ข่าว

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเปิดงาน 'อัตลักษณ์แห่งสยาม' ครั้งที่ 14

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเปิดงาน 'อัตลักษณ์แห่งสยาม' ครั้งที่ 14

22 พ.ค. 2566

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเปิดงาน 'อัตลักษณ์แห่งสยาม' ครั้งที่ 14 สืบสานงานหัตถศิลป์ล้ำค่าคู่พระบารมี ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

เวลา 13.28 น. วันนี้ (22 พ.ค. 66) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงาน "อัตลักษณ์แห่งสยาม" ครั้งที่ 14 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเปิดงาน \'อัตลักษณ์แห่งสยาม\' ครั้งที่ 14

 

โอกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระราชทานพระราชวโรกาสให้รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานฯ และกราบบังคมทูลเชิญเปิดงานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่14 ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาขน) เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายผอบคร่ำทองของที่ระลึกงานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 14

 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเปิดงาน \'อัตลักษณ์แห่งสยาม\' ครั้งที่ 14

 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเปิดงาน \'อัตลักษณ์แห่งสยาม\' ครั้งที่ 14

 

จากนั้นเสด็จฯ ไปทรงตัดแถบแพรเปิดงาน "อัตลักษณ์แห่งสยาม" ครั้งที่ 14  และทอดพระเนตรนิทรรศการ ประกอบด้วยนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย, นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ซึ่งได้จัดแสดงพระฉายาลักษณ์ ฉลองพระองค์ที่ตัดเย็บจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าพื้นถิ่นต่างๆ แต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อแสดงถึงพระราชกรณียกิจด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทย,นิทรรศการ "มรดกสยามอันล้ำค่า" จัดแสดงและสาธิตงานศิลปหัตถกรรมที่ล้ำค่า หาดูยาก โดยครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรมและทายาท ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยปี 2552- 2565

 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเปิดงาน \'อัตลักษณ์แห่งสยาม\' ครั้งที่ 14

 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเปิดงาน \'อัตลักษณ์แห่งสยาม\' ครั้งที่ 14

 

ต่อจากนั้น ทอดพระเนตรกิจกรรมสาธิตกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยการจัดแสดงสาธิตการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรม ซึ่งเป็นการรักษามรดกภูมิปัญญาที่แสดงถึงทักษะฝีมือเชิงช่างของครูและทายาท,กิจกรรมสาธิตงานช่างศิลปาชีพนานาศิลปาชีพ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, บูธกิจกรรมหัตถศิลป์ทั่วถิ่นไทย, การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของครูศิลป์ของแผ่นดิน, ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม และทอดพระนิทรรศการเชิดชูครูศิลป์ของแผ่นดิน, ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2566

 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเปิดงาน \'อัตลักษณ์แห่งสยาม\' ครั้งที่ 14

 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงสนพระทัยการสาธิตศิลปหัตกรรมที่ล้ำค่า และทรงให้กำลังใจช่างในการสืบสานงานหัตถศิลป์ของแผ่นดินให้อยู่สืบไป และก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับทรงร่วมกิจกรรมทอผ้าไหมยกทองด้วยกี่ทอมือโบราณพันห้าร้อยตะกอ จากหมู่บ้านท่าสว่าง ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ยังคงอนุรักษ์วิธีการวิธีการทอผ้าไหมยกทองแบบโบราณ อันยังคงไว้ซึ่งงานหัตถศิลป์อันล้ำค่าของประเทศ

 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเปิดงาน \'อัตลักษณ์แห่งสยาม\' ครั้งที่ 14

 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเปิดงาน \'อัตลักษณ์แห่งสยาม\' ครั้งที่ 14

 

ทั้งนี้งาน "อัตลักษณ์แห่งสยาม" ครั้งที่ 14 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-28 พ.ค. 2566 โดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้แนวคิด ภูมิใจ ภูมิปัญญา สืบสานงานหัตถศิลป์ล้ำค่าคู่พระบารมี เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงเป็นต้นแบบด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานศิลปาชีพ และงานศิลปหัตถกรรมไทยอันเป็นมรดกของแผ่นดิน

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเปิดงาน \'อัตลักษณ์แห่งสยาม\' ครั้งที่ 14

 

ภายในงาน นอกจากการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ และนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปหัตถกรรมไทยแล้ว ยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยจากทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นที่รู้จักและเพิ่มช่องทางการตลาดแก่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย อีกทั้งมีกิจกรรมทดลองทำงานศิลปหัตถกรรมด้วยตัวเอง ทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย ซึ่งสอนโดยครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสืบสาน และสืบทอดภูมิปัญญาศิลปหัตถกรรมไทยแก่ช่างฝีมือและผู้สร้างสรรค์รุ่นใหม่สืบต่อไป