ข่าว

“บก.ลายจุด” โต้ปมดราม่าเลี้ยงช้างสุดโต่ง ลั่นย้ายไม่ทันเพราะช้างพิการ

06 ต.ค. 2567

“บก.ลายจุด” โต้ปมดราม่าเลี้ยงช้างสุดโต่ง ลั่นย้ายไม่ทันเพราะช้างพิการ ตาบอด ช้างแก่ เป็นข้อจำกัดสำคัญ ควรให้กำลังใจไม่ใช่มาตำหนิกัน

จากกรณีน้ำท่วมเชียงใหม่ มวลน้ำไหลทะลักเข้าท่วมปางช้างหลายแห่ง รวมถึงบริเวณศูนย์บริบาลช้าง Elephant Nature Park และมูลนิธิอนุรักษ์รักช้างและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ ต.กี๊ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ จนทำให้ย้ายช้างบางส่วนไม่ทัน เพราะมีทั้งช้างพิการ ตาบอด รวมถึงช้างดุ ทำให้ช้างหลายเชือกถูกกระแสน้ำพัดไป จนท.เร่งช่วยอย่างเร่งด้วย

“บก.ลายจุด” โต้ปมดราม่าเลี้ยงช้างสุดโต่ง ลั่นย้ายไม่ทันเพราะช้างพิการ

ขณะช้าง 2 เชือก คือ พังฟ้าใส-พังพลอยทอง" ถูกนำซัดหายไป และพบว่าทั้ง 2 พังได้ตายไปแล้ว จนกลายเป็นที่พูดถึงและพิพากษ์วิจารณ์สนั่นโลกออนไลน์

ล่าสุด 6 ต.ค. 2567 นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ “บก.ลายจุด” จากมูลนิธิกระจกเงา ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงกระแสดราม่าเรื่องการเลี้ยงช้าง รายละเอียดระบุว่า ผมไม่เคยคิดว่าสิ่งที่พี่เล็ก แสงเดือน ชัยเลิศ - Saengduean Chailert เป็นวิธีการดูแลสัตว์ที่สุดโต่งอย่างที่บางคนพูดถึง  ในทางกลับกันผมมองว่าหากจะมีใครสักคนที่แปลงความเชื่อเรื่องความเข้าใจชีวิตของสัตว์ป่า หรือสัตว์เลี้ยงไปสู่การปฏิบัติได้ดีที่สุดคนหนึ่ง เธอคือคนๆ นั้น

“บก.ลายจุด” โต้ปมดราม่าเลี้ยงช้างสุดโต่ง ลั่นย้ายไม่ทันเพราะช้างพิการ

หลาย 10 ปีมาแล้ว ที่บทสนทนาตอบโต้กันระหว่างแนวทางคนเลี้ยงช้างแบบบังคับ ควบคุมกันด้วยตอขอเหล็กเกี่ยวหู และโซ่ที่ล่ามช้าง กับการสื่อสารกันระหว่างมนุษย์กับช้างในแบบที่เคารพกันและกันเป็นเพื่อนร่วมโลก ไม่ใช่แบบเจ้าชีวิตและอีกฝ่ายเป็นทาสแรงงานไปจนตาย

 

พี่เล็กแสงเดือนเป็นคนไทย ที่คนไทยจำนวนมากไม่รู้จัก แต่เธอเป็นบุคคลระดับโลกในเรื่องการคุ้มครองสิทธิของสัตว์ ถ้าคนไทยรู้จัก สตีฟ เออร์วิน เล็ก แสงเดือน ก็คือคนๆ นั้นที่เป็นคนไทย ความพยายามที่จะปกป้องชีวิตของสัตว์ป่า หรือสัตว์ต่างๆ ของเธอ ไปไกลเกินกว่าการเลี้ยงสัตว์ในกระแสหลักไปหลายปีแสง และนี่ไม่ใช่ความเพ้อเจ้อหรือ Woke เพราะความคิดของเธอทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องการจัดการช้างป่าในศรีลังกา และอีกหลายประเทศประสบความสำเร็จ จากการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างช้างป่ากับมนุษย์

 

ถ้านึกไม่ออก ก็ให้นึกถึงปัญหาช้างป่าในไทย แต่สิ่งนี้ประสบความสำเร็จในต่างประเทศแล้วอย่างน่าอัศจรรย์ จนทำให้การท่องเที่ยงซึ่งเป็น GDP หลักของศรีลังกา ผูกกับการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับช้างป่า  แต่สำหรับแนวคิดการจัดการช้างในไทยนั้น เป็นวิธีการแบบโบราณที่ใช้อำนาจควบคุมช้าง ใช้งานช้างจนตายคางานมานักต่อนัก

 

ต่อกรณีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่แม่แตง และมีเสียงตำหนิวิธีการจัดการของปางช้างของพี่เล็ก แสงเดือน พวกคุณเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า? เธอดูแลช้างนับร้อยตัว เป็นช้างแก่ บาดเจ็บ และพิการ มีหมู ควาย หมา แมว อีกเกือบหมื่นชีวิต เขาอพยบกันมาก่อนหน้านี้เมื่อมีสัญญาณ แต่ด้วยจำนวนที่มากมายมหาศาลของจำนวนสัตว์ ทำให้จัดการได้ไม่หมดและเกิดการสูญเสีย นี่ไม่ใช่เรื่องที่จะมาตำหนิกัน แต่เป็นเรื่องของการให้กำลังใจซึ่งกันและกันในยามนี้ #ทีมพี่เล็กแสงเดือน