ข่าว

จวกยับ พ่อพาลูก ถ่ายคลิปกลางน้ำเชี่ยว ชาวเน็ตซัด ห่วงคอนเทนต์มากกว่าลูก

กู้ภัยกุมขมับ พ่อพาลูก ถ่ายคลิปกลางน้ำท่วม ไม่สนกระแสน้ำเชี่ยว ชาวเน็ตจวกพ่อ ห่วงคอนเทนต์มากกว่าลูก ลั่น มีพ่อเมื่อพร้อม

9 ก.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บัญชี X หรือ ทวิตเตอร์ @RedSkullxxx โพสต์คลิปของพ่อรายหนึ่ง พาลูกสาวถ่ายคอนเทนต์ที่บันไดริมแม่น้ำ ขณะที่มีระดับน้ำท่วมสูง และเชี่ยวกราก พร้อมระบุข้อความว่า "มีคนเตือนเยอะนะแต่เจ้าของคลิปหาได้นำพาไม่ ปล่อยให้ธรรมชาติคัดสรร อย่าให้เดือดร้อนกู้ภัยแล้วกัน"

นอกจากนี้ ยังได้แชร์ภาพของสองพ่อลูก ซึ่งภาพด้านบนเป็นภาพที่พ่ออุ้มลูกชมวิวริมแม่น้ำ ส่วนอีกรูป เป็นภาพในวันที่น้ำท่วมสูง และมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ซึ่งเมื่อชาวเน็ตได้เห็นภาพดังกล่าวต่างเป็นห่วงหนูน้อย ที่อาจได้รับอันตรายจากการทำคอนเทนต์โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของลูกสาว 

 

หลังจากที่ภาพดังกล่าวถูกแชร์บนโลกออนไลน์ต่างมีชาวเน็ตจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยบางรายระบุข้อความว่า มีพ่อเมื่อพร้อมนะลูก คอนเทนต์สำคัญกว่าชีวิตลูกมึงหรอ, ถามจริงด้วยสีน้ำเอยกระแสน้ำเอยกล้าให้เด็กลงเล่นได้ยังไง แล้วยังจะพาเด็กน้อยไปตรงนั้นอีก คิดแล้วใช่ไหม, กระแสน้ำค่อนข้างเชี่ยว เกิดพลาดพลั้งขึ้นมาอาจเสียใจไปตลอดชีวิตนะครับ

 

จวกยับ พ่อพาลูก ถ่ายคลิปกลางน้ำเชี่ยว ชาวเน็ตซัด ห่วงคอนเทนต์มากกว่าลูก

จวกยับ พ่อพาลูก ถ่ายคลิปกลางน้ำเชี่ยว ชาวเน็ตซัด ห่วงคอนเทนต์มากกว่าลูก

 

ทั้งนี้ อ้างอิงข้อมูลจาก Save the Children Thailand ระบุถึง สิ่งหลักที่ต้องคิดเมื่อจะโพสต์หรือแชร์ภาพ-วิดีโอหรือข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก ไว้ 4 ข้อด้วยกัน ดังนี้

 

1. คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ คอนเทนต์ของเราต้องไม่ทำอันตรายต่อทั้งตัวเด็กและสังคม ทั้งในตอนถ่ายและหลังจากที่โพสต์ไปแล้ว พยายามประเมินความเสี่ยงว่าสิ่งที่เรากำลังจะถ่ายหรือแชร์นั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนหรืออาจนำอันตรายมาสู่ตัวเด็กได้หรือไม่

 

2. หลีกเลี่ยงการแชร์ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนและที่อยู่ของเด็ก โดยเฉพาะการการแชร์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เนื่องจากอาจเป็นการเปิดช่องให้ผู้ไม่หวังดีรู้ถึงกิจวัตรประจำวันและสถานที่ที่เด็กมักไปได้

 

3. มีการพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงบนโลกออนไลน์กับเด็ก และขอความยินยอมจากผู้ปกครองและตัวเด็กก่อนทุกครั้ง

 

4. เด็กสามารถปฏิเสธหรือบอกให้เราหยุดถ่ายได้ บางครั้งเด็กอาจไม่กล้าปฏิเสธด้วยตนเองด้วยเหตุผลหลายอย่าง เราต้องสังเกตท่าทีของเด็ก ๆ รวมถึงถามความเห็นของเด็กเสมอ.