คอลัมนิสต์

เปิดใจ "หมอเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ"  "แค่แสดงความอาลัยอาวรณ์กับผู้บริการเก่าไม่ได้ต้านคนใหม่"

เปิดใจ "หมอเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ"  "แค่แสดงความอาลัยอาวรณ์กับผู้บริการเก่าไม่ได้ต้านคนใหม่"

11 มิ.ย. 2563

"จากปัญหาที่เกิดขึ้นผมไม่ได้หนักใจอะไร เพราะทำตามหน้าที่ของตนเอง ย้ายมาทำงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาแม้จะมีคนบอกว่าเจ้าหน้าที่ที่นี่ไม่ต้อนรับผมก็ตามเพราะนี่เป็นธรรมเนียมที่จะมีการโยกย้ายตามคำสั่ง"นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ รักษาการผอ.รพศ.ขอนแก่น

โดย - สุมาลี สุวรรณกร 


          จากกรณีการลงนามสั่งย้าย นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผอ.รพศ.ขอนแก่น ให้ไปทำงานที่กระทรวงสาธารณสุข โดยนพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และให้นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี มารักษาราชการแทนเมื่อวันที่ 5  มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา โดยระบุสาเหตุที่สั่งย้ายนพ.ชาญชัยว่า “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” จนทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ จ.ขอนแก่นและใกล้เคียงจนมีกระแส #Save หมอชาญชัย และ #คนดีต้องมีที่ยืน รวมถึงการนัดกันรวมตัวแต่งชุดดำหรือใส่เสื้อดำในทุกวันศุกร์เพื่อเรียกร้องให้เกิด “ธรรมาภิบาล” ในวงการสาธารณสุข 

 

อ่านข่าว...   "หมอเกรียงศักดิ์" เปิดใจหลัง หลังรับตำแหน่ง ผอ.รพ.ขอนแก่น 6 วัน ไม่มีอะไรหนักใจ ไม่ห่วงกระแสต้าน
 


          ภายหลังการเกิดแฮชเท๊ก #Save หมอชาญชัย และ #คนดีต้องมีที่ยืน ดูเหมือนคนในพื้นที่จะไม่อยากให้ผอ.คนเก่าจากไป และไม่เอาผอ.คนใหม่ที่จะเข้ามา เป้าเลยพุ่งตรงไปที่ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูล ที่มารักษาการตำแหน่งผอ.รพศ.ขอนแก่น ว่า “ไม่ได้เป็นที่ต้องการของแพทย์พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ของที่นี่”  

 

เปิดใจ \"หมอเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ\"  \"แค่แสดงความอาลัยอาวรณ์กับผู้บริการเก่าไม่ได้ต้านคนใหม่\"

 

 

          วันนี้ ได้มีโอกาสพูดคุยและเปิดใจ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ที่มานั่งเก้าอี้ร้อนเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมการควบคุมการปฏิบัติงานในองค์กรให้ก้าวต่อไปได้ ท่ามกลางภาวะโรคระบาดโควิด 19 ที่แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องทำงานอย่างแข็งขัน เพราะโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นแห่งนี้เป็นโรงพยาบาลที่ต้องสแตนบายรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ของจังหวัดขอนแก่น และมีคนไข้ล้นทะลักไม่ต่ำกว่าวันละ 3 พันคน 


          “ จากปัญหาที่เกิดขึ้นผมไม่ได้หนักใจอะไร เพราะทำตามหน้าที่ของตนเอง ย้ายมาทำงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา แม้จะมีคนบอกว่าเจ้าหน้าที่ที่นี่ไม่ต้อนรับผมก็ตาม เพราะนี่เป็นธรรมเนียมที่จะมีการโยกย้ายตามคำสั่ง และการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นมองว่าเป็นการอาลัยอาวรณ์ของคนร่วมงานที่อาลัยผู้บังคับบัญชาเก่าที่อาลัยอาวรณ์กันอยู่เแต่ความจริงคนอาจจะมองผิดประเด็นเพราะเจ้าหน้าที่เขาอาลัยอาวรณ์ผู้บริหารคนเดิม ไม่ได้มีการต่อต้านผู้บริหารใหม่แต่อย่างใด คราวที่แล้วก็มีกระแสแบบนี้ตอนผมถูกคำสั่งย้ายมาทำงานครั้งแรก  ผมมาทำงานได้ 2 สัปดาห์แล้วก็ย้ายไป การทำงานของหมอ พยาบาลก็ทำงานปกติ เพราะเราทำงานกันแบบแรงเฉื่อยคือเราทำงานตามหน้าที่ที่ปฏิบัติอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพราะมีหน้าที่กันอยู่ ไม่สามารถไปทำอะไรอย่างอื่นได้ ใครจะไป ใครจะมา ก็ทำงานได้หมด กระแสที่เกิดขึ้นเราไม่ได้บั่นทอนจิตใจการทำงาน เพราะไม่ใช่กระแสต่อต้านการทำงานของผอ.คนใหม่แต่เพียงเขามีความอาลัยอาวรณ์ผอ.คนเก่า คนเลยตีความว่าต่อต้านคนใหม่ และผมได้ฟังเจ้าหน้าที่ทุกคนบอกว่าโรงพยาบาลขอนแก่นเป็นแบบนี้คือรักเจ้านายเก่าและพอมาปีนี้ก็ดูโดยปกติไม่ได้มีกระแสอะไร แต่หากไม่อาลัยอาวรณ์สิถือเป็นเรื่องแปลกเพราะท่านอยู่นาน”นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว

 

 

เปิดใจ \"หมอเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ\"  \"แค่แสดงความอาลัยอาวรณ์กับผู้บริการเก่าไม่ได้ต้านคนใหม่\"

 

 

          ส่วนการย้ายทั้งสองรอบ ทำไมต้องเป็น นพ.เกรียงศักดิ์ตลอดนั้น เรื่องนี้ เจ้าตัวบอกว่า เป็นเรื่องธรรมดาเพราะการย้ายย้ายตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ต้องเป็นไปตามบริบทของที่นี่เพราะคราวที่แล้วก็มีคำสั่งย้ายมาแล้วตนก็ปฏิบัติตามคำสั่งตนก็มาตามคำสั่งไม่ได้บิดพลิ้ว ทั้งย้ายไปย้ายมาในเดือนเดียวกันคือตุลาคม 2562 ตนก็ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้มีการต่อต้านนี่คือหน้าที่ราชการ ซึ่งไม่ได้คัดค้าน


          ส่วนการแถลงของปลัดกระทรวงเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 63 เรื่องการย้ายนพ.ชาญชัยนั้น ตนไม่ได้ติดตาม แต่อ่านตามข่าวเท่านั้น แต่เชื่อว่าสำนักงานปลัดกระทรวงได้ดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะหากไม่ทำก็จะต้องเสี่ยงต่อมาตรา 157 เพราะการทำงานปลัดกระทรวงไม่ได้ทำคนเดียวแต่มีหน่วยงานรองรับในการทำงาน ตนเองเมื่อปี 2547 และ 2556 ก็โดนบัตรสนเท่ห์และโดนตั้งกรรมการสอบแบบนี้หลายครั้ง แต่การตรวจสอบแล้วไม่ผิด ซึ่งโดยหลักการผู้บังคับบัญชาทราบดีเพราะเป็นระเบียบวินัยของข้าราชการที่หากมีการร้องเรียนก็ต้องตรวจสอบ


          ส่วนเรื่องเงิน 5 เปอร์เซ็นต์ที่บริษัทยาจ่ายให้โรงพยาบาล เรื่องนี้นพ.เกรียงศักดิ์กล่าวว่า ยอมรับว่ามี เรื่องนี้มีมายาวนานมากลำพังตามเงินเดือนข้าราชการไม่สามารถรองรับขวัญกำลังใจในการดำเนินการอื่นๆ ได้ งานสังคมต่างๆ งานบวช การแต่ง งานศพ ทุกอย่างต้องจ่าย เลยต้องใช้เงินก้อนนี้ มันเป็นมานานแล้ว 30-40 ปีแล้ว จนกระทั่งรัฐบาลเข้าใจ และออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเงินสวัสดิการ เพื่อให้เป็นเงินสวัสดิการสำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อวางบนโต๊ะ เงินก้อนนั้นกี่เปอร์เซ็นต์ก็แล้วแต่


          จากนั้นเวลาล่วงเลยมายาวนานต่อมาวันที่ 12 กันยายน 2560 มาขีดเส้นตรงนี้ ปปช.ได้เสนอว่ามีการตรวจสอบพบมีปัญหาเรื่องของการใช้ยาเกินความจำเป็นหรือทุจริตยา เลยนำเข้าสู่มติครม.   ครม.ให้เจ้าภาพคือกระทรวงสาธารณสุขจำนวนมาก  ร่วมกับ ปปช. ได้ทำความเห็นเพิ่มเติม รายละเอียดประกอบเพิ่มเติม ปปช.ตีความว่าเงินที่ใช้ในการซื้อยาเป็นเงินรัฐบาลเพราะฉะนั้นหากมีส่วนลดส่วนแถมเงินบริจาคควรกลับมาสู่เงินรัฐด้วย เช่นซื้อยา 100 บาท ส่วนลด 5 บาท ราคาจริง 95 บาท เดิมในอดีต 5 บาท กฎหมายเปิดกว้างให้เอาเงินมาใช้สวัสดิการเจ้าหน้าที่ได้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและต้องไม่เป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทน ไม่ว่าจะเลี่ยงแบบไหนก็ตามก็ไม่ได้ เป็นกองทุนก็ไม่ได้


          ทีนี้พอออกมาไม่ให้รับโรงพยาบาลต่าง ๆ ก็กินบุญเก่าอันเก่าอันเดิมที่รับมาพอมีอยู่ไม่ผิดก็เอามาบริหารจัดการได้และอันที่ 2 มีสวัสดิการเจ้าหน้าที่ที่คุยกันเองภายใน โรงพยาบาลเล็กๆ ไม่ได้ใช้อะไรมาก โดยมีหนังสือสั่งการห้ามรับในเดือนมีนาคม 2561 และมีหนังสือเวียนไปทั่ว และมีการส่งสัญญาณให้เตรียมตัวเพื่อปรับระบบเพื่อไม่ให้รับเงิน 5 เปอร์เซ็นต์บริษัทยา กรณีหมอชาญชัยคือเกิดการรับหลังจากมีหนังสือเวียนห้ามรับเงิน 5 เปอร์เซ็นต์เลยเกิดปัญหา


          “เท่าที่ฟังกระทรวงแถลง กระทรวงมีคณะกรรมการหลังมีหนังสือร้องเรียน และไม่ใช่หนังสือร้องเรียนแบบเลื่อนลอยและมีเบาะแส จำเป็นต้องตั้งกรรมการสอบและตั้งกรรมการแล้ว ได้ดำเนินการสอบ 8 เดือน มีการเรียกสอบ 11 ปากและพอสอบแล้วกรรมการก็สรุปพบว่ามีหลักฐานมีมูลและจะนำสู่การชี้มูลความผิดซึ่งผมก็ทราบประมาณนี้ เพราะอ่านตามข่าวและขั้นตอนโดยหลักการยังไม่ถือว่าผิดแต่มีหลักฐานชี้มูล กรรมการที่ดำเนินการทางวินัยก็จะต้องสอบต่อกระบวนการยังไม่สิ้นสุด”นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว