"บิ๊กตู่-ณัฏฐพล"แพะรับบาป เลิกจ้างองค์การค้าฯ
เจาะประเด็นร้อนๆ "บิ๊กตู่-ณัฏฐพล"แพะรับบาป เลิกจ้างองค์การค้าฯ ของ สกสค.
กลายเป็นประเด็นร้อน ว่อนโลกโซเชียลในทันที่ เมื่อองค์การค้าของ สกสค.ออกประกาศเมื่อวันที่ื 29 มิถุนายน 2563 “เลิกจ้าง” พนักงานและเจ้าหน้าที่ด้วยเหตุผลขาดสภาพคล่องและทนแบกภาระมา 15 ปีไม่ไหว ทำให้เกือบพันชีวิต ต้องตกงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
: ทนแบกภาระไม่ไหว...องค์การค้าฯประกาศเลิกจ้างพนักงานเกือบพันชีวิต
: นายกฯ รับปากไม่ทอดทิ้ง"องค์การค้าฯ"
: “หมอธี”ตั้งกรรมการตรวจสอบบัญชีองค์การค้าฯ
สื่อหลายค่ายโหมกระหน่ำ เติมเชื้อไฟความขัดแย้ง โบ๊ยเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่เป็นของผู้นำประเทศ อย่าง “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ “เดอะตั้น” นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะที่เป็นประธานบอร์ดองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (องค์การค้าของ สกสค.) โดยตำแหน่ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทำไม?องค์การค้าฯมีหนี้ท่วม
เดิมบทบาทหน้าที่ขององค์การค้า คุรุสภา เป็นองค์กรจัดหาผลประโยชน์ให้แก่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา มีหน้าที่บริการส่งเสริมอำนวยความสะดวก ในการจัดระบบการศึกษาของชาติในด้านการพิมพ์ หนังสือเรียน เอกสารทางการศึกษา ผลิตอุปกรณ์การศึกษาบริการธุรกิจทางการศึกษา ตามที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภามอบหมาย ฯลฯ
องค์การค้าฯคุรุสภา มีหน้าที่ผลิตตำราแบบเรียนครอบคลุมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกวิชายกเว้นวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เจ้าของลิขสิทธิ์ต้นฉบับ
ครั้นพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้ องค์การค้าฯ ถูกควบรวมไปอยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.)แต่ยังคงบทบาทหน้าที่เดิมเอาไว้
องค์การค้าฯยุคควบรวม เริ่มมีหนี้้สิน จากการบริหารงานผิดพลาด ขณะที่ภารกิจในการจัดพิมพ์ตำราแบบเรียน เพื่อถ่วงดุลย์ราคาหนังสือเรียนในตลาดหนังสือ ยังคงเดินหน้าต่อ ท่ามกลางตำราเถื่อนกระจายทั่วประเทศทุกปี ควบคู่ไปกับการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนผู้บริหารชุดใหม่ จากนักการเมืองและพรรคการเมืองเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ต่อเนื่อง
ปี2549 องค์การค้าฯเริ่มเป็นหนี้แบบบักโบรก จนนำไปสู่การต่อรองขอกู้เงินจากแบงค์ เพื่อเติมลมหายใจให้สามารถขับเคลื่อนองค์กร และจ่ายค่าแรงพนักงานและเจ้าหน้าที่ได้
แต่คนจากนักการเมืองและพรรคการเมือง ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารองค์การค้าฯ รับเงินเดือนมากกว่ารัฐมนตรี แต่ไม่สามารถฟื้นฟูสภาพการเงินขององค์การค้าฯได้
องค์การค้าฯ ตกอยู่ในสภาพหนี้ท่วมหัว ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างพนักงานและเจ้าหน้าที่ กระนั้นผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ยังชงเรื่องงามไส้ให้อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เซ็นรับรองว่าต้องมีการซื้อลิขสิทธิ์ตำราเรียนด้วยราคากว่า 200 ล้านบาท
โชคดีรัฐมนตรีคนนั้น ชื่อ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) ยุครัฐบาลคสช.ของ “บิ๊กตู่” เจ้าของนโยบายปลูกฝังให้เด็ก “เกลียดการโกง” เกิดรู้ทันข้าราชการน้ำเน่า ทำให้รัฐไม่ต้องสูญเงินฟรี หรือเข้ากระเป๋าไอโม้ง
วีรกรรรมของ“หมอธีร์”เป็นที่จดจำของคนรักความโปร่งใส เมื่อรมว.ศธ. มอบมหายให้ พลเอกโกศล ปทุมชาติ ที่ปรึกษารมว.ศธ. ลุยลงพื้นที่หาความจริงถึงต้นตอทำไมองค์การค้าของสกสค. และสกสค.ถึงมีหนี้ท่วม ทั้งค่าพิพม์ ค่ากระดาษ จนนำไปสู่การระงับเงินกู้ 250 ล้านบาทจากแบงค์ออมสิน ที่หวังนำมาเติมสภาพคล่องให้กับองค์การค้าฯ แต่ทำให้องค์การค้าฯมีหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขนิดที่เรียกได้ว่า“ไม่มีปัญญาใช้หนี้”ได้
ขณะเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าที่ดินขององค์การค้าฯ มีเป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศแต่ไม่สามารถขายทรัพย์สินที่มีอยู่ได้ ยกเว้นปล่อยให้เช่าตามที่ปรากฏตามที่ต่างๆ
ว่ากันว่า ก่อนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จะเข้ามาบริหาร สถานะทางการเงินขององค์การค้าฯ มียอดหนี้ประมาณ 7,000 ล้านบาท ปี 2560 เหลือหนี้ประมาณ 3,900 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์ 260ล้านบาท ค่ากระดาษ 514 ล้านบาท ค่าจ้างพิมพ์ 840 ล้านบาท หนี้บริษัทล็อกซ์เล่ย์ จำกัด ซึ่งฟ้องเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายขายหนังสือเรียนกับองค์การค้าฯ จำนวน 1,081 ล้านบาท ถึงปัจจุบันชำระหนี้ไปแล้ว 55ล้านบาท และหนี้ธนาคารต่างๆ อีก 886 ล้านบาท ยังไม่รวมเจ้าหนี้รายย่อยอีกเป็นจำนวนมาก
สภาวะการเงินฝืด องค์การค้าฯทยอยเลิกจ้างพนักงานและเจ้าหน้าที่มาอย่างต่อเนื่อง สลับกับการเรียกร้องขอความเป็นธรรมของลูกจ้าง ผ่านสหภาพแรงงานองค์การค้าฯ แต่จำนวนหนี้สิ้นองค์การค้าฯเพิ่มทวีคูณ และล่าสุดก่อนประกาศเลิกจ้างพนักงานและเจ้าหน้าที่ จำนวน 961คนเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 นั้น ปรากฏว่า องค์การค้าฯ มีหนี้สินจำนวนกว่า 6,700 ล้านบาท หลังขาดทุนต่อเนื่องมา 15 ปี หรือหลังจากเกิดการควบรวมตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
สถานการณ์เลิกจ้างช่วงโควิด-19 ทำให้ “บิ๊กตู่-ณัฏฐพล” จึงตกแพะรับบาปกรณีเลิกจ้างองค์การค้าฯ นั่นเอง