายพระนครศรีอยุธยา 68 รายขอนแก่น 53 รายและจังหวัดตาก 4 รายพบหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดแล้วทั้งหมด 37 คิดเป็น 1.8 % คนซึ่งยังไม่รวมในวันที่ 13 สิงหาคมที่มีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตอีกสองรายที่จังหวัดชัยนาทและอุดรธานีทารกเสียชีวิตขณะคลอด 11 รายทารกเสียชีวิตในเจ็ดวันแรกเก้ารายทารกเสียชีวิตทั้งหมด 20 โดยหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อคลอดแล้ว 1,129 คน คิดเป็น 55.65 % เป็นการผ่าตัดคลอด 53 % และพบการคลอดก่อนกำหนดหรือก่อน 37 สัปดาห์ เกือบ 18 % สูงกว่าปกติที่พบได้ประมาณ 10 % พบทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ถึง 16 % สูงกว่าภาวะปกติที่พบประมาณ 8 %
นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวด้วยว่า ระลอกเมษายนส่งผลให้หญิงมีครรภ์ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากที่พบเดือนละ 5- 25 คนในการระบาดช่วงธันวาคม 2563 – มีนาคม 2564 ในเดือนพฤษภาคมพบมากกว่า 200 คน และกรกฎาคมมากกว่า 800 คน คนมีทารกที่ติดเชื้อ 113 คน และจากการวิเคราะห์ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่เสียชีวิตจำนวน 23 คน พบว่าสาเหตุแต่ละรายเกิดจาก 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยจากหญิงตั้งครรภ์ 9 % โดยหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงของตนเอง , การเข้าถึงบริการ 21% และ , ข้อจำกัดภายในระบบบริการ 70 % ทั้งนี้ข้อมูลจากระบบหมอพร้อมพบว่ามีสตรีมีครรภ์ได้รับวัคซีนจนถึงวันที่ 11 สิงหาคมเข้มหนึ่งจำนวน 7935 คนเข็มสองจำนวน574 คน
ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้วเพียง 7,935 คน และเข็มสอง 574 คน จึงจำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ให้ครอบคลุมมากที่สุดตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และมติที่ประชุมคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็กแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบให้หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์
หลัง 12 สัปดาห์ และหญิงให้นมบุตรสามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ เพื่อลดความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง และการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19
นอกจากนี้ แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว ยังต้องไปตรวจครรภ์ ตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ตามนัดหมาย โดยป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัดตามมาตรการ DMHTT สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร สังเกตอาการผิดปกติของการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ สถานประกอบการ หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ควรสนับสนุนให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ทำงานที่บ้าน (Work From Home) ได้แก่ กลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม, ตั้งครรภ์ในไตรมาส 3 หรือ 28 สัปดาห์ขึ้นไป, มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง, ทำงานในสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงสูง หรืออยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด