“ศานิตย์ มหถาวร” ตำรวจเศรษฐี ที่ปรึกษาไทยเบฟ?
“ศานิตย์ มหถาวร” ตำรวจเศรษฐี ที่ปรึกษาไทยเบฟ?
“พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร” ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ชื่อนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะจากประโยคเด็ด เจ้าของประโยคเด็ด “ตำรวจ 99.99% เป็นคนดี”
“ศานิตย์” หรือที่รู้จักกันในนาม “บิ๊กแป๊ะ” เขาเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 34 รุ่นเดียวกับ พล.ต.อ. ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เลขาธิการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
เมื่อวิกฤตการเมืองปี 2553 เขาซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่ง พ.ต.อ. ได้ ยื่นต่อศาลอาญาขออนุมัติออกหมายจับแนวร่วม นปช. จำนวน 17 ราย จากนั้นในปีเดียวกันเขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาล 3 พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลตำรวจตรี จากนั้่นเขาก็ไปดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับการประจำกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ,ผู้บังคับการกองร้องทุกข์ ,รองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ,รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 และผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ในตำแหน่งนี้เองเขาได้รับผิดชอบในคดีสำคัญๆ เช่นคดี 7 วัยรุ่นรุมแทงชายขายขนมปัง คดีมือฆ่าชิงไอโฟน หรือกระทั่งการตามติดคดีลูกชายนักธุรกิจขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2559 เขาก็ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
และจากการได้รับตำแหน่งเป็น สนช. นี่เอง ที่ทำให้ “ศานิตย์” เริ่มมีปัญหา เพราะในการชี้แจงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน นี้เอง มีส่วนหนึ่งที่เขาระบุว่า มีรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการเป็นที่ปรึกษาของ “บริษัทไทยเบฟเวอเรจ” โดยรับเป็นรายเดือนเดือนละ 50,000 บาท ตั้งแต่ปี 2558
แน่นอนว่าต้องมีคนตั้งคำถาม เพราะลักษณะเช่นนี้ นี้่ย่อมถือว่าผิดต่อจริยธรรมของข้าราชการ และ แน่นอนว่าอาจจะจัดต่อกฎหมาย ป.ป.ช. เพราะเขานั้นนอกจากจะเป็น ผบช.น. แล้ว ยังถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย เนื่องจากเป็น สนช.
โดย พ.ร.บ. ป.ป.ช. มาตรา 103 ระบุว่า “ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยช์อื่นใดจากบุคคลนอกเหนือจกทรัพบย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย ตามกฎหมาย หรือกำ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินอื่นใดโดยธรรมจรรยาตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด”
ซึ่งการฝ่าฝืนมาตราดังกล่าว มีโทษทั้งการถอดถอนและโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้การกระทำของเขาอาจจะเข้าข่ายการขัดกันแห่งผลประโยชน์อีกด้วย เพราะตำรวจนครบาลมีหน้าที่ดูแลสถานบริการ และการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน กทม. ขณะที่เงินค่าที่ปรึกษาที่เขาได้รับนั้นก็มาจาก “บริษัทไทยเบฟฯ” ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ที่ผ่านมาทั้ง “ศานิตย์” และ “ไทยเบฟ” ต่างปิดเงียบในเรื่องนี้ จนกระทั่งผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าไปสอบ ทั้งสองจึงต้องยื่นหนังสือชี้แจง โดย “ศานิตย์” แจงว่า ไม่ได้เป็นที่ปรึกษา จึงไม่มีการรับเงินในตำแหน่งดังกล่าว ส่วนที่ถูกระบุว่ามีการแจ้งว่าได้รับเงินดังกล่าวไว้ในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. อาจจะมีความผิดพลาด เพราะได้ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเตรียมเอกสารและยื่นให้ โดยไม่ได้ทำด้วยตัวเอง จึงอาจมีความเข้าใจผิด
เรียกได้ว่างานนี้โบ้ยให้ลูกน้อง
ขณะที่ “ไทยเบฟฯ” ก็บอกว่า ไม่ได้จ้างพล.ต.ท.ศานิตย์เป็นที่ปรึกษาของบริษัทฯ
ต้องดูว่า การพิจารณาของ ผู้ตรวจการแผ่นดิน และ ป.ป.ช. จะเป็นไปในทางใด เพราะตามปกติกแล้ว การเชื่อถือมักเชื่อถือพยานเอกสารมากกว่าพยานบอกเล่า ซึ่งแปลว่าหากต้องการให้เคลียร์ เรื่องนี้พวกเขาต้องเคลียร์ด้วยเอกสาร มิใช่บอกเพียงว่าทำผิด
อย่างไรก็ตามเมื่อเปิดดู รายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่แจ้งวต่อ ป.ป.ช. แล้วถือว่า “ศานิตย์” และ “ฉวีวรรณ มหถาวร” ภรรยา มีทรัพย์สินอยู่ในขั้นเศรษฐีทีเดียว เพราะทั้งคู่มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินถึง 93,231,353.44 บาท
ทั้งนี้ในเอกสารระบุว่าทั้งคู่มีรายได้ต่อปี เป็นเงินเเดือน 921,600 บาท เงินประจำตำแหน่ง 504,000 บาท นอกจากนี้ยังมีรายได้จากทรัพย์สินเป็นค่าเช่าบ้าน 546,000 บาท ดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งสองคนรวม 88,348 .86 บาท เงินปันผลจากสหกรณ์ออทรัพย์ รวม 2,646,540 บาท รายได้อื่นๆจกาอสังหาริมทรัพย์และการเล่นหุ้น 1,500,000 บาท
ทั้งนี้ยังมีรายได้อื่นอาทิ “มีรายได้เป็นค่าที่ปรึกษาจากบริษัทไทยเบฟฯ เดือนละ 50,000 บาท ตั้งแต่ปี 2558” และมี รายได้จากการ “เช่าพระเครื่องแบบซื้อมาขายไปรวมประมาณ 2 ล้านบาท” รวมแล้วตั้งแต่ปี 2524 ถึง ปัจจุบัน เขามีรายได้รวมประมาณ 42 ล้านบาท
ส่วนทรัพย์สิ ทั้งสองคนนั้นมีทั้งเงินสด เงินฝาก เงินลงทุน ฯลฯ รวมแล้ว 93,231,365.15 บาท และมีหนี้สิน ของนางฉวีวรรณ 11.71 บาท
ทั้งคู่มีเงินฝาก 8 บัญชี ร่วม 10 ล้านบาท
มีที่ดิน 12 แปลง โดยแปลงที่มีมูลค่าสูงที่สุดคือ โฉนดที่ จ.เหมืองหม้อ อ.เมืองแพร่ เนื้อที่ 2 ไร 3 งาน 79.1 ตารางวา มีมูลค่า 10,184,400บาท และที่ดินเกือบทั้งหมดของพวกเขาอยู่ที่ อ.เมืองแพร่
ส่วนยานพาหนะมีอยู่ 5 คัน โดยเป็นรถยนต์ 3 คัน จักรยานยนต์ 2 คัน โดยคันที่แพงที่สุดเป็นรถยี่ห้อเล็กซัส R200 มูลค่า 4,100,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินอื่นที่น่าสนใจคือ อาวุธปืนรวมแล้ว 6 กระบอก ซึ่งมีทั้งปืนสั้นแบบ 11 มม. แบบ 9 มม. ลูกโม่ .38 ปืนสั้น .32
เขายังมีนาฬิกาเรือนละ 139,000 บาทอีกด้วย ส่วนภรรยาก็มีนาฬิกาเรือนละ 150,000 บาท
เอาเข้าจริงด้วฐานะของคนทั้งสองนั้นอยู่อย่างไม่ลำบาก เมื่อเทียบกับเงินค่าที่ปรึกษา 50,000 บาทจากบริษัทไทยเบฟฯ นั้นถือว่าน้อยนิด นาทีนี้จึงมีคำถามว่า หากเขารับเป็นที่ปรึกษาจริงจะรับทำไม แต่หากไม่รับ แล้วใส่ไว้ในรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. ทำไม
เพราะ เอกสาร ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. นั้นถือเป็นหลักฐานลำดับที่หนึ่ง
เอาเข้าจริงแล้วเมื่อได้่ยินเช่นนั้นมีผู้ตั้งคำถามว่า การชี้แจงดังกล่าวเป็นเรื่องจริงหรือเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด หรือหากเป็นเรื่องจริงที่ลูกน้องทำผิดพลาด ลูกน้องเอาข้อมูลมาจากไหน
และยิ่งอาจเผชิญปัญหาหนักเข้าไปอีก เพราะการแจ้งสิ่งที่ไม่เป็นจริงก็เท่ากับแจ้งเท็จ งานนี้โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง
----------
อรรถยุทธ บุตรศรีภมูิ