ข่าว

ชาวเน็ต จี้ถามหา หนังสือร้องเรียน "พลายสุ" มีจริงไหม? ใช้หลักเกณฑ์อะไรพิจารณา

ชาวเน็ต จี้ถามหา หนังสือร้องเรียน "พลายสุ" มีจริงไหม? ใช้หลักเกณฑ์อะไรพิจารณา

28 ต.ค. 2567

ชาวเน็ต จี้ถามหา หนังสือร้องเรียน "พลายสุ" มีจริงไหม? ใช้หลักเกณฑ์อะไรพิจารณา มองคำชี้แจง "อช.เขาใหญ่" เหมือนยกเมฆมาอ้าง

จากกรณี นายชัยยา ห้วยหงษ์ทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ชี้แจงดราม่า นายสุทธิพร สินค้า หรือ "พลายสุ" ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากการปฏิบัติงาน เป็นพนักงานจ้างเหมา (TOR) ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อไปประกอบอาชีพส่วนตัว ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ยังระบุว่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ยังได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเห็นว่าวิธีการผลักดันช้างป่าของนายสุทธิพร เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากวิธีการที่นายสุทธิพร ใช้ในการเฝ้าระวังผลักดันช้างป่า เป็นวิธีการที่เข้าไปผลักดันช้างป่าในระยะกระชั้นชิด บางครั้งก็มีการใช้รถมอเตอร์ไซค์ หรือเดินเข้าไปใกล้ตัวช้างป่า ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อนายสุทธิพร รวมไปถึงกลุ่มช่างภาพ และนักท่องเที่ยวได้
 

ชาวเน็ต จี้ถามหา หนังสือร้องเรียน \"พลายสุ\" มีจริงไหม? ใช้หลักเกณฑ์อะไรพิจารณา

เรื่องนี้ยังคงเป็นดราม่าต่อเนื่อง บรรดาแฟนคลับ และคนรักช้าง ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็น ถามหาหลักฐานจดหมายร้องเรียน และจำนวนของผู้ร้องเรียนว่าการปฏิบัติหน้าที่ของพลายสุ ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของทั้งช้างป่าและนักท่องเที่ยวแค่ไหน รวมไปถึงหลักเกณฑ์ และรายชื่อผู้พิจารณาเรื่องร้องเรียนนี้มีใครบ้าง

พร้อมตั้งคำถามว่า ทำไมอุทยานฯ ถึงเชื่อกลุ่มคนที่เข้าร้องเรียน แต่กลับไม่เชื่อศักยภาพการทำงานของพลายสุ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่มายาวนานจนเกษียณ และการทำงานที่ผ่านมาของพลายสุ ถือว่าเป็นหน้าตาของ อช.เขาใหญ่ เลยก็ว่าได้ แต่ความทุ่มเททั้งหมดที่ทำมา กลับจบลงด้วยสาเหตุมีคนร้องเรียน ซึ่งชาวเน็ตส่วนใหญ่มองว่าไม่เป็นธรรม และไม่ให้เกียรติ

อย่างไรก็ตามข้อกังขาที่เกิดขึ้น ชาวเน็ตต่างหวังว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เพิ่งมารับตำแหน่งใหม่ รวมไปถึงผู้บริหารอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จะออกมาตอบคำถามสังคมอย่างตรงไปตรงมา
 

นายสุทธิพร สินค้า หรือ พลายสุ